Developer Center / เริ่มต้นใช้งาน / การฝึกปฏิบัติจริง / ...
การโคลนและการย้อนรอยฐานข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อเร่งการพัฒนาแอปพลิเคชัน
ด้วย Amazon Aurora
Amazon Aurora เป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่สามารถใช้งานร่วมกับ MySQL และ PostgreSQL โดยได้รวมประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานของฐานข้อมูลองค์กรแบบดั้งเดิมเข้ากับความเรียบง่ายและความคุ้มค่าใช้จ่ายของฐานข้อมูลแบบโอเพนซอร์ส ในบทแนะนำสอนการใช้งานนี้ คุณจะได้เรียนรู้วิธีโคลนคลัสเตอร์ Aurora DB สำหรับการพัฒนาและทดสอบ และวิธีเปิดใช้งานและใช้การย้อนรอยเพื่อ “ย้อน” คลัสเตอร์ DB ไปยังเวลาที่คุณกำหนด
การโคลนคลัสเตอร์ Aurora มีประโยชน์เป็นอย่างมากหากต้องการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงฐานข้อมูลของคุณ หรือหากต้องการการปฏิบัติงานแบบเน้นปริมาณ เช่น การส่งออกข้อมูล หรือการประมวลผลการสืบค้นแบบวินิจฉัย หรือในกรณีที่ต้องการใช้สำเนาฐานข้อมูลการผลิตในสภาพแวดล้อมสำหรับการพัฒนาหรือทดสอบ คุณสามารถทำการโคลนคลัสเตอร์ Aurora DB ได้หลายชุด คุณยังสามารถสร้างโคลนเพิ่มเติมจากโคลนอื่นๆ อีกทอดหนึ่งได้ โดยที่ฐานข้อมูลของโคลนนั้นๆ จะต้องถูกสร้างขึ้นในรีเจี้ยนเดียวกันกับฐานข้อมูลของโคลนต้นฉบับ
การย้อนรอยช่วยให้ย้อนคลัสเตอร์ Aurora DB กลับไปยังเวลาที่คุณระบุไว้ได้ เมื่อเปิดใช้งานการย้อนรอย Aurora จะเก็บประวัติการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฐานข้อมูลและเอื้อให้ย้อนกลับไปใช้งานในช่วงเวลาที่ผ่านมาดังกล่าวได้ ด้วยคุณสมบัตินี้ คุณจะสามารถยกเลิกการดำเนินการที่ผิดพลาดได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างเช่น หากบังเอิญดำเนินการที่สร้างความเสียหาย เช่น ใช้เงื่อนไข DELETE (ลบ) โดยไม่มีเงื่อนไข WHERE คุณก็สามารถย้อนรอยกลับไปยังสภาพก่อนที่จะเกิดการดำเนินการนั้นได้อย่างรวดเร็ว แต่การย้อนรอยนั้นไม่เหมือนกับการกู้คืนข้อมูลจากสแนปช็อตหรือแหล่งข้อมูลสำรองซึ่งเป็นการดำเนินการที่ช้ากว่า การย้อนรอยจึงช่วยให้คุณเปลี่ยนสภาพกลับไปกลับมาได้ในเวลาไม่กี่นาที
ในบทแนะนำสอนการใช้งานนี้ คุณจะได้สร้างคลัสเตอร์ Aurora DB โดยเปิดใช้งานการย้อนรอยเอาไว้ คุณจะได้ลองเพิ่มข้อมูลเข้าไปและคืนสภาพกลับไปกลับมาโดยใช้คุณสมบัติการย้อนรอย คุณจะได้โคลนฐานข้อมูลและดำเนินการสืบค้นบนสำเนาที่โคลนออกมานั้น
บทแนะนำสอนการใช้งานนี้ไม่ได้รวมอยู่ใน Free Tier และมีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1 USD โดยให้คุณทำตามขั้นตอนในบทแนะนำสอนการใช้งานและลบทรัพยากรที่มีเมื่อสิ้นสุดบทแนะนำสอนการใช้งาน
ข้อกำหนดเบื้องต้น
คุณต้องสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลและออกคำสั่งได้ และเนื่องจากเราแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงการมอบหมายที่อยู่ IP สาธารณะไปยังคลัสเตอร์ DB คุณจึงต้องมี EC2 instance ที่มี VPC เดียวกันกับคลัสเตอร์ DB ด้วย หากยังไม่มีรายการใดที่ทำงานอยู่ โปรดทำตาม คำแนะนำ เพื่อจัดเตรียมหนึ่งรายการ
จากนั้นคุณจะสามารถติดตั้งไคลเอ็นต์ MySQL ได้โดยการเริ่มทำงานคำสั่ง sudo yum install mysql
เกี่ยวกับบทแนะนำสอนการใช้งานนี้ | |
---|---|
เวลา | 10-20 นาที |
ค่าใช้จ่าย | น้อยกว่า 1 USD |
กรณีใช้งาน | ฐานข้อมูล |
ผลิตภัณฑ์ | Amazon Aurora Amazon RDS |
ผู้เข้าร่วม | ผู้ดูแลฐานข้อมูล นักพัฒนา |
ระดับ | ปานกลาง |
อัปเดตล่าสุด | 17 กรกฎาคม 2019 |
ขั้นตอนที่ 1: สร้างคลัสเตอร์ Aurora DB
1.1 - เปิดเบราว์เซอร์และไปยัง Amazon RDS Console หากคุณมีบัญชี AWS แล้ว ให้เข้าสู่ระบบไปยัง Console นั้น หรือสร้างบัญชี AWS ใหม่และเริ่มต้นใช้งาน
มีบัญชีอยู่แล้วใช่ไหม ลงชื่อเข้าใช้บัญชีของคุณ
1.5 – ในส่วน Edition ให้เลือก “Amazon Aurora with MySQL compatibility” (Amazon Aurora ที่เข้ากันได้กับ MySQL)
1.6 - ในส่วนเวอร์ชัน ให้เลือกเวอร์ชัน Aurora ล่าสุดที่เข้ากันได้กับ MySQL 5.6 เพราะการย้อนรอยจะใช้งานได้กับเวอร์ชันดังกล่าวเท่านั้น
การเชื่อมต่อ
1.13 – เลือก VPC ที่คุณต้องการสร้างฐานข้อมูล
โปรดทราบว่าเมื่อสร้างแล้ว จะไม่สามารถย้ายฐานข้อมูลไปยัง VPC อื่นได้
1.16 - ในส่วน “Publicly accessible” (เข้าถึงได้ทุกคน) ให้เลือก “No” (ไม่)
หมายความว่าคุณจะต้องเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลจาก EC2 instance ภายใน VPC เดียวกัน
1.17 - บนกลุ่มความปลอดภัย VPC ให้เลือก “Create new” (สร้างใหม่) หากคุณมีกลุ่มความปลอดภัยที่อนุญาตให้มีการเชื่อมต่อ TCP ขาเข้าบนพอร์ต 3306 ก็สามารถเลือกแทนได้
1.20 - บนส่วน “หน้าต่าง Target Backtrack” ให้ป้อน 24 หน้าต่างการย้อนรอยจะระบุกรอบเวลาที่คุณจะสามารถย้อนไปได้ และ Aurora จะพยายามรักษาข้อมูลบันทึกเอาไว้ให้เพียงพอสำหรับกรอบเวลาดังกล่าว
1.21 - ในส่วน “การป้องกันการลบ” ให้ยกเลิกการทำเครื่องหมายในส่วน “เปิดใช้งานการป้องกันการลบ”
หลักปฏิบัติที่ดีที่สุดคือการเปิดใช้งานการป้องกันการลบ แต่หากคุณต้องการลบฐานข้อมูลเมื่อสิ้นสุดบทแนะนำสอนการใช้งานแล้ว ก็ไม่ต้องทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกดังกล่าว
ตรวจสอบและสร้าง
หลังจากที่ตรวจสอบช่องทั้งหมดในแบบฟอร์มแล้วอย่างรวดเร็ว คุณสามารถดำเนินการต่อได้
1.22 —คลิก “Create database” (สร้างฐานข้อมูล)
ในขณะที่กำลังสร้างอินสแตนซ์ คุณจะเห็นแบนเนอร์อธิบายวิธีการรับข้อมูลประจำตัวของคุณ นี่เป็นโอกาสดีในการบันทึกข้อมูลประจำตัวไว้ที่ใดที่หนึ่ง เนื่องจากนี่เป็นครั้งเดียวที่จะสามารถดูรหัสผ่านนี้ได้
1.23 — คลิกที่ “View credential details” (ดูรายละเอียดข้อมูลประจำตัว)
ขั้นตอนที่ 2: นำเข้าฐานข้อมูลของคุณ
เปิดหน้าต่างเทอร์มินัล เข้าสู่ระบบอินสแตนซ์แอปพลิเคชัน และใช้ไคลเอ็นต์บรรทัดคำสั่ง mysql เพื่อเชื่อมต่อไปยังคลัสเตอร์ Aurora DB จากนั้นคุณจะสามารถสร้างฐานข้อมูล สร้างตาราง และเขียนบันทึกได้
2.1 - เชื่อมต่อฐานข้อมูลหลักของคุณ:
$ mysql -h endpoint -P 3306 -u admin -p
ในแต่ครั้งที่อ่านตำแหน่งข้อมูลในคำสั่ง คุณต้องป้อนชื่อโฮสต์ตำแหน่งข้อมูลที่บันทึกไว้ในขั้นตอน 1.24 ด้วย
และเช่นเดียวกัน เมื่อมีหน้าต่างแจ้งให้ใส่รหัสผ่าน ให้ป้อนรหัสผ่านที่คุณบันทึกไว้ในขั้นตอนที่ 1.24
2.2 - สร้างฐานข้อมูลแล้วเขียนข้อมูล
mysql> CREATE database tutorial;
Query OK, 1 row affected (0.01 sec)
ในขั้นนี้คุณสามารถใช้ฐานข้อมูลบทแนะนำสอนการใช้งาน สร้างตาราง และเพิ่มบันทึกลงไปได้
ขั้นตอนที่ 3: ย้อนรอยฐานของมูลของคุณ
ย้อนรอยคลัสเตอร์ DB
3.3 - เลือกวันที่และเวลา Aurora จะย้อนคลัสเตอร์ DB กลับไปยังจุดเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องสร้างคลัสเตอร์ DB คุณสามารถเลือกเวลาก่อนขั้นตอนที่จะสร้างฐานข้อมูลหรือตารางได้
3.4 - คลิกที่ “Backtrack DB cluster” (ย้อนรอยคลัสเตอร์ DB)
คุณจะเห็นหน้าจอที่มีแบนเนอร์สีฟ้าซึ่งแจ้งว่าการย้อนรอยกำลังดำเนินการอยู่
ขั้นตอนที่ 4: โคลนฐานข้อมูล
การดำเนินการใดๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวโคลนนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อคลัสเตอร์ DB ต้นฉบับ คุณสามารถค้นหาตำแหน่งข้อมูลของ DB ที่โคลนและแบบจำลองได้โดยคลิกที่ชื่อของคลัสเตอร์ตัวโคลน
จากนั้นคุณจะเห็นตำแหน่งข้อมูลใต้ส่วน “ตำแหน่งข้อมูล”
ตอนนี้คุณสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่โคลนมาเหมือนในขั้นตอนที่ 2 ได้แล้ว และสามารถตรวจสอบได้ว่าฐานข้อมูลของคุณเหมือนกับฐานข้อมูลที่โคลนมาหรือไม่ โดยการตรวจสอบฐานข้อมูล ตาราง ผู้ใช้ และบันทึกที่คุณสร้าง เพื่อดูว่ารายการเหล่านี้ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลที่โคลนมาแล้วหรือไม่ คุณสามารถปรับแต่งและทดสอบได้ตามต้องการ และตรวจสอบให้แน่ใจได้ว่าฐานข้อมูลต้นฉบับจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
ขั้นตอนที่ 5: ลบคลัสเตอร์ของคุณ
เพื่อให้บทแนะนำสอนการใช้งานนี้เสร็จสิ้น และไม่ให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม คุณจะได้เรียนรู้วิธีการลบคลัสเตอร์ Aurora DB เมื่อไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว หากต้องการลบคลัสเตอร์ Aurora DB ของคุณ ให้ไปที่แดชบอร์ด RDS แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
5.1 – เลือก "Database" (ฐานข้อมูล) ในบานหน้าต่างด้านซ้าย
แล้วรายการคลัสเตอร์ Aurora DB ของคุณทั้งหมดจะปรากฏ คุณต้องเริ่มด้วยการลบฐานข้อมูลที่โคลนออกมา
5.3 - คลิก “Actions” (การดำเนินการ) แล้วเลือก “Delete” (ลบ)
ระบบจะถามว่าคุณต้องการสร้างการสำรองข้อมูลขั้นสุดท้ายหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วนับว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่จำเป็นสำหรับบทแนะนำสอนการใช้งานนี้
5.4 - เลิกทำเครื่องหมายที่กล่อง “Create final snapshot” (สร้างสแนปช็อตขั้นสุดท้าย) และทำเครื่องหมายที่กล่อง “I acknowledge...” (ข้าพเจ้ารับทราบ...)
5.10 - คลิก “Actions” (การดำเนินการ) แล้วเลือก “Delete” (ลบ)
ระบบจะถามว่าคุณต้องการสร้างการสำรองข้อมูลขั้นสุดท้ายหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วนับว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่จำเป็นสำหรับบทแนะนำสอนการใช้งานนี้
5.11 - เลิกทำเครื่องหมายที่กล่อง “Create final snapshot” (สร้างสแนปช็อตขั้นสุดท้าย) และทำเครื่องหมายที่กล่อง “I acknowledge...” (ข้าพเจ้ารับทราบ...)
ขอแสดงความยินดี
คุณได้สร้างคลัสเตอร์ Aurora DB ที่เปิดใช้งานการย้อนรอยสำเร็จแล้ว คุณได้เรียนรู้วิธีการกำหนดค่าช่วงเวลาที่จะย้อนรอยกลับไปกลับมาบนฐานข้อมูลได้แล้ว สุดท้ายนี้ คุณได้เรียนรู้วิธีการโคลนคลัสเตอร์ Aurora DB
ขั้นตอนถัดไปที่แนะนำ
อ่านเอกสารประกอบ
คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการย้อนรอยและการโคลนคลัสเตอร์ Aurora DB ได้โดยการอ่านเอกสารประกอบนี้