- ผลิตภัณฑ์›
- AWS Premium Support›
- คำถามที่พบบ่อย
คำถามที่พบบ่อยใน AWS Support
หัวข้อของหน้า
ข้อมูลทั่วไปข้อมูลทั่วไป
Amazon Web Services Support (AWS Support) คืออะไร
AWS Support ให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเกี่ยวกับปัญหาด้านเทคนิค รวมถึงคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อใช้งานโครงสร้างพื้นฐานในระบบคลาวด์ของ AWS ลูกค้าสามารถเลือกระดับที่ตรงกับข้อกำหนดเฉพาะของตน ดำเนินตามแบบแผนของ AWS ที่มอบบล็อกการสร้างที่ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องรวมหรือมีภาระผูกพันในระยะยาว
AWS Support เป็นการสนับสนุนแบบหนึ่งต่อหนึ่งและตอบกลับอย่างรวดเร็ว โดยมาจากวิศวกรด้านการสนับสนุนทางเทคนิคที่มากประสบการณ์ บริการที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าด้านการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของ AWS ด้วยราคาแบบชำระต่อเดือนและกรณีสนับสนุนที่ไม่จำกัด ลูกค้าจึงไม่ต้องรับภาระผูกพันระยะยาว ลูกค้าที่มีปัญหาด้านการดำเนินการหรือคำถามทางด้านเทคนิคสามารถติดต่อทีมวิศวกรสนับสนุนและรับเวลาการตอบกลับที่คาดเดาได้ รวมถึงการสนับสนุนที่ปรับให้เหมาะกับคุณ
ระดับชั้นของ AWS Support ที่ได้รับการปรับปรุงแตกต่างจากการสนับสนุนขั้นพื้นฐานอย่างไร
การสนับสนุนขั้นพื้นฐานของ AWS จะมอบการเข้าถึงศูนย์ทรัพยากร, Service Health Dashboard, คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผลิตภันฑ์ และฟอรั่มสนทนาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ลูกค้าที่ต้องการการสนับสนุนในเชิงลึกมากขึ้นสามารถลงทะเบียน AWS Support ได้ในระดับนักพัฒนา, ระดับธุรกิจ, ระดับองค์กร On-Ramp และระดับองค์กร
ลูกค้าที่เลือก AWS Support จะได้รับกรสนับสนุนแบบหนึ่งต่อหนึ่งที่ตอบกลับอย่างรวดเร็วจากวิศวกร AWS บริการที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าด้านการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของ AWS ด้วยราคาแบบชำระต่อเดือนและกรณีสนับสนุนที่ไม่จำกัด ลูกค้าจึงไม่ต้องรับภาระผูกพันระยะยาว ลูกค้าที่มีปัญหาด้านการดำเนินการหรือคำถามทางด้านเทคนิคสามารถติดต่อทีมวิศวกรสนับสนุนและรับเวลาการตอบกลับที่คาดเดาได้ รวมถึงการสนับสนุนที่ปรับให้เหมาะกับคุณ
ปัญหาประเภทใดที่จะได้รับการสนับสนุน
AWS Support ของคุณจะครอบคลุมปัญหาการพัฒนาและการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการของ AWS (รวมถึงโซลูชัน AWS) พร้อมด้วยส่วนประกอบสแต็กคีย์อื่น ๆ
- คำถามเกี่ยวกับ "วิธีการ" ด้านบริการและคุณสมบัติของ AWS
- แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการผสานรวม ปรับใช้ และจัดการแอปพลิเคชันต่างๆ ในระบบคลาวด์
- การแก้ไขปัญหา API และ AWS SDK
- การแก้ไขปัญหาด้านการดำเนินงานหรือระบบด้วยทรัพยากร AWS
- ปัญหาเกี่ยวกับ Management Console หรือเครื่องมืออื่น ๆ ของ AWS
- แอปพลิเคชันของบริษัทอื่นหลายแอป เช่น OS, เว็บเซิร์ฟเวอร์ อีเมล ฐานข้อมูล และการกำหนดค่าพื้นที่จัดเก็บ
AWS Support ไม่รวมถึง:
- การพัฒนาโค้ด
- การแก้จุดบกพร่องของซอฟต์แวร์แบบกำหนดเอง
- การดำเนินงานดูแลระบบ
- การเข้าถึงการควบคุมบัญชีหรือระบบที่ลูกค้าเป็นผู้จัดการ
การสนับสนุนด้านสถาปัตยกรรมระดับใดที่การสนับสนุนจะมอบให้
ระดับการสนับสนุนด้านสถาปัตยกรรมที่มอบให้จะแตกต่างไปตามแต่ละระดับการสนับสนุน ระดับบริการที่สูงขึ้นจะให้การสนับสนุนที่ล้ำหน้ากว่าแก่กรณีใช้งานของลูกค้าและรายละเอียดเฉพาะของแอปพลิเคชัน
นักพัฒนา: การสร้างบล็อก
คำแนะนำวิธีใช้ผลิตภัณฑ์ คุณสมบัติ และบริการทั้งหมดของ AWS รวมทั้งคำแนะนำวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและคำแนะด้านสถาปัตยกรรมทั่วไป
ธุรกิจ: คำแนะนำกรณีใช้งาน
คำแนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์ คุณสมบัติ และบริการของ AWS เพื่อใช้บริการสนับสนุนที่ตรงกับกรณีใช้งานเฉพาะของคุณที่สุด ประกอบด้วยคำแนะนำการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ของ AWS และการกำหนดค่าเพื่อให้ตรงกับความต้องการของคุณ
องค์กร On-Ramp: สถาปัตยกรรมของแอปพลิเคชัน
พันธมิตรด้านการให้คำปรึกษาซึ่งคอยให้ความช่วยเหลือสำหรับกรณีใช้งานและแอปพลิเคชันเฉพาะ ประกอบด้วยการตรวจสอบการออกแบบและคำแนะนำด้านสถาปัตยกรรม ทีมสนับสนุนลูกค้าองค์กร On-Ramp ประกอบด้วยกลุ่มผู้จัดการบัญชีด้านเทคนิค
องค์กร: สถาปัตยกรรมของแอปพลิเคชัน
พันธมิตรด้านการให้คำปรึกษาซึ่งคอยให้ความช่วยเหลือสำหรับกรณีใช้งานและแอปพลิเคชันเฉพาะ ประกอบด้วยการตรวจสอบการออกแบบและคำแนะนำด้านสถาปัตยกรรม ทีมสนับสนุนลูกค้าระดับองค์กรประกอบด้วย Technical Account Manager ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะและการเข้าถึง AWS Solutions Architect
ฉันใช้เพียงหนึ่งหรือสองบริการเท่านั้น ฉันสามารถซื้อการสนับสนุนเฉพาะสำหรับบริการที่ฉันกำลังใช้เท่านั้นได้หรือไม่
ไม่ได้ ขอเสนอการสนับสนุนของเราจะครอบคลุมพอร์ตโฟลิโอบริการของ AWS ทั้งหมด เนื่องจากลูกค้าของเราจำนวนมากกำลังใช้บริการเว็บโครงสร้างพื้นฐานหลายรายการรวมกันภายในแอปพลิเคชันเดียวกัน เราจึงได้ออกแบบ AWS Support ขึ้นมาโดยคำนึงถึงประเด็นดังกล่าวด้วย เราพบว่าปัญหาการสนับสนุนส่วนใหญ่จากผู้ใช้ที่ใช้บริการจำนวนมากมักจะเกี่ยวข้องกับการใช้งานบริการหลายรายการด้วยกัน เป้าหมายของเราคือการสนับสนุนแอปพลิเคชันของคุณให้ทำงานได้อย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
มีกรณีการสนับสนุนกี่รายการที่ฉันสามารถเริ่มใช้กับ AWS Support ได้
มากตามที่คุณต้องการ ลูกค้าของแผนการสนับสนุนพื้นฐานจะถูกจำกัดเฉพาะการสนับสนุนลูกค้าและกรณีการเพิ่มขีดจำกัดบริการ
ผู้ใช้กี่รายที่สามารถใช้กรณีการสนับสนุนทางเทคนิคได้
แผนการสนับสนุนสำหรับนักพัฒนา, ธุรกิจ, องค์กร On-Ramp และองค์กรไม่มีการจำกัดจำนวนผู้ใช้ที่สามารถเปิดกรณีการสนับสนุนทางด้านเทคนิค (สนันสนุนโดย AWS Identity and Access Management (IAM)) ลูกค้าที่มีการสนับสนุนพื้นฐานจะไม่สามารถเปิดกรณีการสนับสนุนทางด้านเทคนิคได้
ฉันจะได้รับความช่วยเหลือได้รวดเร็วเพียงใด
เวลาตอบกลับในการติดต่อครั้งแรกจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงที่คุณเลือกสำหรับแต่ละกรณี เราจะใช้ความพยายามตามสมควรทุกวิถีทางเพื่อตอบกลับภายในกรอบเวลาเหล่านี้
แนวปฏิบัติทั่วไป:
- แผนระดับนักพัฒนา (ชั่วโมงทำการ*): ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- แผนระดับธุรกิจ (24x7): ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- แผนระดับองค์กร On-Ramp (24x7): ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- แผนระดับองค์กร (24x7): ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ระบบบกพร่อง:
- แผนระดับนักพัฒนา (ชั่วโมงทำการ*): ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
- แผนระดับธุรกิจ (24x7): ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
- แผนระดับองค์กร On-Ramp (24x7): ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
- แผนระดับองค์กร (24x7): ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
ระบบการผลิตบกพร่อง:
- แผนระดับธุรกิจ (24x7): ไม่เกิน 4 ชั่วโมง
- แผนระดับองค์กร On-Ramp (24x7): ไม่เกิน 4 ชั่วโมง
- แผนระดับองค์กร (24x7): ไม่เกิน 4 ชั่วโมง
ระบบการผลิตเสีย:
- แผนระดับธุรกิจ (24x7): ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
- แผนระดับองค์กร On-Ramp (24x7): ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
- แผนระดับองค์กร (24x7): ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
ระบบวิกฤติที่มีความสำคัญต่อธุรกิจเสีย:
- แผนระดับองค์กร On-Ramp (24x7): ไม่เกิน 30 นาที
- แผนระดับองค์กร (24x7): ไม่เกิน 15 นาที
*โดยทั่วไปจะกำหนดเวลาทำการเป็น 8:00 น. ถึง 18:00 น. ในประเทศของลูกค้าตามที่ตั้งไว้ใน My Account Console ไม่รวมวันหยุดและสุดสัปดาห์ เวลาเหล่านี้อาจผันแปรไปในประเทศที่มีเขตเวลามากกว่าหนึ่ง
คุณจะแก้ปัญหาของฉันได้รวดเร็วเพียงใด
ขึ้นอยู่กับปัญหาของคุณ ปัญหาที่นักพัฒนาแอปพลิเคชันหรือบริการพบอยู่ทุกวันนั้นมีความหลากหลายสูงมาก ซึ่งทำให้ยากต่อการคาดการณ์เวลาที่ใช้แก้ปัญหาได้อย่างแม่นยำ อย่างไรก็ตาม เราอาจกล่าวได้ว่า เราจะทำงานใกล้ชิดกับคุณเพื่อแก้ปัญหาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ฉันจะติดต่อคุณได้อย่างไร
หากมีแผนการสนับสนุนแบบชำระเงิน สามารถเปิดกรณีสนับสนุนผ่านเว็บได้จากศูนย์การสนับสนุน ถ้าคุณมีแผนการสนับสนุนระดับธุรกิจ, ระดับองค์กร On-Ramp และระดับองค์กร สามารถขอให้ AWS ติดต่อคุณด้วยหมายเลขโทรศัพท์ที่สะดวก หรือเริ่มการสนทนากับหนึ่งในวิศวกรผ่านศูนย์สนับสนุนหรือทางแอป AWS Support ใน Slack
และคุณยังสามารถดูตัวเลือกสำหรับการติดต่อฝ่ายสนับสนุนในหน้าติดต่อเราได้ด้วย
ฝ่ายสนับสนุนให้ความช่วยเหลือแบบเรียลไทม์ระหว่างการแชทและการช่วยเหลือทางโทรศัพท์อย่างไรและเมื่อใด
หากลูกค้าประสบปัญหาหลังจากปฏิบัติตามเอกสารประกอบแบบทีละขั้นตอน ลูกค้าสามารถให้รายละเอียด เช่น ภาพหน้าจอและบันทึกผ่านกรณีการสนับสนุน สำหรับปัญหาที่มีความรุนแรงสูง ลูกค้าระดับธุรกิจ, ระดับองค์กร On-Ramp และระดับองค์กรสามารถแชทหรือโทรติดต่อฝ่ายสนับสนุนเพื่อรับความช่วยเหลือได้แบบเรียลไทม์ ในบางสถานการณ์ ฝ่ายสนับสนุนจะให้คำแนะนำโดยละเอียดผ่านทางอีเมล หากจำเป็น ฝ่ายสนับสนุนจะใช้เครื่องมือแชร์หน้าจอของเราเพื่อดูหน้าจอของลูกค้าจากระยะไกลเพื่อระบุและแก้ไขปัญหา เครื่องมือนี้เป็นแบบดูอย่างเดียว โดยฝ่ายสนับสนุนไม่สามารถดำเนินการในนามของลูกค้าภายในเซสชันแชร์หน้าจอได้ อย่างไรก็ตาม โปรดทราบว่าเครื่องมือแชร์หน้าจอไม่ได้มีไว้เพื่อช่วยแนะนำลูกค้าผ่านขั้นตอนต่างๆ ที่มีการบันทึกไว้แล้ว หากลูกค้าไม่สามารถใช้เครื่องมือแชร์หน้าจอของเราได้ AWS Support จะพยายามใช้เครื่องมือแชร์หน้าจอที่ลูกค้าเลือก อาจไม่รองรับเครื่องมือบางรายการด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ลูกค้าระดับนักพัฒนาสามารถติดต่อวิศวกรฝ่ายสนับสนุนระบบคลาวด์ได้ทางอีเมล อย่างไรก็ตาม การแชร์หน้าจอไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนที่มีให้ในแผนของวิศวกรฝ่ายสนับสนุนระบบคลาวด์
ฉันไม่ได้อยู่ในสหรัฐอเมริกา ฉันจะลงทะเบียนรับ AWS Support ได้หรือไม่
ได้ AWS Support เป็นองค์กรระดับโลก ลูกค้า AWS ทุกรายสามารถลงชื่อเข้าใช้เพื่อรับและใช้ AWS Support ได้
คุณพูดภาษาเดียวกับฉันหรือไม่
ขณะนี้ AWS Support มีให้บริการในภาษาต่อไปนี้: จีน, อังกฤษ, ญี่ปุ่น และเกาหลี คุณสามารถใช้หนึ่งในภาษาที่สนับสนุนเป็นภาษาติดต่อที่คุณต้องในการเข้าถึง AWS Support ได้
หากคุณมีแผน AWS Enterprise Support เรามีผู้จัดการฝ่ายเทคนิคที่สามารถพูดและโต้ตอบกับคุณในภาษาจีน อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลี โปรตุเกส สเปน ไทย และอื่นๆ หากต้องการทราบว่าเราสามารถโต้ตอบในภาษาของคุณหรือไม่ โปรดติดต่อทีมผู้จัดการบัญชีของคุณ หรือติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้จากฝ่ายสนับสนุนการขายของ AWS
ฉันจะเข้าถึงการสนับสนุนในภาษาของฉันได้อย่างไร
เมื่อคุณสร้างเคสรับการสนับสนุนใน AWS Support Center ให้เลือกภาษาติดต่อที่คุณต้องการจากรายการภาษาที่สนับสนุน หลังจากดำเนินการดังกล่าว เคสใหม่ที่เปิดผ่าน AWS Support Center จะถูกส่งไปยังทีมสนับสนุนที่มีความสามารถในภาษาที่คุณต้องการ
ใครบ้างที่ควรใช้ AWS Support
เราแนะนำให้ลูกค้า AWS ทั้งหมดใช้ AWS Support เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ราบรื่น ซึ่งได้ใช้ประโยชน์จากบริการโครงสร้างพื้นฐานของ AWS เราได้สร้างระดับที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการทางด้านเทคนิคและต้นทุนที่ไม่เหมือนใครของคุณ
ฉันใช้แอปพลิเคชันที่ผู้อื่นสร้างขึ้นบน Amazon Web Services ฉันสามารถใช้ AWS Support ได้หรือไม่
ถ้าแอปพลิเคชันใช้ทรัพยากรที่เตรียมใช้งานภายใต้บัญชีของคุณ คุณสามารถใช้ AWS Support ได้ อันดับแรก เราจะช่วยคุณกำหนดว่าปัญหานั้นเกิดกับทรัพยากร AWS หรือจากแอปพลิเคชันของบริษัทอื่น เราจะทำการแก้ไขปัญหาของคุณหรือแจ้งให้คุณทราบเพื่อที่จะได้ติดต่อนักพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการแก้ปัญหาแบบต่อเนื่อง ซึ่งขึ้นอยู่กับผลลัพธ์
ฉันจะเริ่มต้นใช้งาน AWS Support ได้อย่างไร
คุณสามารถเพิ่ม AWS Support ในระหว่างขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อรับผลิตภัณฑ์ AWS ได้ หรือเพียงเลือกแผน AWS Support
AWS Support มีค่าใช้จ่ายเท่าไร
AWS Support จะเสนอระดับบริการที่แตกต่างกันเพื่อให้ตรงกับความต้องการและงบประมาณของคุณ ซึ่งรวมถึงแผนสนับสนุนระดับนักพัฒนา, ระดับธุรกิจ, ระดับองค์กร On-Ramp และระดับองค์กร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ตารางราคาของเรา
เหตุใดการเก็บค่าบริการ AWS Support ของฉันจึงเพิ่มขึ้นเมื่อฉันซื้อ EC2 และอินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย RDS และ แคชโหนดแบบเหมาจ่าย ElasticCache
เมื่อคุณชำระเงินเพื่อประมวลผลด้วยอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายของ Amazon Elastic Compute Cloud (Amazon EC2), อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายของ Amazon Relational Database Service (Amazon RDS), อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายของ Amazon Redshift หรือแคชโหนดแบบเหมาจ่าย Amazon ElastiCache และบริการอื่นๆ และสมัครใช้แผน AWS Support แบบชำระเงิน ค่าใช้จ่ายแบบครั้งเดียว (ล่วงหน้า) สำหรับทรัพยากรที่ชำระเงินล่วงหน้าจะรวมอยู่ในการคำนวณค่าใช้จ่าย AWS Support ในเดือนที่คุณซื้อทรัพยากร นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการใช้จ่ายรายชั่วโมงสำหรับทรัพยากรแบบเหมาจ่ายจะรวมอยู่ในการคำนวณค่าใช้จ่าย AWS Support ในแต่ละเดือน
ฉันจะลงทะเบียนรับ AWS Support รับความช่วยเหลือ แล้วยกเลิกการสมัครใช้งานได้หรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น ฉันจะถูกเรียกเก็บเงินในจำนวนตามอัตราส่วนหรือไม่
คุณต้องชำระค่าสนับสนุนอย่างน้อยหนึ่งเดือนสำหรับแต่ละครั้งที่คุณลงทะเบียนเพื่อรับบริการ คุณต้องรออย่างน้อย 30 วันนับจากวันที่เริ่มต้นการสมัครใช้งานเพื่อยกเลิกการสมัครใช้งาน เราขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธที่จะให้บริการ AWS Support กับลูกค้าที่ลงทะเบียนแล้วยกเลิกบริการบ่อยครั้ง
การสนับสนุนทางแชททำงานอย่างไร
การแชทเป็นอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากโทรศัพท์หรืออีเมลเพื่อรับการเข้าถึงวิศวกรด้านการสนับสนุนด้านเทคนิค ด้วยการเลือกไอคอนการสนับสนุนแชทในศูนย์การสนับสนุน เซสชันการแชทจะเริ่มต้นผ่านเบราว์เซอร์ของคุณ ซึ่งจะมอบการสื่อสารกับวิศวกรด้านการสนับสนุนของเราแบบหนึ่งต่อหนึ่งและเรียลไทม์ และยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมและลิงก์สำหรับแชร์เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
การเสนอการสนับสนุนผ่านการแชทนั้นใหม่สำหรับ AWS แต่ไม่ใหม่สำหรับ Amazon.com เราได้ใช้ความสามารถในการแชทเดียวกันที่ลูกค้าประเภทค้าปลีกใช้อยู่ในขณะนี้ และทำให้ความสามารถนี้ใช้งานได้สำหรับการสนับสนุนด้านเทคนิคของ AWS ลูกค้าระดับธุรกิจ, องค์กร On-Ramp และองค์กรสามารถเข้าถึงความสามารถในการแชทได้จากภายในศูนย์การสนับสนุน ผู้ใช้การสนับสนุนยังสามารถเปิดใช้เซสชันการแชทจากแต่ละกรณีหรือส่วน ติดต่อเรา ของเว็บไซต์ AWS ได้
แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับความทนทานต่อความเสียหายคืออะไร
ลูกค้ามักจะถามเราว่ามีสิ่งที่พวกเขาต้องทำเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์หลักๆ ที่อาจส่งผลต่อ Availability Zone แบบเดี่ยวหรือไม่ ความรับผิดชอบของเราต่อคำถามนี้ก็คือลูกค้าควรปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการปรับใช้ที่พร้อมใช้งานอย่างมาก (เช่น การมีกลยุทธ์สำรองข้อมูล การแจกจ่ายทรัพยากรทั่วทั้ง Availability Zone) ลิงก์ต่อไปนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับคุณ:
- คุณกำลังใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการประมวลผลแบบกระจายในหลาย AZ หรือไม่
- วิธีสร้างแอปพลิเคชันที่ทนต่อข้อผิดพลาดบน AWS
- ฉันจะสามารถปรับปรุงการตรวจสอบของฉันและเฝ้าระวังพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดหรือข้อผิดพลาดได้อย่างไรบ้าง
- แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับพื้นที่จัดเก็บใน EC2 คืออะไร
- ฉันควรทำอย่างไรถ้าอินสแตนซ์ของฉันไม่ตอบสนองอีกต่อไป
- ฉันจะแก้ไขปัญหาอินสแตนซ์ที่ไม่สามารถตรวจสอบสถานะได้อย่างไร
- AWS Trusted Advisor - ตรวจสอบสภาพแวดล้อม AWS ของคุณเพื่อเสนอข้อเสนอแนะการปรับให้เหมาะสม
ฉันจะกำหนดค่า Identity and Access Management (IAM) สำหรับการสนับสนุนได้อย่างไร
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีที่คุณสามารถกำหนดค่าผู้ใช้ IAM ของคุณเพื่ออนุญาต/ปฏิเสธการเข้าถึงทรัพยากร AWS Support โปรดดูที่ การเข้าถึง AWS Support
ฉันจะเก็บประวัติกรณีได้นานเท่าไร
ข้อมูลประวัติกรณีจะใช้งานได้เป็นเวลา 24 เดือนหลังจากสร้างขึ้น
ฉันสามารถขอรับประวัติการเรียก AWS Support API ทั้งหมดบนบัญชีของฉันเพื่อการวิเคราะห์ความปลอดภัยและการแก้ปัญหาการดำเนินการได้หรือไม่
ใช่ หากต้องการรับประวัติการเรียกใช้ AWS Support API ที่ดำเนินการในบัญชีของคุณ คุณสามารถเปิดใช้งาน CloudTrail ใน AWS Management Console สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู การบันทึกการเรียกใช้ AWS Support API ด้วย AWS CloudTrail
Amazon Enterprise Support Subscription ของฉันรวมการสนับสนุนสำหรับ Amazon EKS Anywhere หรือไม่
Amazon Enterprise Support ครอบคลุมคำแนะนำทั่วไปสำหรับลูกค้า EKS Anywhere หากต้องการรับการสนับสนุนเพิ่มเติม ซึ่งรวมถึงการแก้ไขปัญหาโดยละเอียดและการสนับสนุนแบบ Pass-Through สำหรับองค์ประกอบของบริษัทอื่นที่รวมอยู่กับ EKS Anywhere คุณจะต้องซื้อ Amazon EKS Anywhere Support Subscription แยกต่างหากเพิ่มเติมจาก Amazon Enterprise Support Subscription ที่คุณมีอยู่ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ AWS Enterprise Support ที่นี่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EKS Anywhere Support Subscription โปรดไปที่หน้าราคา EKS Anywhere
ทำไมเอกสารแนบของฉันจึงไม่แสดงเป็นเอกสารแนบ
Amazon จะใช้กระบวนการใหม่ที่จะแชร์เอกสารแนบ คุณจะยังคงสามารถเข้าดูเอกสารแนบทั้งหมดที่ส่งถึงคุณได้ แต่คุณจะต้องคลิกลิงก์ในกล่องเอกสารแนบเพื่อดาวน์โหลดเอกสารเหล่านั้นแทนการคลิกที่เอกสารแนบ คุณจะสามารถดาวน์โหลดได้เป็นเวลา 30 วันจากนั้นลิงก์จะหมดอายุ
หากจำเป็นต้องดาวน์โหลดเอกสารแนบหลังจากผ่านไป 30 วัน ต้องทำอย่างไร
ลิงก์มีอายุ 30 วัน หลังจากผ่านไป 30 วัน คุณอาจติดต่อผู้ส่งเดิมและขอให้พวกเขาส่งไฟล์แนบมาให้คุณอีกครั้ง ผู้ส่งคนเดิมจะต้องสร้าง
ลิงก์ใหม่
ยังไม่ถึง 30 วันนับตั้งแต่ฉันได้รับอีเมล แต่ไม่สามารถดาวน์โหลดเอกสารแนบได้และฉันได้รับข้อความแสดงข้อผิดพลาด เกิดอะไรขึ้น
ผู้ส่งสามารถเพิกถอนการเข้าถึงได้ก่อน 30 วัน โปรดติดต่อผู้ส่งสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ฉันไม่สามารถดาวน์โหลดได้เมื่อฉันคลิกลิงก์ ฉันควรทำยังไง
ตรวจสอบการตั้งค่าของคุณ (หรือของบริษัทของคุณ) สำหรับไฟร์วอลล์หรือการบล็อกอื่น ๆ ของเว็บไซต์ภายนอก หากคุณไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โปรดติดต่อผู้ส่งเดิม
AWS Health
AWS Health คืออะไร
AWS Health เป็นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เชื่อถือได้สําหรับเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อทรัพยากร AWS Cloud ของคุณ AWS Health จะแจ้งให้คุณทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านบริการ การเปลี่ยนแปลงที่วางแผนไว้ และการแจ้งเตือนบัญชี เพื่อช่วยคุณจัดการและดําเนินการ ลงชื่อเข้าใช้ AWS Health Dashboard เพื่อดูข้อมูลความสมบูรณ์เฉพาะบัญชี หรือรับการอัปเดตเหตุการณ์ AWS Health โดยใช้ Amazon EventBridge และคุณสามารถเข้าถึง AWS Health ผ่านโปรแกรมโดยใช้ API ของ AWS Health ซึ่งพร้อมใช้งานกับ AWS Premium Support ได้ด้วย
ความสมบูรณ์ของบริการและบัญชีแตกต่างกันอย่างไร
ความสมบูรณ์ของบริการจะให้ภาพรวมของสถานะปัจจุบันและประวัติของบริการ AWS ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ในวงกว้างที่อาจส่งผลต่อความพร้อมให้บริการโดยรวมในรีเจี้ยน คุณไม่จำเป็นต้องลงชื่อเข้าใช้หรือมีบัญชี AWS เพื่อดูหน้านี้
เหตุการณ์ความสมบูรณ์ของบัญชีรวมถึงปัญหาการดำเนินงานที่แปลเป็นภาษาท้องถิ่นและกิจกรรมในวงจรชีวิตที่วางแผนเอาไว้ซึ่งอาจส่งผลต่อเวิร์กโหลดที่ทำงานอยู่บน AWS ความสมบูรณ์ของบัญชีมีให้บริการสำหรับผู้ใช้ AWS ที่ผ่านการตรวจสอบสิทธิ์แล้ว เมื่อลงชื่อเข้าใช้ความสมบูรณ์ของบัญชี คุณจะสามารถดูเหตุการณ์ AWS Health ทั้งหมดได้ รวมถึงมุมมองส่วนบุคคลของเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อบริการและทรัพยากร AWS เฉพาะของคุณ นอกเหนือจากสถานภาพบริการ คุณสามารถดูความสมบูรณ์ของบัญชีได้จาก AWS Health Dashboard เข้าถึงเหตุการณ์ทางโปรแกรมโดยใช้ Amazon EventBridge หรือ AWS Health API (มีให้สำหรับลูกค้า AWS Business, AWS Enterprise On-Ramp และ AWS Enterprise Support) นอกจากนี้ AWS Health ยังมีการผสานการทำงานที่พร้อมใช้งานทันทีกับเครื่องมือการจัดการบริการไอที (ITSM) เช่น ServiceNow อีกด้วย
ฉันควรดำเนินการอะไรบ้างตามสถานะที่ AWS Health มอบให้
AWS Health จะมอบคำแนะนำที่นำไปปฏิบัติได้จริงเพื่อช่วยคุณแก้ไขปัญหาและแก้ไขเหตุการณ์การดำเนินงาน และดำเนินการเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงตามกำหนดเวลา เช่น เหตุการณ์วงจรชีวิตที่วางแผนไว้
แชนเนลการแจ้งเตือนใดที่พร้อมใช้งาน
AWS Health มอบความยืดหยุ่นในการดูเหตุการณ์ Health (ความสมบูรณ์) โดยใช้ช่องทางที่เหมาะกับความต้องการของคุณมากที่สุด คุณสามารถดูข้อมูล AWS Health ได้โดยใช้ AWS Health Dashboard ซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งค่าใด ๆ และพร้อมใช้งานสำหรับผู้ใช้ AWS ที่ได้รับการตรวจสอบสิทธิ์ทุกคน นอกจากนี้ คุณยังสามารถรับการอัปเดตเหตุการณ์ AWS Health โดยใช้ Amazon EventBridge เข้าถึง AWS Health แบบเป็นโปรแกรมโดยใช้ AWS Health API (มีให้สำหรับลูกค้า AWS Business, AWS Enterprise On-Rampและ AWS Enterprise Support) หรือใช้การผสานรวมที่พร้อมใช้งานทันที ด้วยเครื่องมือการจัดการบริการไอที (ITSM) เช่น ServiceNow
ฉันจะลงชื่อสมัครใช้งานการแจ้งเตือนได้อย่างไร
นอกเหนือจากช่องทางการแจ้งเตือนที่ระบุไว้ข้างต้น (AWS Health Dashboard, Amazon EventBridge และ AWS Health API) คุณยังสามารถกำหนดค่าการแจ้งเตือนผ่านช่องทางเพิ่มเติม รวมถึงอีเมล แชท หรือการแจ้งเตือนแบบพุชไปยังแอปคอนโซล AWS บนอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยใช้การแจ้งเตือนผู้ใช้ AWS ได้อีกด้วย การแจ้งเตือนผู้ใช้จะสร้างและส่งการแจ้งเตือนเมื่อเหตุการณ์ตรงกับค่าที่คุณระบุในกฎตามกฎที่คุณสร้าง
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือการแจ้งเตือนเหตุการณ์ AWS Health โดยใช้การแจ้งเตือนผู้ใช้ไม่ได้ให้รายละเอียดมากเท่ากับช่องทางที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ เช่น AWS Health Dashboard, Amazon EventBridge และ AWS Health API การแจ้งเตือนผู้ใช้เป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและการเปลี่ยนแปลง หากต้องการส่งเนื้อหาทั้งหมดของเหตุการณ์ Health (ความสมบูรณ์) ไปยังตำแหน่งข้อมูลอื่น คุณสามารถใช้ Amazon EventBridge เพื่อทำให้การจัดการเหตุการณ์ AWS Health ทั่วทั้งองค์กรของคุณเป็นแบบอัตโนมัติ EventBridge จะเรียกดำเนินการเป้าหมายตั้งแต่หนึ่งรายการขึ้นไปเมื่อเหตุการณ์ตรงกับค่าที่คุณระบุในกฎตามกฎที่คุณสร้างไว้
AWS Health สามารถทำการดำเนินการต่าง ๆ ที่ฉันใช้ได้ทำในวันนี้ให้เป็นอัตโนมัติเพื่อฟื้นฟูจากเหตุการณ์ที่รู้จักได้หรือไม่
คุณสามารถใช้ Amazon EventBridge เพื่อทำให้การจัดการเหตุการณ์ AWS Health ทั่วทั้งองค์กรของคุณเป็นแบบอัตโนมัติได้โดยการสร้างกฎบน EventBridge EventBridge จะเรียกดำเนินการเป้าหมายตั้งแต่หนึ่งรายการขึ้นไปเมื่อเหตุการณ์ตรงกับค่าที่คุณระบุในกฎตามกฎที่คุณสร้างไว้ คุณสามารถบันทึกข้อมูลเหตุการณ์ เริ่มต้นเหตุการณ์เพิ่มเติม ส่งการแจ้งเตือน ดำเนินการแก้ไข หรือดำเนินการอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของเหตุการณ์
ฉันสามารถสร้างการดำเนินการแบบกำหนดเองด้วย AWS Lambda ได้หรือไม่
ได้ คุณสามารถกำหนดการดำเนินการแบบกำหนดเองใน AWS Lambda และใช้ Amazon Eventbridge เพื่อเริ่มต้นการดำเนินการ Lambda เหล่านี้เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้
ฉันสามารถเข้าถึง AWS Health ทางโปรแกรมได้หรือไม่
ใช่ สามารถเข้าถึง AWS Health ทางโปรแกรมได้ด้วย Amazon EventBridge และ AWS Health API AWS Health API มีให้บริการสำหรับลูกค้าที่อยู่ในแผน AWS Business, AWS Enterprise On-Ramp และ AWS Enterprise Support
ฉันสามารถใช้ AWS Health กับ Amazon CloudWatch ได้หรือไม่
ใช่ AWS Health เป็นแหล่งที่มาของข้อมูลที่เชื่อถือได้สําหรับเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อทรัพยากร AWS Cloud ของคุณ Amazon CloudWatch เป็นบริการที่ตรวจสอบแอปพลิเคชัน ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะประสิทธิภาพการดําเนินงาน คุณสามารถสร้างการแจ้งเตือนเพื่อตรวจสอบตัววัด Amazon CloudWatch ในบัญชีของคุณ และซ้อนเหตุการณ์ AWS Health ด้วยตัววัด CloudWatch เพื่อดึงข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเมื่อเปิดใช้งานการแจ้งเตือนได้
AWS Trusted Advisor
AWS Trusted Advisor คืออะไร
AWS Trusted Advisor ช่วยให้คุณสามารถปรับต้นทุนให้เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงความปลอดภัยและความยืดหยุ่น และลดจำนวนอินสแตนซ์ในระบบคลาวด์ได้ Trusted Advisor ประเมินสภาพแวดล้อม AWS ของคุณอย่างต่อเนื่องโดยใช้การตรวจสอบแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในหมวดหมู่ต่างๆ ของความเหมาะสมทางด้านต้นทุน ประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น ความปลอดภัย ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน และขีดจำกัดของบริการ และแนะนำการดำเนินการเพื่อแก้ไขความเบี่ยงเบนจากแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด
ถันจะเข้าถึง Trusted Advisor ได้อย่างไร
Trusted Advisor มีให้ใช้บริการในคอนโซลการจัดการของ AWS คุณสามารถเข้าถึงคอนโซล Trusted Advisor ได้โดยตรงที่ https://console.aws.amazon.com/trustedadvisor
Trusted Advisor ตรวจสอบอะไรบ้าง
Trusted Advisor รวมรายการตรวจสอบมากมายในประเภทต่างๆ ของการปรับต้นทุนให้เหมาะสม ความปลอดภัย ความทนทานต่อความเสียหาย ประสิทธิภาพ ความเป็นเลิศในการดำเนินงาน และ Service Limits สำหรับรายการการตรวจสอบและคำอธิบายที่ครบถ้วน โปรดดูที่ การตรวจสอบของ AWS Trusted Advisor
ฟีเจอร์การแจ้งเตือนของ Trusted Advisor ทำงานอย่างไร
คุณสมบัติการแจ้งเตือนของ Trusted Advisor ช่วยให้คุณสามารถรับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการปรับใช้ทรัพยากร AWS ของคุณอยู่เสมอ คุณจะได้รับแจ้งทางอีเมลทุกสัปดาห์เมื่อเลือกใช้บริการนี้ จำเป็นต้องรีเฟรชการตรวจสอบเพื่อรับรองความเป็นปัจจุบันของสถานะการตรวจสอบในการแจ้งทางอีเมล ดำเนินการรีเฟรชการตรวจสอบรายสัปดาห์โดยอัตโนมัติสำหรับบัญชีที่มี AWS Business Support, AWS Enterprise On-Ramp และ AWS Enterprise Support บัญชีที่มี AWS Developer Support และการสนับสนุนขั้นพื้นฐานของ AWS จะต้องเข้าสู่ระบบของคอนโซลการจัดการของ AWS เพื่อกระตุ้นการรีเฟรชการตรวจสอบ
- มีสิ่งใดอยู่ในการแจ้งเตือนบ้าง อีเมลแจ้งเตือนประกอบด้วยสรุปการประเมินการประหยัดและสถานะการตรวจสอบของคุณ โดยเฉพาะการเน้นการเปลี่ยนแปลงของสถานะการตรวจสอบ
- ฉันจะลงชื่อสมัครใช้งานการแจ้งเตือนได้อย่างไร นี่คือบริการแบบเลือกใช้ ดังนั้นควรตรวจสอบว่ามีการตั้งค่าการแจ้งเตือนในแดชบอร์ดของคุณแล้ว คุณสามารถเลือกผู้ติดต่อที่จะรับการแจ้งเตือนได้ในหน้าต่างการตั้งค่าของ Trusted Advisor Console
- ใครบ้างที่สามารถรับการแจ้งเตือนนี้ได้ คุณสามารถระบุผู้รับการอัปเดตสถานะรายสัปดาห์และการประเมินการประหยัดได้สูงสุดสามคน
- การแจ้งเตือนจะเป็นภาษาอะไร มีบริการแจ้งเตือนเป็นภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น
- ฉันจะได้รับแจ้งบ่อยเพียงใด และเมื่อใด คุณจะได้รับแจ้งทางอีเมลเป็นรายสัปดาห์ โดยปกติแล้วจะเป็นวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์ และจะมีการแสดงให้เห็นการกำหนดค่าทรัพยากรในสัปดาห์ก่อน (7 วัน)
- ฉันสามารถยกเลิกการสมัครการแจ้งเตือนได้หรือไม่ หากฉันไม่ต้องการรับอีเมลอีกต่อไป ใช่ คุณสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าในแดชบอร์ดได้โดยการยกเลิกการทำเครื่องหมายที่กล่องทั้งหมด จากนั้นเลือก "Save Preferences" (บันทึกการตั้งค่า)
- มีค่าใช้จ่ายเท่าใด ไม่มีค่าใช้จ่าย เริ่มต้นใช้งานวันนี้
คุณสมบัติ "การเปลี่ยนแปลงล่าสุด" ทำงานอย่างไร
Trusted Advisor ติดตามการเปลี่ยนแปลงล่าสุดของสถานะทรัพยากรในแดชบอร์ด Console ระบบจะแสดงการเปลี่ยนแปลงล่าสุดที่เกิน 30 วันไว้ที่ด้านบนสุด ระบบจะติดตามการอัปเดตเจ็ดรายการต่อหน้า และคุณสามารถไปที่หน้าอื่นๆ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงล่าสุดทั้งหมดได้โดยการคลิกลูกศรไปข้างหน้าหรือย้อนหลังซึ่งปรากฏอยู่ที่มุมขวาด้านบนสุดของส่วน "การเปลี่ยนแปลงล่าสุด"
ฟังก์ชัน "แยกรายการ" ทำงานอย่างไร
หากคุณไม่ต้องการรับแจ้งเกี่ยวกับสถานะของทรัพยากรบางรายการ คุณสามารถเลือกที่จะแยก (ระงับ) การรายงานสำหรับทรัพยากรนั้นได้ โดยปกติแล้วคุณจะทำเช่นนี้หลังจากที่ตรวจสอบผลการตรวจสอบแล้วและตัดสินใจว่าจะไม่ทำการเปลี่ยนแปลงกับทรัพยากร AWS หรือการตั้งค่าที่ Trusted Advisor ตั้งค่าสถานะไว้
หากต้องการแยกรายการ ให้กาเครื่องหมายที่กล่องด้านซ้ายของรายการทรัพยากร จากนั้นเลือก "Exclude and Refresh" (แยกและรีเฟรช) ระบบจะแสดงรายการที่แยกไว้ในมุมมองที่แยกต่างหาก คุณสามารถกู้คืน (รวม) รายการเหล่านั้นได้ตลอดเวลาโดยการเลือกรายการที่อยู่ในรายการที่แยกไว้ จากนั้นเลือก "Include and Refresh" (รวมและรีเฟรช)
ฟังก์ชัน "Exclude and Refresh" (แยกและรีเฟรช) มีให้ใช้บริการที่ระดับทรัพยากรเท่านั้น ไม่มีให้ที่ระดับการตรวจสอบ เราขอแนะนำให้คุณตรวจสอบการแจ้งเตือนทรัพยากรแต่ละรายการก่อนที่จะทำการแยก ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณจะยังสามารถมองเห็นสถานะโดยรวมของการปรับใช้โดยไม่พลาดบางส่วนไป ตัวอย่างเช่น ดูที่ AWS Trusted Advisor สำหรับทุกคน ใน AWS Blog
ลิงก์ดำเนินการคืออะไร
รายการส่วนมากที่อยู่ในรายงาน Trusted Advisor จะมีไฮเปอร์ลิงก์ไปยัง AWS Management Console ซึ่งคุณจะสามารถดำเนินการตามคำแนะนำของ Trusted Advisor ได้ ลิงก์การดำเนินการจะรวมอยู่สำหรับบริการทั้งหมดที่สนับสนุนพวกเขา
ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบสแน็ปช็อตของ Amazon EBS จะแสดงรายการไดร์ฟข้อมูล Amazon EBS ที่ไม่มีสแน็ปช็อต หรือที่มีอายุมากกว่าเจ็ดวัน ในแต่ละแถวของรายงาน ID ของไดรฟ์ข้อมูลจะเป็นไฮเปอร์ลิงก์ไปยังไดรฟ์ข้อมูลนั้นๆ ใน Amazon EC2 Console ซึ่งคุณสามารถดำเนินการสร้างสแน็ปช็อตด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้ง
ฉันจะจัดการการเข้าถึงคอนโซล Trusted Advisor ได้อย่างไร นโยบาย IAM คืออะไร
สำหรับคอนโซล Trusted Advisor การเข้าถึงจะถูกควบคุมโดยนโยบาย IAM ที่ใช้ trustedadvisor namespace และตัวเลือกการเข้าถึงจะประกอบด้วยการดูและการรีเฟรชการตรวจสอบทีละรายการหรือหมวดหมู่ของการตรวจสอบ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่จัดการการเข้าถึงสำหรับ AWS Trusted Advisor
ฉันจะเข้าถึง AWS Trusted Advisor ผ่านทาง API ได้อย่างไร
คุณสามารถเข้าถึงรายการตรวจสอบแนวทางปฏิบัติของ Trusted Advisor คำแนะนำ และกำหนดความสำคัญของคำแนะนำได้อย่างมีแบบแผนโดยใช้ Trusted Advisor API ซึ่งมีให้ใช้งานสำหรับลูกค้า AWS Business Support, AWS Enterprise On-Ramp Support และ AWS Enterprise Support หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Trusted Advisor API โปรดดูที่คู่มือผู้ใช้
ฉันสามารถรีเฟรชผลลัพธ์ของ Trusted Advisor ได้บ่อยเพียงใด
ความถี่ในการรีเฟรชขั้นต่ำจะแตกต่างกันไปตามการตรวจสอบ คุณสามารถรีเฟรชการตรวจสอบทีละรายการหรือรีเฟรชการตรวจสอบทั้งหมดในคราวเดียวได้โดยการเลือก "Refresh All" (รีเฟรชทั้งหมด) ที่มุมขวาบนของแดชบอร์ดการสรุป เมื่อคุณไปที่แดชบอร์ด Trusted Advisor การตรวจสอบใดก็ตามที่ยังไม่ได้รีเฟรชใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาจะถูกรีเฟรชโดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจใช้เวลาไม่กี่นาที วันที่และเวลาของการรีเฟรชครั้งล่าสุดจะแสดงที่ด้านขวาของชื่อการตรวจสอบ นอกจากนี้แล้วจะมีการรีเฟรชข้อมูล Trusted Advisor ทุกสัปดาห์โดยอัตโนมัติสำหรับลูกค้าที่ใช้แผนระดับธุรกิจ, ระดับองค์กร On-Ramp หรือระดับองค์กรด้วย
กิจกรรมต่าง ๆ ของ Trusted Advisor จะส่งผลต่อข้อมูลบันทึก AWS CloudTrail ของฉันอย่างไร
AWS CloudTrail บันทึกกิจกรรมของ Trusted Advisor จาก API และ Console ตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้ API เพื่อรีเฟรชการตรวจสอบตามโปรแกรมหรือด้วยตนเองเพื่อตรวจสอบ Trusted Advisor Console CloudTrail จะบันทึกกิจกรรมนี้และคุณสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ได้ในบันทึกข้อมูลของคุณ การดำเนินการรีเฟรชโดยอัตโนมัติโดย Trusted Advisor จะปรากฏขึ้นในบันทึก CloudTrail
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบันทึก CloudTrail สำหรับ Trusted Advisor API โปรดดูที่ การบันทึกการเรียกใช้ AWS Support API ด้วย AWS CloudTrail สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบันทึก CloudTrail สำหรับคอนโซล Trusted Advisor โปรดดูที่ การบันทึกการดำเนินการของคอนโซล AWS Trusted Advisor ด้วย AWS CloudTrail
ฉันสามารถเข้าถึงการตรวจสอบ Trusted Advisor แบบใดได้บ้าง
ลูกค้า AWS Business Support และ AWS Developer Support สามารถเข้าถึงการตรวจสอบความปลอดภัย 6 แบบ (สิทธิ์ของบัคเก็ต S3 กลุ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย - เฉพาะพอร์ตที่ไม่จำกัด, การใช้งาน IAM, MFA บนบัญชีที่มีสิทธิ์ใช้งานสูงสุด, สแนปชอตสาธารณะ EBS, สแนปชอตสาธารณะ RDS) และการตรวจสอบขีดจำกัดบริการ ในขณะที่ลูกค้าของ AWS Business Support, AWS Enterprise On-Ramp Support และ AWS Enterprise Support เข้าถึงการตรวจสอบ Trusted Advisor ได้อย่างเต็มรูปแบบ สำหรับรายการการตรวจสอบและคำอธิบายที่ครบถ้วน โปรดดูที่ การตรวจสอบ Trusted Advisor
ทำไมกฎของเหตุการณ์ CloudWatch และตัววัดการแจ้งเตือนสำหรับการตรวจสอบ On-Demand Instance ของ EC2 จึงไม่ทำงาน
หากบัญชีของคุณมีการเลือกใช้ค่าจำกัด On-Demand Instance ตาม vCPU คุณจะต้องปรับตัววัดการแจ้งเตือนและกฎของเหตุการณ์ให้กับบัญชีสำหรับค่าจำกัดอินสแตนซ์ตาม vCPU หากต้องการดูว่าคุณกำลังใช้ On-Demand Instanceตาม vCPU อยู่หรือไม่ ให้ไปที่หน้าค่าจำกัดบนคอนโซล Amazon EC2
ขีดจำกัดบริการใดที่คุณต้องตรวจสอบ
คุณสามารถดูขีดจำกัดที่ Trusted Advisor ตรวจสอบได้ในแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของ AWS Trusted Advisor ดูข้อมูลเกี่ยวกับขีดจำกัดได้ที่ AWS Service Quotas
เหตุใดการเมินเฉยหรือระงับธงสีแดงจากการตรวจสอบความปลอดภัย "กลุ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย - ไม่จำกัดพอร์ตที่กำหนด" และ "กลุ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย - การเข้าถึงอย่างไม่จำกัด" จึงปลอดภัยสำหรับกลุ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยที่สร้างขึ้นโดยบริการไดเรกทอรีของ AWS
AWS Directory Service คือบริการที่มีการจัดการซึ่งจะสร้างกลุ่มรักษาความปลอดภัยของ AWS ใน VPC ของคุณโดยอัตโนมัติพร้อมกฎของเครือข่ายสำหรับการรับส่งข้อมูลเข้าและออกจากตัวควบคุมโดเมนที่มีการจัดการของ AWS กฎขาเข้าเริ่มต้นอนุญาตการรับส่งข้อมูลได้จากแหล่งใดๆ ก็ตาม (0.0.0.0/0) ไปยังพอร์ตที่กำหนดโดย Active Directory กฎเหล่านี้ไม่เป็นการชี้นำช่องโหว่ด้านความปลอดภัย เนื่องจากการรับส่งข้อมูลไปยังตัวควบคุมโดเมนจะถูกจำกัดตามการรับส่งข้อมูลจาก VPC ของคุณ VPC อื่นๆ ในระดับเดียวกัน หรือเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้ AWS Direct Connect, AWS Transit Gateway หรือ Virtual Private Network นอกจากนั้น จะมีการแนบกลุ่มรักษาความปลอดภัย EN ที่จะต้องไม่มี Elastic IP แนบไปด้วย การจำกัดการรับส่งข้อมูลขาเข้าไปยัง VPC ภายใน และการรับส่งข้อมูลที่กำหนดเส้นทางโดย VPC กลุ่มรักษาความปลอดภัยที่สร้างขึ้นโดย AWS Directory Services สามารถค้นหาได้โดยชื่อกลุ่มรักษาความปลอดภัย (มักอยู่ในรูปแบบ “directory-id_controllers” เสมอ (เช่น d-1234567890_controllers) หรือคำอธิบายของกลุ่มรักษาความปลอดภัย (มักอยู่ในรูปแบบ “กลุ่มรักษาความปลอดภัยที่สร้างขึ้นโดย AWS สำหรับตัวควบคุมไดเรกทอรี directory-id”)
ชุดข้อมูลใดที่คุณใช้งานเพื่อสร้างคำแนะนำอินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย
คำแนะนำอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายถูกเตรียมไว้โดย Cost Explorer ซึ่งจะคำนวณคำแนะนำตามการใช้งานตามความต้องการในระยะเวลา 30 วันย้อนหลัง
คำแนะนำมีการพิจารณาถึงส่วนลดตามปริมาณหรือไม่
ไม่ คำแนะนำการเหมาจ่ายจะเป็นไปตามราคาที่เป็นสาธารณะ
ฉันเพิ่งซื้ออินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายใหม่ ทำไมจึงไม่แสดงขึ้นในคำแนะนำ
เนื่องจากคำแนะนำเหล่านี้เป็นไปตามการใช้งานตามความต้องการจากก่อนหน้านี้ การเหมาจ่ายที่ซื้อใหม่จะไม่แสดงขึ้นจนกว่าการใช้งานที่สอดคล้องกันจะแสดงขึ้นในข้อมูลการเรียกเก็บเงิน คำแนะนำอาจมีความไม่แม่นยำหากมีการซื้อแบบเหมาจ่ายในระหว่าง 30 วันที่ผ่านมา
ฉันจะคำนวณจำนวนที่มีการปรับให้เหมาะสมของอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายได้อย่างไร
คำแนะนำการเหมาจ่ายจะคำนวณตามการใช้งานตามความต้องการภายในระยะเวลา 30 วันที่ผ่านมา คำแนะนำเหล่านี้จะคำนวณตามการระบุการซื้อแบบเหมาจ่ายซึ่งจะมีผลในการเรียกเก็บเงินต่ำสุดที่มีในระยะเวลานี้ คำแนะนำเหล่านี้จะมีเป้าหมายที่การเรียกเก็บเงินต่ำที่สุด ไม่เฉพาะเพียงการใช้งานในบางส่วนหรือเกณฑ์ความครอบคลุม
มีการรวมประเภทอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายอื่น ๆ ในคำแนะนำหรือไม่
การตรวจสอบนี้จะครอบคลุมคำแนะนำตามอินสแตนซ์มาตรฐานแบบเหมาจ่ายทีมีตัวเลือกในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายล่วงหน้าในบางส่วน สำหรับตัวเลือกอื่นๆ ได้แก่ Convertible Reserved Instance หรือตัวเลือกการชำระเงินอื่นๆ โปรดดูคำแนะนำการเหมาจ่ายของ Cost Explorer
ทำไมจึงมีการแบ่งส่วนอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายเป็นเวลา 1 ปีและ 3 ปีแยกกัน
ลูกค้าสามารถเลือกได้ระหว่างการซื้ออินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายในระยะเวลา 1 ปีและ 3 ปีจาก AWS การตรวจสอบนี้จะสมมติว่าคุณจะทำการซื้ออินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายเป็นระยะเวลา 1 ปีหรือ 3 ปี ไม่ใช่ทั้งคู่ ผลก็คือ คำแนะนำสำหรับการซื้ออินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายเพิ่มเติม 1 ปีหรือ 3 ปีนั้นไม่ได้เปิดการเพิ่มระยะเวลานั้นต่อออกไป ดังนั้นคำแนะนำจึงมีผลแยกกัน
เพื่อแสดงให้เห็น ในคำแนะนำสำหรับอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายที่ขยายเวลาเพิ่ม 1 ปี 3 รายการและอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายที่ขยายเวลาเพิ่ม 3 ปี 4 รายการ เราขอแนะนำให้ซื้อแอนสแตนซ์แบบเหมาจ่าย 3 หรือ 4 รายการตามลำดับ ไม่ใช่อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายที่ขยายเวลาเพิ่ม 7 รายการ
ประเภทอินสแตนซ์ทั้งหมดรวมอยู่ในคำแนะนำหรือไม่
ใช่ ทุกประเภทอินสแตนซ์ที่รวมอยู่เป็นแบบเหมาจ่ายที่สอดคล้องกัน
ฉันใช้ Spot Instance มีการรวมอัตราแบบ Spot ในการคำนวณด้วยหรือไม่
ไม่ การใช้ Spot ไม่ครอบคลุมอยู่ในแบบเหมาจ่ายและแยกออกจากคำแนะนำเหล่านี้
ฉันมีอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายจากภายนอกที่มาจาก Marketplace ของอินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย จะมีรวมอยู่ในผลลัพธ์ด้วยหรือไม่
คำแนะนำสำหรับการซื้ออินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายจะมีขึ้นตามการเรียกเก็บค่าบริการซึ่งไม่ครอบคลุมในอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายทั้งหมด รวมถึงที่ซื้อมาจาก Marketplace การประหยัดค่าใช้จ่ายจะคำนวณตามราคาที่เป็นสาธารณะและไม่นับรวมความพร้อมใช้งานของอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายที่มีอยู่ใน Marketplace ของอินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย
คำแนะนำจะรวมถึงรายได้ใด ๆ บ้างไหมหากฉันจำหน่ายอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายเดิมที่มีเพื่อซื้ออินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายแบบมีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าบางส่วนที่ได้รับคำแนะนำ
ไม่ คำแนะนำเหล่านี้จะเป็นคำแนะนำการซื้อตามราคาที่เป็นสาธารณะและการใช้งานตามความต้องการเท่านั้น โดยจะไม่นับถึงการขายอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายเดิมที่มีใน Marketplace ของอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายหรือการแแปลงอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายที่ไม่มีการใช้งานเดิม
สิ่งใดที่กำหนดเกณฑ์การแจ้งเตือนสำหรับการตรวจสอบนี้
การตรวจสอบนี้จะระบุด้วยสีเหลืองเมื่อการปรับการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายบางส่วนที่มีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าให้มีประสิทธิภาพสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้
การดำเนินการที่แนะนำเมื่อผลการตรวจสอบเป็นสีเหลืองคืออะไร
โปรดดูที่หน้า Cost Explorer สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมและคำแนะนำที่ปรับมาโดยเฉพาะ
นอกจากนี้ โปรดดูคู่มือการใช้งาน Amazon Elastic Compute Cloud สำหรับอินสแตนซ์ Linux เพื่อทำความเข้าใจอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายที่ซื้อและตัวเลือกที่ใช้งานได้
ฉันจะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายได้อย่างไร
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายและวิธีที่จะช่วยประหยัดเงินของคุณได้ที่หน้าอินสแตน์แบบเหมาจ่ายของ Amazon EC2
แต่ละช่องในผลการตรวจสอบมีความหมายว่าอย่างไร
- เขต - เขตของ AWS ของการเหมาจ่ายที่แนะนำ
- ประเภทอินสแตนซ์ - ประเภทของอินสแตนซ์ที่ AWS แนะนำ
- แพลตฟอร์ม - แพลต์ฟอร์มของการเหมาจ่ายที่แนะนำ แพลตฟอร์มคือการรวมกันในรูปแบบเฉพาะของระบบปฏิบัติการ โมเดลสิทธิ์การใช้งาน และซอฟต์แวร์ในอินสแตนซ์
- จำนวนอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายที่แนะนำให้ซื้อ - จำนวนของอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายซึ่ง AWS แนะนำให้ซื้อ
- การใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายโดยเฉลี่ยที่คาดหวัง - การใช้โดยเฉลี่ยที่คาดหวังของอินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย
- การประหยัดค่าใช้จ่ายโดยประมาณด้วยคำแนะนำ (รายเดือน) - จำนวนเงินที่ AWS ประมาณการได้ว่าคำแนะนำบางอย่างสามารถช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในแต่ละเดือน
- ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าของอินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย - การซื้ออินสแตนซ์นี้จะมีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเท่าใด
- ค่าใช้จ่ายของอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายโดยประมาณ (รายเดือน) - อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายจะมีค่าใช้จ่ายหลังจากซื้อเท่าใด
- ค่าใช้จ่ายตามการใช้งานโดยประมาณหลังจากการซื้ออินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายที่แนะนำ (รายเดือน) - จำนวนเงินที่ AWS ประเมินว่าคุณจะต้องจ่ายต่อเดือนกับอินสแตนซ์แบบตามความต้องการหลังจากการซื้ออินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายที่แนะนำ
- จุดคุ้มทุนโดยประมาณ (เดือน) - ระยะเวลาที่ AWS ประเมินว่าอินสแตนซ์นี้จะเริ่มประหยัดค่าใช้จ่ายของคุณในแต่ละเดือน
- ช่วงย้อนดู (วัน) - จำนวนวันที่มีการใช้งานก่อนหน้านี้ซึ่ง AWS นำมาพิจารณาเมื่อทำคำแนะนำนี้
- ระยะเวลา (ปี) - ระยะเวลาของการเหมาจ่ายที่คุณต้องการรับคำแนะนำในหนึ่งปี
ทำไมจึงมีเครื่องหมายคำถามสีฟ้าสำหรับคำแนะนำนี้ในคอนโซล Trusted Advisor
ไม่ว่าคุณจะไม่ได้สมัครใช้งาน Cost Explorer หรือได้ลงชื่อเข้าใช้บัญชีที่เชื่อมโยงไว้และไม่ใช่บัญชีผู้ชำระเงิน ไปที่ Consolidated Billing สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ชำระเงินและบัญชีที่เชื่อมโยง
ฉันรีเฟรชการตรวจสอบนี้ได้บ่อยเพียงใด
ผลลัพธ์ของคำแนะนำจะขึ้นอยู่กับ Cost Explorer ซึ่งมีการอัปเดตน้อยกว่า Trusted Advisor การรีเฟรชในทุก 6 ชั่วโมงจะช่วยให้คุณเห็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุด
ลำดับความสำคัญของ AWS Trusted Advisor
AWS Trusted Advisor Priority คืออะไร
AWS Trusted Advisor Priority จะช่วยให้คุณมุ่งเน้นที่คำแนะนำที่สำคัญมากที่สุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนำไปใช้จริงในระบบคลาวด์ ปรับปรุงความยืดหยุ่น และแก้ไขช่องว่างด้านความปลอดภัย Trusted Advisor Priority ให้คำแนะนำตามบริบทและลำดับความสำคัญที่ได้มาจากทีมบัญชี AWS รวมถึงการตรวจสอบที่สร้างด้วยเครื่องจากบริการของ AWS ซึ่งพร้อมให้บริการสำหรับลูกค้า AWS Enterprise Support
ฉันจะเข้าถึง AWS Trusted Advisor Priority ได้อย่างไร
AWS Trusted Advisor Priority พร้อมให้บริการจากบัญชีการจัดการหรือบัญชีผู้ดูแลระบบที่ได้รับมอบหมายในแผน Enterprise Support หากคุณมีแผน Enterprise Support และเป็นเจ้าของบัญชีการจัดการสำหรับองค์กรของคุณ โปรดติดต่อทีมบัญชี AWS ของคุณเพื่อขอสิทธิ์เข้าถึง คำแนะนำใน Trusted Advisor Priority เป็นการรวบรวมมาจากบัญชีของสมาชิกทั้งหมดในองค์กรของคุณ
คำแนะนำ AWS Trusted Advisor Priority มาจากที่ใด
คำแนะนำของ Trusted Advisor Priority สามารถมาจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งต่อไปนี้
- บริการต่างๆ ของ AWS เช่น คำแนะนำที่สร้างโดยอัตโนมัติจาก AWS Trusted Advisor, AWS Security Hub และ AWS Well-Architected Technical Account Manager (TAM) จะส่งคำแนะนำเหล่านี้ให้ปรากฎในคอนโซล AWS Trusted Advisor Priority
- TAM ของคุณสามารถสร้างคำแนะนำที่เจาะจงสำหรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในบัญชีของคุณ
การสนับสนุนการปฏิบัติการ
ลูกค้าของการสนับสนุนระดับองค์กร On-Ramp และระดับองค์กรมีสิทธิ์ใช้การตรวจสอบการดำเนินการกี่รายการ
ลูกค้าระดับองค์กร On-Ramp ทุกคนมีสิทธิ์ใช้การตรวจสอบการดำเนินการบนระบบคลาวด์หนึ่งรายการต่อปี ลูกค้าของการสนับสนุนระดับองค์กรทั้งหมดจะมีสิทธิ์ใช้การตรวจสอบการดำเนินการบนระบบคลาวด์หนึ่งรายการ การตรวจสอบเพิ่มเติมอาจมีพร้อมให้ใช้งานตามความต้องการของลูกค้า
ฉันจะเริ่มใช้งานการตรวจสอบการดำเนินการบนระบบคลาวด์ได้อย่างไร
ลูกค้าระดับองค์กร On-Ramp สามารถติดต่อกลุ่มผู้จัดการบัญชีด้านเทคนิคเพื่อเริ่มการตรวจสอบการดำเนินการบนระบบคลาวด์ได้ ลูกค้าการสนับสนุนระดับองค์กรสามารถติดต่อผู้จัดการบัญชีด้านเทคนิคเพื่อเริ่มการตรวจสอบการดำเนินการบนระบบคลาวด์ได้
ซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่น
รองรับซอฟต์แวร์ของผู้ให้บริการอื่นใดบ้าง
AWS Support ระดับธุรกิจ, ระดับองค์กร On-Ramp และระดับองค์กร ประกอบด้วยการสนับสนุนแบบจำกัดสำหรับระบบปฏิบัติการทั่วไปและคอมโพเนนต์ของสแตกแอปพลิเคชันทั่วไป วิศวกรของ AWS Support สามารถให้ความช่วยเหลือด้านการตั้งค่า การกำหนดค่า และการแก้ไขปัญหาแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันของบริษัทอื่นดังต่อไปนี้:
ระบบปฏิบัติการบน EC2 instance:
- Ubuntu Linux และ Debian
- Red Hat Enterprise Linux, Fedora และ Fedora CoreOS
- SUSE Linux (SLES และ openSUSE)
- CentOS Linux
- Microsoft Windows Server 2016
- Microsoft Windows Server 2019
- Microsoft Windows Server 2022
ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน:
- Sendmail และ Postfix MTA
- OpenVPN และ RRAS
- SSH, SFTP และ FTP
- LVM และ Software RAID
เว็บเซิร์ฟเวอร์:
- Apache
- IIS
- Nginx
ฐานข้อมูล:
- MySQL
- Microsoft SQL Server
- PostgreSQL
- Oracle
จะเกิดอะไรขึ้นหากแก้ไขปัญหาซอฟต์แวร์ของผู้ให้บริการอื่นไม่ได้
ในกรณีที่เราแก้ไขปัญหาของคุณไม่ได้ เราจะร่วมมือหรือแจ้งปัญหาของคุณกับฝ่ายสนับสนุนของผู้จำหน่ายที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์นั้น ในบางกรณี คุณอาจต้องมีความเกี่ยวพันกับผู้จำหน่ายในด้านการสนับสนุนเพื่อขอการสนับสนุน
เหตุผลใดบ้างที่เป็นเหตุผลทั่วไปที่ทำให้ลูกค้าต้องการการสนับสนุนซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่น
AWS Support ให้ความช่วยเหลือด้านการติดตั้ง การกำหนดค่า และการแก้ไขปัญหาซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่นบนรายการที่รองรับได้ สำหรับหัวข้อขั้นสูงอื่นๆ เช่น การปรับประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาของโค้ดที่สร้างเองหรือสคริปต์ คำถามด้านการรักษาความปลอดภัย ฯลฯ อาจจำเป็นต้องติดต่อผู้ให้บริการซอฟต์แวร์อื่นโดนตรง แม้ AWS Support จะช่วยเหลือทุกวิถีทาง แต่ความช่วยเหลือนอกเหนือจากการติดตั้ง การกำหนดค่า และการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่นที่รองรับจะเป็นการให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้เท่านั้น
การปิดบัญชี AWS
ฉันจะปิดบัญชี AWS ของฉันได้อย่างไร
ก่อนปิดบัญชีของคุณ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้สำรองแอปพลิเคชันและข้อมูลที่ต้องการรักษาไว้แล้ว AWS อาจเรียกข้อมูลของคุณคืนไม่ได้หลังจากปิดบัญชีแล้ว หลังจากสำรองข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้ไปที่หน้า การตั้งค่าบัญชี แล้วเลือก "ปิดบัญชี" การกระทำนี้จะปิดบัญชี AWS ของคุณ และยกเลิกการสมัครใช้บริการของ AWS ทั้งหมด คุณจะเข้าถึงบริการของ AWS หรือเปิดใช้ทรัพยากรใหม่ไม่ได้เมื่อปิดบัญชีแล้ว
หากคุณจัดการบัญชี AWS หลายบัญชีในชื่อบริษัทเดียวกันและต้องการปิดบัญชีดังกล่าว คุณสามารถติดต่อตัวแทนบัญชีของคุณ หรือเปิดกรณีการสนับสนุนด้านบัญชีและการเรียกเก็บเงินเพื่อขอความช่วยเหลือได้ หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการปิดบัญชี AWS ของคุณ ตัวแทนบัญชีหรือฝ่ายบริการลูกค้าของ AWS สามารถช่วยเหลือคุณได้
ฉันได้รับข้อความแสดงข้อผิดพลาดเมื่อพยายามปิดบัญชี AWS ของตัวเอง ฉันต้องดำเนินการใดบ้าง
หากคุณได้รับข้อความแสดงข้อผิดพลาดเมื่อพยายามปิดบัญชี AWS ของตัวเอง คุณสามารถติดต่อตัวแทนบัญชีของคุณ หรือเปิดกรณีการสนับสนุนด้านบัญชีและการเรียกเก็บเงินเพื่อขอความช่วยเหลือได้
ฉันจะถูกเรียกเก็บเงินหรือไม่หลังจากที่ปิดบัญชีแล้ว
การใช้งานและการเรียกเก็บเงินจะไม่เพิ่มขึ้นเมื่อปิดบัญชีแล้ว คุณจะถูกเรียกเก็บเงินสำหรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นมาจนถึงเวลาที่ปิดบัญชี และจะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายรายการสุดท้ายในต้นเดือนของเดือนถัดไป
การสนับสนุนแบบข้ามบัญชี
การสนับสนุนแบบข้ามบัญชีคืออะไร
การสนับสนุนแบบข้ามบัญชี คือ เมื่อลูกค้าเปิดกรณีของ Premium Support จากบัญชีหนึ่ง (เช่น บัญชี 12345678910) และขอความช่วยเหลือด้านทรัพยากรที่บัญชีอื่นเป็นเจ้าของ (เช่น อินสแตนซ์ในบัญชี 98765432109)
เหตุใดการสนับสนุนแบบข้ามบัญชีจึงไม่ทำงาน
วิศวกรฝ่ายสนับสนุนไม่สามารถระบุการเข้าถึงที่มีผู้ได้รับสิทธิ์ (ซึ่งดำเนินการเป็นผู้ใช้หรือมีบทบาทในบัญชีหนึ่ง) เข้าถึงทรัพยากรที่บัญชีอื่นเป็นเจ้าของ เนื่องจากเหตุผลด้านการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว เราจึงพูดคุยถึงรายละเอียดเฉพาะต่างๆ ได้กับเจ้าของบัญชีของทรัพยากรดังกล่าวเท่านั้น
หากฉันมีการเข้าถึงสำหรับทุกบัญชีที่เกี่ยวข้อง ฉันจะบันทึกคำขอการสนับสนุนสำหรับทรัพยากรที่แชร์ได้อย่างไร
โปรดเปิดกรณีสนับสนุนจากบัญชีที่เป็นเจ้าของทรัพยากร หากมีข้อกำหนดในการเข้าถึงทรัพยากรจากบัญชีที่สอง โปรดเปิดกรณีการสนับสนุนใหม่จากบัญชีที่สองด้วย จากนั้นขอให้วิศวกรฝ่ายสนับสนุนเชื่อมกรณีสนับสนุนนี้เข้าด้วยกัน โดยอ้างอิงจาก ID ของกรณีทั้งสองรายการ
การเป็นสมาชิก AWS Organizations (หรือ Consolidated Billing) จะทำให้ฉันบันทึกคำขอการสนับสนุนแบบข้ามบัญชีได้หรือไม่
ไม่ได้ สามารถแยกบัญชีในองค์กรเพื่อแยกทรัพยากรและการอนุญาตออกจากรายการอื่นๆ ได้ หากคุณไม่ถูกจำกัดไว้เฉพาะบัญชีใดบัญชีหนึ่ง โปรดดูคำถามที่พบบ่อยก่อนหน้านี้
คำถามของลูกค้าแผนกให้บริการข้อมูลของ AWS ที่พบบ่อย
ฉันจะควบคุมการเข้าถึงบริการของ AWS และทรัพยากรอย่างปลอดภัยได้อย่างไร
เราขอแนะนำให้คุณใช้ AWS Identity and Access Management (IAM) ซึ่งช่วยให้ลูกค้าควบคุมการเข้าถึงบริการและทรัพยากรของ AWS ของผู้ใช้ได้อย่างปลอดภัย คุณสามารถสร้างและจัดการผู้ใช้และกลุ่ม AWS ได้โดยใช้ IAM และใช้สิทธิ์เพื่ออนุมัติหรือปฏิเสธการเข้าถึงทรัพยากร AWS ได้ IAM ทำให้สามารถใช้หลักปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรักษาความปลอดภัยโดยอนุญาตให้คุณมอบข้อมูลความปลอดภัยเฉพาะตัวให้กับผู้ใช้และกลุ่ม เพื่อกำหนดว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงทรัพยากร และ API ของบริการของ AWS ใดได้บ้าง
การเข้าถึง IAM สามารถยกเลิกได้หากผู้ใช้ออกจากบริษัทหรือโปรเจกต์ ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลประจำตัวหลักจะไม่ถูกเปิดเผยหรือถูกคุกคาม สำหรับการทำงานของการรักษาความปลอดภัยและทีม ผู้ใช้ IAM จำเป็นสำหรับการใช้งานบัญชี AWS ของคุณอย่างเต็มประสิทธิภาพ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IAM และการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลการเรียกเก็บเงินของคุณ โปรดดู AWS Identity and Access Management (IAM) และการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลการเรียกเก็บเงินของคุณ
Consolidated Billing คืออะไร
Consolidated Billing เป็นคุณสมบัติที่ให้คุณรวมการชำระเงินสำหรับบัญชี AWS หลายรายการในองค์กรของคุณได้โดยระบุบัญชีใดบัญชีหนึ่งให้เป็นบัญชีผู้ชำระเงิน
เมื่อใช้ Consolidated Billing คุณจะเห็นมุมมองแบบรวมของค่าใช้จ่ายจากทุกบัญชี และได้รับรายงานค่าใช้จ่ายแบบละเอียดของบัญชี AWS แต่ละบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีผู้ชำระเงินของคุณ Consolidated Billing ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และทำให้ทุกบัญชีในกลุ่มรวมนับเป็นหนึ่งบัญชี ซึ่งช่วยให้ลดปริมาณได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
โปรดดู การชำระเงินหลายบัญชีด้วย Consolidated Billing ในคู่มือผู้ใช้การจัดการการเรียกเก็บเงินและค่าใช้จ่ายของ AWS
ฉันจะใช้ใบเรียกเก็บเงิน AWS ของฉันเพื่อประเมินค่าใช้จ่ายได้อย่างไร
AWS มีวิธีต่างๆ มากมายในการสำรวจค่าใช้จ่าย AWS รายเดือนของคุณและแจกแจงค่าใช้จ่ายตามบัญชี, ID ทรัพยากร หรือแท็กระบุลูกค้า
หากต้องการรับสแน็ปช็อตข้อมูลการเรียกเก็บของคุณ สามารถใช้คอนโซลการจัดการการเรียกเก็บเงินและค่าใช้จ่าย รายงานแจกแจงค่าใช้จ่ายรายเดือน และรายงานการเรียกเก็บรายเดือนได้
สำหรับมุมมองแบบละเอียดอื่นๆ สามารถใช้ทรัพยากรเหล่านี้ได้
- รายงานการเรียกเก็บแบบละเอียดพร้อมทรัพยากรและแท็ก รายงานนี้จะแสดงรายละเอียดการใช้ AWS เป็นรายชั่วโมงและดูแท็กทรัพยากรบางเฉพาะรายการได้ตามต้องการ แท็กสามารถกำหนดเองได้อย่างเต็มรูปแบบในทรัพยากร AWS ส่วนใหญ่ และเพิ่มหรือนำแท็กออกได้ตามต้องการ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ การทำความเข้าใจการใช้งานของคุณด้วยรายงานการเรียกเก็บเงินแบบละเอียด
- Cost Explorer Cost Explorer ใน AWS Billing console อาศัยข้อมูลจากรายงานการเรียกเก็บแบบละเอียดและมีอินเทอร์เฟซผู้ใช้เป็นกราฟฟิกแบบโต้ตอบเพื่อดูและวิเคราะห์การใช้จ่ายของคุณ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ จัดการข้อมูลการใช้จ่ายด้วย Cost Explorer
อัตรารวมคืออะไร
สำหรับการเรียกเก็บเงิน AWS จะนับรวมบัญชีทั้งหมดในกลุ่ม Consolidated Billing เสมือนเป็นบัญชีเดียว อัตรารวมจะปรากฏบนใบเรียกเก็บเงินของคุณเป็นราคาเฉลี่ยในการใช้งานซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ในกลุ่มบัญชีหนึ่ง ทำให้คุณรับประโยชน์จากคุณสมบัติสองประการซึ่งออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะชำระเงินในราคาถูกที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการของ AWS
- ลำดับขั้นราคา: ลำดับขั้นราคาจะตอบแทนการใช้งานที่สูงกว่าด้วยราคาบริการต่อหน่วยที่ถูกลง
- การสำรองปริมาณการประมวลผล: ราคาจะลดลงเมื่อคุณซื้อบริการบางรายการล่วงหน้าตามเวลาที่กำหนดไว้
คุณสามารถดูการใช้งานบัญชีโดยละเอียดพร้อมอัตราที่ไม่รวมได้ในรายงานการเรียกเก็บแบบละเอียด
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ การทำความเข้าใจเรื่องอัตรารวม ในคู่มือผู้ใช้การจัดการการเรียกเก็บเงินและค่าใช้จ่ายของ AWS
เหตุใดฉันจึงเห็นตัวเลขใน Console ของ Billing and Cost Management ไม่เหมือนกับในรายงานการเรียกเก็บเงินแบบละเอียด
Console ของ Billing and Cost Management และรายงานการเรียกเก็บแบบละเอียดมีข้อมูลแตกต่างกันตามอัตราที่รวมและไม่รวม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ ทำความเข้าใจเรื่องอัตรารวม หรือติดต่อเราผ่าน AWS Support Center
ฉันจะระบุได้อย่างไรว่าบัญชีใดที่ได้รับประโยชน์จากราคาอินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย
รายงานการเรียกเก็บแบบละเอียดจะแสดงบัญชีที่มีการเชื่อมโยงไว้ซึ่งได้รับประโยชน์จากอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายในใบเรียกเก็บรวมของคุณ ค่าใช้จ่ายอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายสามารถแยกจากกันได้เพื่อแสดงว่ามีการแบ่งส่วนลดอย่างไร รายงานการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายยังแสดงการประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งหมด (รวมทั้งค่าใช้จ่ายล่วงหน้าของอินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย) ในใบเรียกเก็บรวมด้วย
ฉันจะใช้ Console ของ AWS Billing and Cost Management ได้อย่างไร
Console ของ AWS Billing and Cost Management เป็นบริการที่ให้คุณใช้เพื่อชำระใบเรียกเก็บเงิน ตรวจสอบค่าใช้จ่าย และแสดงภาพการใช้จ่ายใน AWS ของคุณ มีวิธีมากมายในการใช้เครื่องมือนี้สำหรับบัญชีของคุณ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ การจัดการการเรียกเก็บเงินและค่าใช้จ่ายของ AWS คืออะไร
ฉันจะใช้ Cost Explorer ได้อย่างไร
คุณสามารถใช้ Cost Explorer เพื่อแสดงรูปแบบในการใช้ทรัพยากร AWS ของคุณในช่วงเวลาหนึ่งได้ คุณสามารถระบุขอบเขตที่ต้องการสืบค้นเพิ่มเติม และดูแนวโน้มเพื่อให้เข้าใจการใช้จ่ายและคาดการณ์ค่าใช้จ่ายในอนาคตได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ จัดการข้อมูลการใช้จ่ายด้วย Cost Explorer
ฉันจะใช้รายงานการใช้ Amazon EC2 instance ได้อย่างไร
คุณสามารถใช้รายงานการใช้อินสแตนซ์เพื่อดูการใช้อินสแตนซ์และแนวโน้มค่าใช้จ่ายได้ สามารถดูข้อมูลการใช้ด้านชั่วโมงอินสแตนซ์หรือค่าใช้จ่ายก็ได้ สามารถเลือกดูข้อมูลการใช้รวมแบบรายชั่วโมง รายวัน และรายเดือน สามารถกรองและจับกลุ่มรายงานตามเขต, Availability Zone, ประเภทอินสแตนซ์, บัญชี AWS, แพลตฟอร์ม, การเช่า, ตัวเลือกการซื้อ หรือแท็ก เมื่อกำหนดค่ารายงานแล้ว คุณสามารถบุ๊กมาร์กไว้เพื่อให้กลับมาดูได้อย่างง่ายดายด้วย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ รายงานการใช้อินสแตนซ์
ฉันจะใช้รายงานการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายได้อย่างไร
รายงานการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายจะแสดงถึงการใช้งานอินสแตนซ์ Amazon EC2 แบบเหมาจ่ายที่คุณเป็นเจ้าของแต่ละกลุ่ม (หรือบัคเก็ต) ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ละบัคเก็ตมีการผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ของเขต, Availability Zone, ประเภทอินสแตนซ์, การเช่า, ประเภทข้อเสนอ และแพลตฟอร์ม คุณสามารถระบุช่วงเวลาที่ต้องการให้แสดงในรายงาน ตั้งแต่เพียงวันเดียวไปจนถึงสัปดาห์ เดือน ปี หรือสามปี
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่รายงานการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย
ฉันจะทราบได้อย่างไรว่ามีการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายหรือไม่
มีเครื่องมือสามประเภทที่แสดงการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย ได้แก่
- รายงานการเรียกเก็บแบบละเอียด รายงานนี้จะแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมดในบัญชีหรือใบเรียกเก็บรวมเป็นรายชั่วโมง บริเวณด้านล่างของรายงานเป็นรายการที่อธิบายการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายในรูปแบบรวม (ซื้อ xxx ชั่วโมง ใช้แล้ว xxx ชั่วโมง) หากต้องการกำหนดค่าบัญชีของคุณสำหรับรายงานนี้ โปรดดูที่ การตั้งค่ารายงานการใช้งาน
- รายงานการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย รายงานนี้เข้าถึงได้จาก Console ของ Billing and Cost Management และแสดงภาพรวมการใช้งานในระดับสูง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่รายงานการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย
- คอนโซลการจัดการการเรียกเก็บเงินและค่าใช้จ่าย ช่อง "ใบเรียกเก็บ" ใน Console จะแสดงถึงการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายในระดับสูงสุด มุมมองนี้เป็นมุมมองการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายที่ละเอียดน้อยที่สุด
ฉันจะเห็นวิธีที่อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายถูกใช้กับการเรียกเก็บเงินแบบรวมทั้งหมดของฉันได้อย่างไร
รายงานแบบละเอียดนี้จะแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมดในบัญชีหรือใบเรียกเก็บรวมเป็นรายชั่วโมง บรเวณด้านล่างของรายงานเป็นรายการที่อธิบายการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายในรูปแบบรวม (ซื้อ xxx ชั่วโมง ใช้แล้ว xxx ชั่วโมง) หากต้องการกำหนดค่าบัญชีของคุณสำหรับรายงานนี้ โปรดดูที่ การตั้งค่ารายงานการใช้งาน
ฉันจะทราบได้อย่างไรว่าอินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายถูกใช้งานเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ และเพราะเหตุใด
นอกจากเครื่องมือทั้งสามประเภทที่แสดงไว้ใน ฉันจะทราบได้อย่างไรว่ามีการใช้อินสแตนซ์แบบเหมาจ่ายหรือไม่ AWS Trusted Advisor ยังมีแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุด (หรือการตรวจสอบ) ซึ่งแบ่งเป็นสี่ประเภทด้วยกัน ได้แก่ การปรับต้นทุนให้เหมาะสม การรักษาความปลอดภัย ความทนทานต่อความผิดพลาด และประสิทธิภาพ ในส่วนของการปรับต้นทุนให้เหมาะสม ประกอบด้วยการตรวจสอบการปรับอินสแตนซ์ Amazon EC2 แบบเหมาจ่าย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบ Trusted Advisor โปรดดูที่ คำถามเกี่ยวกับการตรวจสอบการปรับอินสแตนซ์แบบเหมาจ่าย
บัญชีใดที่มีการคิดภาษีขาย และเพราะเหตุใด
โดยปกติ ภาษีจะคำนวณในระดับบัญชีที่เชื่อมโยง แต่ละบัญชีต้องเพิ่มการยกเว้นภาษีของตนเอง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีการขายของสหรัฐอเมริกาและภาษีมูลค่าเพิ่ม โปรดดูที่หน้าเหล่านี้
ฉันจะส่งคำขอการเพิ่มขีดจำกัดแบบเร่งด่วนได้อย่างไร
ส่งคำขอการเพิ่มขีดจำกัดแบบเร่งด่วนได้ใน AWS Support Center เลือก "สร้างกรณี" แล้วเลือก "เพิ่มขีดจำกัดบริการ" และเลือกตัวเลือกจากรายการ "ประเภทขีดจำกัด"
เรามุ่งมั่นให้มีรอบเวลาที่รวดเร็วในการเพิ่มขีดจำกัด หากคำขอของคุณเร่งด่วน โปรดป้อนรายละเอียดคำขอให้สมบูรณ์และเลือกวิธีการติดต่อเป็น "โทรศัพท์" เพื่อรับบริการแบบ 24 ชั่วโมงทุกวัน แจ้ง ID กรณีการสนับสนุนกับเจ้าหน้าที่ และเราจะให้ทีมที่เกี่ยวข้องติดตามคำขอทันที
เราจะเรียกเก็บเงินลูกค้าของเราโดยอิงจากรายงานการเรียกเก็บเงินได้อย่างไร
AWS ไม่สนับสนุนการเรียกเก็บเงินลูกค้าของตัวแทนจำหน่าย เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายแต่ละรายใช้ราคาและโครงสร้างการเรียกเก็บเงินที่แตกต่างกัน เราขอแนะนำให้ตัวแทนจำหน่ายไม่ใช้อัตรารวมในการเรียกเก็บเงิน เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวเป็นจำนวนเฉลี่ยและไม่ได้มีจุดประสงค์ไว้ใช้เพื่อแสดงอัตราราคาเรียกเก็บตามจริง รายงานการเรียกเก็บแบบละเอียดสามารถแสดงค่าใช้จ่ายแบบไม่รวมของแต่ละบัญชีบนใบเรียกเก็บรวมได้ ซึ่งมีประโยชน์กว่าในการเรียกเก็บเงินกับลูกค้า
ราคาตามรีเจี้ยน
ราคาตามรีเจี้ยนคืออะไร
ราคาตามรีเจี้ยนคือรูปแบบราคาที่ปรับเปลี่ยนสำหรับประเทศใดประเทศหนึ่ง AWS สงวนสิทธิ์ในการกำหนดประเทศที่มีคุณสมบัติตรงตามราคาตามรีเจี้ยน ประเทศที่มีคุณสมบัติตรงตามราคาตามรีเจี้ยนในปัจจุบัน ได้แก่ อินเดีย, จีนแผ่นดินใหญ่ และประเทศใน LATAM [กวาเดอลูป, หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา, โคลอมเบีย, ฮอนดูรัส, สาธารณรัฐโดมินิกัน, แองกวิลลา, อารูบา, กายอานา, เปรู, บาร์เบโดส, เปอร์โตริโก, ตรินิแดดและโตเบโก, เบลีซ, มาร์ตินีก, โดมินิกา, เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์, เบอร์มิวดา, หมู่เกาะเคย์แมน, จาเมกา, หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส, คอสตาริกา, คูราเซา, ชิลี, เซนต์คิตส์และเนวิส, หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน, เอกวาดอร์, นิการากัว, อุรุกวัย, เวเนซุเอลา (สาธารณรัฐโบลิเวีย), เกรนาดา, มอนต์เซอร์รัต, โบลิเวีย, บาฮามาส, เนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส, ปารากวัย, ปานามา, เม็กซิโก, เฮติ, อเมริกันซามัว, กัวเตมาลา, เอลซัลวาดอร์, แอนติกาและบาร์บูดา, บราซิล, ซูรินาเม, เซนต์ลูเซีย, อาร์เจนตินา, เฟรนช์เกียนา, โบแนร์]
AWS กำหนดตำแหน่งของบัญชีอย่างไร
ตำแหน่งของบัญชีถูกกำหนดโดยการตั้งค่าภาษีของลูกค้าตามที่อธิบายไว้ที่นี่
การเรียกเก็บเงินสำหรับราคาตามรีเจี้ยนมีการคำนวณอย่างไร
การเรียกเก็บเงินสำหรับราคาตามรีเจี้ยนจะได้รับการคำนวณในลักษณะเดียวกับวิธีการเรียกเก็บเงิน ES ตามที่อธิบายไว้ที่นี่
อะไรเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติในการใช้ราคาตามรีเจี้ยน
ลูกค้าจะมีสิทธิ์ได้รับราคาตามรีเจี้ยน ถ้าบัญชีทั้งหมดของลูกค้าที่สมัครใช้งาน Enterprise Support นั้นอยู่ในประเทศที่ตรงตามเงื่อนไข และลูกค้ายังคงมีสิทธิ์ใช้ราคาตามรีเจี้ยนได้แม้ว่าลูกค้าจะมีหลายบัญชีในประเทศต่างๆ ตราบใดที่ทุกประเทศอยู่ในรายชื่อประเทศที่ระบุไว้ข้างต้น การพิจารณาคุณสมบัติสำหรับราคาตามรีเจี้ยนมีหลักเกณฑ์ 4 ประการ ดังนี้
- ลูกค้าจะต้องใช้ราคาสาธารณะสำหรับ Enterprise Support
- บัญชีที่เข้าเกณฑ์ต้องอยู่ในโพรไฟล์การเรียกเก็บเงินเดียวกัน
- บัญชีที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมดจะต้องอยู่ในประเทศในรีเจี้ยนที่ระบุเป็นเวลาอย่างน้อย 25 วันภายในเดือนปฏิทิน
- บัญชีลูกค้าที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมดจะต้องอยู่ในประเทศในรีเจี้ยนที่ระบุในวันสุดท้ายของเดือน
ฉันต้องทำอย่างไรจึงจะมีสิทธิ์ใช้ราคาตามรีเจี้ยน
ลูกค้าไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ เพื่อให้มีสิทธิ์ใช้ราคาตามรีเจี้ยน การเรียกเก็บเงินของ AWS Premium Support จะประเมินตำแหน่งของบัญชีของลูกค้าเพื่อกำหนดการมีสิทธิ์ใช้ราคาตามรีเจี้ยนโดยอัตโนมัติ
จะเกิดอะไรขึ้นหากฉันย้ายบัญชีของฉันไปนอกรีเจี้ยนที่เข้าเกณฑ์
สิทธิ์การใช้งานราคาตามรีเจี้ยนจะได้รับการประเมินทุกเดือน หากลูกค้าที่เคยใช้ราคาตามรีเจี้ยนย้ายบัญชีของตนไปยังประเทศอื่นนอกประเทศที่เข้าเกณฑ์ ลูกค้าจะไม่มีสิทธิ์ใช้ราคาตามรีเจี้ยนในเดือนนั้นๆ อย่างไรก็ตาม หากลูกค้าย้ายบัญชีกลับไปยังประเทศที่เข้าเกณฑ์ ลูกค้าจะมีสิทธิ์ใช้ราคาตามรีเจี้ยนในเดือนถัดไปหากตรงตามเกณฑ์การประเมินข้างต้น
มีเงื่อนไขใดที่ทำให้ลูกค้าไม่ได้รับประโยชน์จากราคาตามรีเจี้ยนหรือไม่
ลูกค้าจะไม่ได้รับประโยชน์จากการราคาตามรีเจี้ยนเป็นระยะเวลา 12 เดือน หากพบว่าลูกค้ามีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์สำหรับราคาตามรีเจี้ยนก่อนหน้านี้ แต่ละเมิดเกณฑ์คุณสมบัติอย่างน้อยสามครั้งในช่วง 12 เดือนก่อนหน้า
สิ้นสุดการสนับสนุน (EOS) สำหรับผลิตภัณฑ์ Microsoft
การสิ้นสุดการสนับสนุน (EOS) ของ Microsoft คืออะไร
นโยบายรอบการใช้งานของ Microsoft มอบการสนับสนุนเป็นเวลา 10 ปี (5 ปีสำหรับการสนับสนุนหลัก และ 5 ปีสำหรับการสนับสนุนแบบขยาย) ให้กับผลิตภัณฑ์ของธุรกิจและของนักพัฒนา (เช่น SQL Server และ Windows Server) ดังที่นโยบายระบุไว้ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการสนับสนุนแบบขยายแล้วจะไม่มีแพทช์หรือการอัปเดตด้านการรักษาความปลอดภัยอีก
EOS ส่งผลต่ออินสแตนซ์บน Amazon Web Services (AWS) ของฉันในปัจจุบันอย่างไร
ไม่มีผลกระทบโดยตรงใดๆ ต่ออินสแตนซ์ในปัจจุบัน ลูกค้าสามารถเริ่มต้น เรียกใช้ และหยุดอินสแตนซ์ได้ต่อไป
Microsoft จะไม่ให้บริการแพทช์สำหรับผลิตภัณฑ์สถานะ EOS จนกว่าลูกค้าจะซื้อการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยาย
ฉันเปิดใช้อินสแตนซ์ใหม่ที่มีซอฟต์แวร์สถานะ EOS จาก Amazon Machine Image (AMI) ที่กำหนดเองได้หรือไม่
ใช่
ฉันนำภาพที่มีซอฟต์แวร์สถานะ EOS เข้ามาใน AWS โดยใช้เครื่องมือ AWS ได้หรือไม่
ได้ ลูกค้าสามารถนำเข้าอิมเมจต่างๆ มาใน AWS โดยใช้ VM Import/Export (VMIE), Server Migration Service (SMS) หรือ CloudEndure ได้
EOS ส่งผลต่อ AWS Windows AMI ที่มีการจัดการอย่างไร
ไม่มีผลกระทบโดยตรงใดๆ ต่อ AMI ที่ลงทะเบียนในบัญชีลูกค้าในปัจจุบัน
AWS จะไม่เผยแพร่หรือจัดจำหน่าย AWS Windows AMI ที่มีการจัดการซึ่งมีซอฟต์แวร์สถานะ EOS ไปยัง AWS Management Console, Quick Start หรือ AWS Marketplace
ลูกค้าที่ต้องพึ่งพา AWS Windows AMI ที่มีการจัดการ ซึ่งได้รับผลกระทบจาก EOS ควรพิจารณาทางเลือกของตน รวมทั้งสร้าง AMI แบบกำหนดเองไว้ในบัญชี AWS เพื่อให้เปิดใช้อินสแตนซ์ใหม่ได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้าง AMI แบบกำหนดเอง ที่นี่
ฉันสามารถสร้าง AMI แบบกำหนดเองเพิ่มเติมจาก AMI แบบกำหนดเองในบัญชีที่มีซอฟต์แวร์สถานะ EOS ได้หรือไม่
ใช่
ตัวเลือกในการเรียกใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft ที่กำลังจะเข้าสู่สถานะ EOS มีอะไรบ้าง
ลูกค้า AWS ที่เรียกใช้ซอฟต์แวร์สถานะ EOS บน EC2 instance มีตัวเลือกต่างๆ ดังนี้
ยังคงใช้ซอฟต์แวร์สถานะ EOS ต่อไป: ลูกค้าสามารถเลือกใช้ซอฟต์แวร์สถานะ EOS ต่อไปได้ โดยจะไม่มีผลกระทบต่ออินสแตนซ์ในปัจจุบัน หรือต่อ AMI ที่กำหนดเอง
อัปเกรดอัตโนมัติ: สำหรับลูกค้าที่มี SQL Server 2008 R2 และ Windows Server 2008 R2 นั้น AWS Systems Manager จะทำให้การอัปเกรดแทนที่แบบไม่ทำลายเป็นระบบอัตโนมัติ ลูกค้า SQL Server 2008 R2 สามารถอัปเกรดเป็น SQL Server 2012 R2 และอัปเกรดอีกครั้งเป็น SQL Server 2016 (BYOL เท่านั้น) ได้ ลูกค้า Windows Server 2008 R2 สามารถอัปเกรดเป็น Windows Server 2012 R2 ได้ สำหรับลูกค้าที่มี Windows Server หรือ SQL Server เวอร์ชันแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้ว (LI) จะไม่มีค่าใช้จ่ายสิทธิ์การใช้งานเพิ่มเติมในการอัปเกรด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดคลิกที่นี่
อัปเกรดแทนที่ให้กับ Microsoft Windows Server ด้วยตนเอง:
รวมสิทธิ์การใช้งานแล้ว: ลูกค้าที่ใช้ Amazon License Included for Windows Server สามารถอัปเกรดแทนที่ให้กับอินสแตนซ์ Windows ของตนได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่
BYOL: ลูกค้าที่ใช้รุ่น BYOL สามารถอัปเกรดแทนที่ให้กับ Windows Server ด้วยตนเองได้ตามขั้นตอนในตัวเลือกแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วด้านบนโดยใช้สื่อของตน
อัปเกรดแทนที่ให้กับ Microsoft SQL Server ด้วยตนเอง:
รวมสิทธิ์การใช้งานแล้ว: ลูกค้า AWS ที่ใช้ SQL Server แบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วสามารถอัปเกรดแทนที่บนอินสแตนซ์ที่เรียกใช้อยู่ได้ โปรดติดต่อ AWS Support เพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมและรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางการอัปเกรด
BYOL: ลูกค้าที่ใช้รุ่น BYOL สามารถอัปเกรดแทนที่ให้กับ SQL Server ด้วยตัวเองได้โดยใช้สื่อของตน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่
สำรวจตัวเลือกแพลตฟอร์มอื่น AWS มีพันธกิจในการส่งมอบความยืดหยุ่นสูงสุดในระบบคลาวด์ให้กับลูกค้า ลูกค้า AWS ที่สนใจในประโยชน์ของการย้ายปริมาณงานของ SQL Server หรือ Windows บางรายการไปยังแพลตฟอร์มอื่นสามารถติดต่อทีมบัญชี AWS ของตนเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของ Amazon ทั้งหมด คลิกที่นี่
ฉันจะซื้อการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายเพื่อให้ครอบคลุมอินสแตนซ์ที่เรียกใช้บน AWS ซึ่งใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์สถานะ EOS ของ Microsoft ได้หรือไม่
ได้ มีการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายจำหน่ายโดยตรงจาก Microsoft หรือคู่ค้าที่มีสิทธิ์การใช้งานของ Microsoft อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายของ Microsoft ได้ที่นี่
ลูกค้าควรพิจารณาตัวเลือกสำหรับ EOS ทั้งหมดของตน โปรดดู “ตัวเลือกในการเรียกใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft ที่กำลังจะเข้าสู่สถานะ EOS มีอะไรบ้าง” สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
Windows Server 2003
มีการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายสำหรับบริการแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วของ Amazon หรือไม่ ไม่ได้
มีการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายสำหรับ Bring Your Own License (BYOL) หรือไม่ ไม่ได้
Windows Server 2008/2008 R2
มีการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายสำหรับบริการแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วของ Amazon หรือไม่ ใช่
มีการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายสำหรับ Bring Your Own License (BYOL) หรือไม่ มี จำเป็นต้องใช้ Software Assurance (SA)
SQL Server 2005
มีการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายสำหรับบริการแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วของ Amazon หรือไม่ ไม่ได้
มีการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายสำหรับ Bring Your Own License (BYOL) หรือไม่ ไม่ได้
SQL Server 2008/2008 R2
มีการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายสำหรับบริการแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วของ Amazon หรือไม่ ไม่ได้
มีการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายสำหรับ Bring Your Own License (BYOL) หรือไม่ มี จำเป็นต้องใช้ Software Assurance (SA)
ผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ที่ Amazon จำหน่ายรายการใดที่กำลังจะเข้าสู่สถานะ EOS และเมื่อใดที่ Microsoft จะหยุดการสนับสนุน
หมายเหตุ: ข้อมูลจะแสดงวันที่สถานะ EOS ของ Microsoft ที่มีตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2019 เป็นสาธารณะ
Microsoft Windows Server:
- Windows Server 2003 - 14 กรกฎาคม 2015 (เข้าสู่สถานะ EOS แล้ว)
- Windows Server 2008 - 14 มกราคม 2020
- Windows Server 2008 R2 – 14 มกราคม 2020
Microsoft SQL Server:
- SQL Server 2005 – 12 เมษายน 2016 (เข้าสู่สถานะ EOS แล้ว)
- SQL Server 2008 – 9 กรกฎาคม 2019
- SQL Server 2008 R2 – 9 กรกฎาคม 2019
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรอบการใช้งานแอปพลิเคชันของ Microsoft ได้ที่นี่
ผลิตภัณฑ์และบริการของ Amazon ใดที่ได้รับผลกระทบจาก EOS และเมื่อใดจึงจะมีการเปลี่ยนแปลง
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2019 Microsoft กำหนดให้ AWS ไม่เผยแพร่และไม่จัดจำหน่าย AWS Windows AMI แบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วและมีการจัดการ (มีอยู่ใน AWS Management Console และ Quick Start) สื่อ และบริการซึ่งใช้หรือมีผลิตภัณฑ์ของ Microsoft สถานะ EOS ผลิตภัณฑ์ที่สิ้นสุดการสนับสนุนแแล้วในปีก่อนหน้าอยู่ภายใต้ข้อจำกัดนี้เช่นเดียวกัน ผลิตภัณฑ์และบริการต่อไปนี้จะได้รับผลกระทบ
AWS Windows AMI ที่มีการจัดการ:
AWS จะไม่เผยแพร่และจัดจำหน่าย AWS Windows AMI ที่มีการจัดการซึ่งมีซอฟต์แวร์สถานะ EOS ไปยัง AWS Management Console, Quick Start หรือ AWS Marketplace อีกต่อไป
Microsoft Windows Server:
- Windows Server 2003 - 1 กรกฎาคม 2019
- Windows Server 2008 - 14 มกราคม 2020
- Windows Server 2008 R2 - 14 มกราคม 2020
Microsoft SQL Server:
- SQL Server 2005 – 1 กรกฎาคม 2019
- SQL Server 2008 - 9 กรกฎาคม 2019
- SQL Server 2008 R2 - 9 กรกฎาคม 2019
Amazon Relational Database Service (RDS):
RDS จะอัปเกรดฐานข้อมูลลูกค้าซึ่งยังเป็น SQL Server 2008 ให้เป็น SQL Server 2012 โดยอัตโนมัติ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2019 เราขอแนะนำให้ลูกค้าทดสอบการอัปเกรดนี้ก่อนวันที่ดังกล่าวเพื่อให้แน่ใจว่าใช้งานร่วมกันได้
ลูกค้า RDS สามารถอัปเกรดเวอร์ชันของฐานข้อมูลเมื่อใดก็ได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการอัปเกรดฐานข้อมูล SQL Server 2008 R2 ใน RDS ที่นี่
Amazon WorkSpaces:
WorkSpaces จะหยุดส่งมอบชุดรวมสาธารณะแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วของประสบการณ์ใช้งาน Windows 7 ซึ่งให้บริการโดย Windows Server 2008 R2 หลังจากวันที่ 14 มกราคม 2020
WorkSpaces ซึ่งเปิดใช้จากชุดรวมสาธารณะแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วด้วยประสบการณ์ใช้งานเดสก์ท็อป Windows 7 จะเปิดใช้งานไม่ได้หรือสร้างใหม่ไม่ได้หลังจากวันที่ 14 มกราคม 2020
ไม่มีผลกระทบกับ WorkSpaces ที่สร้างจากชุดรวม BYOL ลูกค้ายังคงเปิดใช้/สร้างอินสแตนซ์เหล่านั้นใหม่ได้
ลูกค้าที่สร้างชุดรวมแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วซึ่งให้บริการโดย Windows Server 2008 R2 จะใช้ชุดรวมที่กำหนดเองเพื่อเปิดใช้หรือสร้าง WorkSpaces ใหม่ได้หลังจากเข้าสู่ EOS
Microsoft จะไม่ให้บริการแพทช์สำหรับผลิตภัณฑ์สถานะ EOS จนกว่าลูกค้าจะซื้อการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยาย
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนโยบายการเผยแพร่ซอฟต์แวร์สถานะ EOS ของ Microsoft บังคับใช้เฉพาะกับ AWS หรือไม่
Microsoft ได้แจ้งว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลบังคับใช้กับผู้ให้บริการระบบคลาวด์ระดับไฮเปอร์สเกลทั้งหมด
ตัวเลือกในการเรียกใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft ที่กำลังจะเข้าสู่สถานะ EOS มีอะไรบ้าง
ลูกค้า AWS ที่เรียกใช้ซอฟต์แวร์สถานะ EOS บน EC2 instance มีตัวเลือกต่างๆ ดังนี้
ยังคงใช้ซอฟต์แวร์สถานะ EOS ต่อไป: ลูกค้าสามารถเลือกใช้ซอฟต์แวร์สถานะ EOS ต่อไปได้ โดยจะไม่มีผลกระทบต่ออินสแตนซ์ในปัจจุบัน หรือต่อ AMI ที่กำหนดเอง ลูกค้าที่สนใจซื้อการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายจาก Microsoft ควรดูคำตอบของคำถามที่ว่า “ฉันจะซื้อการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยายจาก Microsoft เพื่อให้ครอบคลุมอินสแตนซ์สถานะ EOS ที่เรียกใช้บน AWS ได้หรือไม่”
อัปเกรดอัตโนมัติ: สำหรับลูกค้าที่มี SQL Server 2008 R2 และ Windows Server 2008 R2 นั้น AWS Systems Manager จะทำให้การอัปเกรดแทนที่แบบไม่ทำลายเป็นระบบอัตโนมัติ ลูกค้า SQL Server 2008 R2 สามารถอัปเกรดเป็น SQL Server 2012 R2 และอัปเกรดอีกครั้งเป็น SQL Server 2016 (BYOL เท่านั้น) ได้ ลูกค้า Windows Server 2008 R2 สามารถอัปเกรดเป็น Windows Server 2012 R2 ได้ สำหรับลูกค้าที่มี Windows Server หรือ SQL Server เวอร์ชันแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้ว (LI) จะไม่มีค่าใช้จ่ายสิทธิ์การใช้งานเพิ่มเติมในการอัปเกรด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดคลิกที่นี่
อัปเกรดแทนที่ให้กับ Microsoft Windows Server ด้วยตนเอง:
รวมสิทธิ์การใช้งานแล้ว: ลูกค้าที่ใช้ Amazon License Included for Windows Server สามารถอัปเกรดแทนที่ให้กับอินสแตนซ์ Windows ของตนได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่
BYOL: ลูกค้าที่ใช้รุ่น BYOL สามารถอัปเกรดแทนที่ให้กับ Windows Server ด้วยตนเองได้ตามขั้นตอนในตัวเลือกแบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วด้านบนโดยใช้สื่อของตน
อัปเกรดแทนที่ให้กับ Microsoft SQL Server ด้วยตนเอง:
รวมสิทธิ์การใช้งานแล้ว: ลูกค้า AWS ที่ใช้ SQL Server แบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วสามารถอัปเกรดแทนที่บนอินสแตนซ์ที่เรียกใช้อยู่ได้ โปรดติดต่อ AWS Support เพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมและรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางการอัปเกรด
BYOL: ลูกค้าที่ใช้รุ่น BYOL สามารถอัปเกรดแทนที่ให้กับ SQL Server ด้วยตัวเองได้โดยใช้สื่อของตน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่
สำรวจตัวเลือกแพลตฟอร์มอื่น AWS มีพันธกิจในการส่งมอบความยืดหยุ่นสูงสุดในระบบคลาวด์ให้กับลูกค้า ลูกค้า AWS ที่สนใจในประโยชน์ของการย้ายปริมาณงานของ SQL Server หรือ Windows บางรายการไปยังแพลตฟอร์มอื่นสามารถติดต่อทีมบัญชี AWS ของตนเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการของ Amazon ทั้งหมด คลิกที่นี่
ลูกค้า AWS รายอื่นเป็นอย่างไร
ลูกค้า AWS เช่น Sysco, Hess, Ancestry และ Expedia โยกย้ายและปรับปริมาณงาน Windows บน AWS ของตนให้ทันสมัยขึ้นได้สำเร็จ อ่านเพิ่มเติมว่าประสบการณ์ลูกค้า AWS รายอื่นเป็นอย่างไรได้ที่นี่
ค่าใช้จ่ายในการย้ายไปยังระบบปฏิบัติการของ Microsoft หรือเวอร์ชัน SQL Server ที่รองรับมีอะไรบ้าง
แบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้ว: ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านสิทธิ์การใช้งานเพิ่มเติมในการย้ายไปยังซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่เมื่อใช้ตัวเลือกรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วของ Amazon เช่น
- Microsoft Windows Server 2019 มีราคาเดียวกับ Microsoft Windows Server 2003/2008/2008 R2
- Microsoft SQL Server 2017 (ตามรุ่น) มีราคาเดียวกับ Microsoft SQL Server 2005/2008/2008 R2 (ตามรุ่น)
BYOL: ลูกค้าที่ใช้งาน Software Assurance (SA) สามารถอัปเกรดเป็นเวอร์ชันใหม่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ลูกค้าที่ไม่มี SA สามารถซื้อสิทธิ์การใช้งานใหม่จาก Microsoft ได้
หากฉันพบปัญหาที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่สถานะ EOS ของ Microsoft แล้ว ทาง AWS Support จะช่วยเหลือฉันใช่หรือไม่
ใช่ ลูกค้าที่มีแผน AWS Support สามารถติดต่อ AWS Support เกี่ยวกับปัญหาทางเทคนิคได้
หมายเหตุ: หลังสิ้นสุดการสนับสนุนแบบขยาย Microsoft จะไม่ให้บริการแพทช์หรือการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยจนกว่าจะมีการซื้อการอัปเดตการรักษาความปลอดภัยแบบขยาย ตามนโยบายของ Microsoft
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผน AWS Support ที่นี่
หากฉันมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ที่มีสถานะ EOS บน AWS ฉันควรติดต่อใคร
โปรดส่งอีเมลมาที่ aws.EOS.Microsoft@amazon.com
AWS Windows AMI แบบรวมสิทธิ์การใช้งานแล้วและมีการจัดการใดบ้างที่ได้รับผลกระทบและจะได้รับผลกระทบเมื่อใด
วันที่ 1 กรกฎาคม 2019
- Windows_Server-2003-R2_SP2-English-32Bit-Base-*
- Windows_Server-2003-R2_SP2-English-64Bit-Base-*
- Windows_Server-2003-R2_SP2-English-64Bit-SQL_2005_SP4_Express-*
- Windows_Server-2003-R2_SP2-English-64Bit-SQL_2005_SP4_Standard-*
- Windows_Server-2003-R2_SP2-Language_Packs-32Bit-Base-*
- Windows_Server-2003-R2_SP2-Language_Packs-64Bit-Base-*
- Windows_Server-2003-R2_SP2-Language_Packs-64Bit-SQL_2005_SP4_Express-*
- Windows_Server-2003-R2_SP2-Language_Packs-64Bit-SQL_2005_SP4_Standard-*
วันที่ 9 กรกฎาคม 2019
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Express-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Standard-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Web-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Japanese-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Express-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Japanese-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Standard-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Japanese-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Web-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Language_Packs-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Express-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Language_Packs-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Standard-*
- Windows_Server-2008-SP2-English-64Bit-SQL_2008_SP4_Express-*
- Windows_Server-2008-SP2-English-64Bit-SQL_2008_SP4_Standard-*
- Windows_Server-2012-RTM-English-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Express-*
- Windows_Server-2012-RTM-English-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Standard-*
- Windows_Server-2012-RTM-English-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Web-*
- Windows_Server-2012-RTM-Japanese-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Express-*
- Windows_Server-2012-RTM-Japanese-64Bit-SQL_2008_R2_SP3_Standard-*
วันที่ 14 มกราคม 2020
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Chinese_Hong_Kong_SAR-64Bit-Base-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Chinese_PRC-64Bit-Base-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-Base-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-Core-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-Core_SQL_2012_SP4_Standard-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit
- SharePoint_2010_SP2_Foundation-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-SQL_2012_RTM_SP2_Enterprise-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-SQL_2012_SP4_Enterprise-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-SQL_2012_SP4_Express-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-SQL_2012_SP4_Standard-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-English-64Bit-SQL_2012_SP4_Web-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Japanese-64Bit-Base-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Japanese-64Bit-SQL_2012_SP4_Express-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Japanese-64Bit-SQL_2012_SP4_Standard-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Korean-64Bit-Base-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Language_Packs-64Bit-Base-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Portuguese_Brazil-64Bit-Base-*
- Windows_Server-2008-R2_SP1-Portuguese_Brazil-64Bit-Core-*
- Windows_Server-2008-SP2-English-32Bit-Base-*
- Windows_Server-2008-SP2-English-64Bit-Base-*
- Windows_Server-2008-SP2-Portuguese_Brazil-32Bit-Base-*
- Windows_Server-2008-SP2-Portuguese_Brazil-64Bit-Base-*
อภิธานศัพท์
AMI (Amazon Machine Image): คือเทมเพลตสำหรับไดรฟ์ข้อมูลรูทสำหรับอินสแตนซ์ (ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ เซิร์ฟเวอร์แอปพลิเคชัน และแอปพลิเคชัน) ซึ่งจัดการสิทธิ์การเปิดใช้งานที่ควบคุมว่าบัญชี AWS ใดสามารถใช้ AMI เพื่อเปิดใช้อินสแตนซ์ได้ ประกอบด้วยการแมปอุปกรณ์บล็อกที่ระบุไดรฟ์ข้อมูลเพื่อผูกกับอินสแตนซ์เมื่อเปิดใช้งาน
AWS (Amazon Web Services): นำเสนอบริการประมวลผลส่วนกลาง พื้นที่เก็บข้อมูล ฐานข้อมูล การวิเคราะห์ แอปพลิเคชัน และการนำไปใช้จริงที่หลากหลายที่ช่วยให้องค์กรเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่ายด้านไอที และปรับขนาดแอปพลิเคชัน
คอนโซลการจัดการของ AWS: เข้าถึงและจัดการ Amazon Web Services ได้จากอินเทอร์เฟซผู้ใช้บนเว็บที่ไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการใช้งาน
BYOL (Bring Your Own License): คือขั้นตอนที่คุุณสามารถใช้ในการนำซอฟต์แวร์เไปใช้จริงโดยเป็นซอฟต์แวร์ที่ได้รับสิทธิ์การใช้งานบนฮาร์ดแวร์ของ AWS โดยเฉพาะตามจริง หากคุณใช้ BYOL ก็ไม่ต้องชำระค่าอินสแตนซ์ที่มีการให้สิทธิ์ใช้งานรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายด้วย แต่ชำระเงินในอัตราราคาเท่า EC2 instance ด้วยราคา Amazon Linux แทน เมื่อใช้ BYOL คุณจะต้องจัดการสิทธิ์การใช้งานของตนเอง
CloudEndure: มอบโซลูชันความต่อเนื่องทางธุรกิจที่น่าเชื่อถือซึ่งลดการสูญเสียข้อมูลและเวลาหยุดทำงานที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ ความล้มเหลวของเครือข่าย การคุกคามจากภายนอก หรือความขัดข้องอื่น ๆ โซลูชันกระบวนการกู้คืนจากความเสียหายและการโยกย้าย ของเราขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีการเคลื่อนย้ายเวิร์กโหลดที่ล้ำสมัย ซึ่งสำเนาแอปพลิเคชันจากโครงสร้างพื้นฐานจริง โครงสร้างพื้นฐานเสมือน และโครงสร้างพื้นฐานบนระบบคลาวด์ใด ๆ ลงใน Amazon Web Services (AWS) เช่น CloudEndure มีคุณสมบัติพิเศษในการรองรับสภาพแวดล้อมต่างรูปแบบขนาดใหญ่ที่มีแอปพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐานที่หลากหลาย
AMI แบบกำหนดเอง: คือ AMI ที่สร้างขึ้นในบัญชีของคุณหรือสร้างขึ้นจากภาพที่นำเข้าหรือบันทึกมาจากอินสแตนซ์ปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเปิดใช้อินสแตนซ์จาก AMI ปัจจุบัน กำหนดอินสแตนซ์เอง และบันทึกการกำหนดค่าที่อัปเดตแล้วนี้เป็น AMI แบบกำหนดเอง อินสแตนซ์ที่เปิดใช้จาก AMI แบบกำหนดเองรายการใหม่นี้จะมีการกำหนดค่าที่คุณตั้งไว้เองเมื่อสร้าง AMI
EC2 (Amazon Elastic Compute Cloud): ให้บริการความจุการประมวลผลที่ปรับขนาดได้ในระบบคลาวด์ของ Amazon Web Services (AWS)
EOS (การสิ้นสุดการสนับสนุน): เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงการสนับสนุนผลิตภัณฑ์หนึ่งของ Microsoft ที่จะสิ้นสุดลงตามนโยบายรอบการใช้งานผลิตภัณฑ์
ไฮเปอร์สเกล: หมายถึงอุปกรณ์และการจัดเตรียมที่จำเป็นในสภาพแวดล้อมการประมวลผลแบบกระจายเพื่อให้ปรับขนาดจากเซิร์ฟเวอร์จำนวนน้อยเป็นเซิร์ฟเวอร์หลายพันรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประมวลผลแบบไฮเปอร์สเกลมักใช้ในสภาพแวดล้อมเช่น Big Data และการประมวลผลระบบคลาวด์
การอัปเกรดแทนที่: คือการอัปเกรดไฟล์ระบบปฏิบัติการโดยที่การตั้งค่าและไฟล์ส่วนตัวของคุณไม่มีการเปลี่ยนแปลง
อินแสตนซ์ (EC2 instance): คือเซิร์ฟเวอร์เสมือนใน AWS Cloud การกำหนดค่าเมื่อเปิดใช้งานเป็นการคัดลอก AMI ที่คุณกำหนดไว้เมื่อเปิดใช้อินสแตนซ์ดังกล่าว
LI (รวมสิทธิ์การใช้งานแล้ว): หมายถึงข้อตกลงสิทธิ์การใช้งาน Microsoft ของ Amazon สำหรับ Windows Server และ SQL Server
VMIE (การนำเข้า/ส่งออก VM ของ AWS): คือบริการของ AWS ที่ใช้สำหรับนำเข้าภาพระบบปฏิบัติการมายัง AWS EC2 ในโหมดออฟไลน์
RDS (บริการฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์ของ Amazon): เป็นบริการบนเว็บที่ทำให้การตั้งค่า การใช้งาน และการปรับขนาดฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์ในระบบคลาวด์เป็นเรื่องง่าย ให้บริการความจุที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและปรับขนาดได้สำหรับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมและจัดการงานดูแลฐานข้อมูลทั่วไป
SA (Software Assurance): เป็นโปรแกรมแบบครอบคลุมจาก Microsoft ที่ช่วยในการนำไปใช้จริง จัดการ และใช้ผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SMS (AWS Server Migration Service): คือบริการของ AWS ที่ใช้สำหรับนำเข้าภาพระบบปฏิบัติการมายัง AWS EC2 ในโหมดออนไลน์
WorkSpaces (Amazon Workspaces): เป็นบริการเดสก์ท็อประบบคลาวด์ที่มีการจัดการและปลอดภัย คุณสามารถใช้ Amazon WorkSpaces เพื่อจัดเตรียมเดสก์ท็อป Windows หรือ Linux ได้ภายในเวลาไม่กี่นาที และสามารถที่จะเตรียมเดสก์ท็อปนับพันให้กับผู้ปฏิบัติงานทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS
การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS คืออะไร
การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS ให้การสนับสนุนที่กำหนดเองสำหรับแอปพลิเคชันที่สำคัญ มาพร้อมการมีส่วนร่วมเชิงรุกทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เวลาตอบสนอง 5 นาที และการจัดการเหตุการณ์สำหรับแอปพลิเคชันที่สำคัญ การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS ออกแบบมาเพื่อช่วยคุณปรับปรุงการดำเนินงาน เพิ่มความยืดหยุ่นของเวิร์กโหลด และเร่งกระบวนการกู้คืนจากเหตุการณ์ร้ายแรง AWS Incident Detection and Response ใช้ประโยชน์จากความสามารถในการปฏิบัติงาน การตรวจสอบขั้นสูง และการจัดการเหตุการณ์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วซึ่งใช้กันภายในโดยทีม AWS และภายนอกโดย AWS Managed Services (AMS)
ระดับบริการสำหรับการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS มีอะไรบ้าง
การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS มอบเวลาตอบสนอง SLO (วัตถุประสงค์ระดับการบริการ) 5 นาทีสำหรับกรณีสำคัญ (สูญเสียระบบที่สำคัญต่อธุรกิจ) ที่รายงานมายังการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS เวลาตอบสนองของ Enterprise Support วัดจากเวลาที่ส่งเรื่อง ซึ่งต่างกับเวลาการมีส่วนร่วมสำหรับการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS ที่จะวัดจากช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์บนเวิร์กโหลดของคุณไปจนถึงเมื่อมีการส่งเรื่องของคุณ
AWS มีบริการเพิ่มเติมสำหรับการจัดการอุบัติการณ์หรือไม่
AWS Managed Services (AMS) เสริมทีมของคุณด้วยระบบคลาวด์ โดยรวมถึงการดำเนินงานพื้นฐาน Cloud Service Delivery Manager (CSDM) และ Cloud Architect (CA) ที่เลือกไว้ รวมถึงการเข้าถึงทีมรักษาความปลอดภัย AMS การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS พร้อมใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในบางรีเจี้ยนที่บริการจัดการ AWS เชื่อมต่อกับ AWS Enterprise Support ลูกค้า AMS ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดสามารถติดต่อ AMS Cloud Service Delivery Manager (CSDM) เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS มีให้บริการในรีเจี้ยนใดบ้าง
การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS พร้อมให้ใช้งานในภาษาอังกฤษและญี่ปุ่นสำหรับเวิร์กโหลดที่โฮสต์ในภูมิภาคดังต่อไปนี้ อันได้แก่ แอฟริกา (เคปทาวน์), เอเชียแปซิฟิก (มุมไบ), เอเชียแปซิฟิก (โตเกียว), เอเชียแปซิฟิก (สิงคโปร์), เอเชียแปซิฟิก (โซล), เอเชียแปซิฟิก (ซิดนีย์), เอเชียแปซิฟิก (โอซากะ), เอเชียแปซิฟิก (ฮ่องกง), เอเชียแปซิฟิก (จาการ์ตา), เอเชียแปซิฟิก (ไฮเดอราบัด), เอเชียแปซิฟิก (เมลเบิร์น), เอเชียแปซิฟิก (มาเลเซีย), แคนาดา (ภาคกลาง), แคนาดาตะวันตก (คาลการี), ยุโรป (มิลาน), ยุโรป (แฟรงก์เฟิร์ต), ยุโรป (ไอร์แลนด์), ยุโรป (ลอนดอน), ยุโรป (ปารีส), ยุโรป (สตอกโฮล์ม), ยุโรป (สเปน), อิสราเอล (เทลอาวีฟ), ตะวันออกกลาง (บาห์เรน), ตะวันออกกลาง (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์), อเมริการเหนือ (คาลการี), อเมริกาใต้ (เซาเปาลู), สหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออก (เวอร์จิเนียฝั่งเหนือ), สหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตก (ออริกอน), สหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตก (แคลิฟอร์เนียเหนือ), สหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันออก (โอไฮโอ)
เมื่อใช้บริการ AWS Support ระดับพรีเมียม คุณจะได้รับการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS ตลอด 24 ชม. ทุกวันโดยทีมวิศวกรระดับโลก เมื่อระบบการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้จัดการรับมือเหตุการณ์ที่พร้อมให้ความช่วยเหลือรายแรกจากรีเจี้ยนหนึ่งของเราจะได้รับมอบหมายให้ดูแลกรณีของคุณเพื่อช่วยเหลือคุณโดยเร็วที่สุด
ฉันจะสมัคร (หรือยกเลิกการสมัคร) การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS ในบัญชีได้อย่างไร
คุณสามารถสมัคร (หรือยกเลิกการสมัคร) การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS ในบัญชีได้โดยแจ้งเรื่องการสนับสนุนไปยังการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS การสมัครสมาชิกสามารถทำได้โดยการสร้างคำขอจากบัญชีผู้ชำระเงินเท่านั้น AWS กำหนดให้ทำการแจ้งล่วงหน้า 30 วันเพื่อยกเลิกการสมัครบริการของบัญชี โปรดดูวิธีการยื่นคำขอสมัครสมาชิกในคู่มือผู้ใช้
ฉันสามารถซื้อการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS เป็นระยะเวลาที่เจาะจงได้หรือไม่
ใช่ คุณสามารถสมัครใช้งานบัญชี AWS Incident Detection and Response ได้ในระยะเจาะจงโดยมีระยะเวลาขั้นต่ำ 90 วัน
เวิร์กโหลดทั้งหมดของฉันกระจุกตัวอยู่ในบัญชีเดียว แต่ฉันต้องการลงทะเบียนเวิร์กโหลดส่วนน้อยของฉันในบริการ ฉันจะถูกเรียกเก็บเงินสำหรับเวิร์กโหลดที่ใช้งานเพื่อรับการตรวจสอบเท่านั้นได้หรือไม่
ใช่ การเรียกเก็บเงินจะขึ้นอยู่กับการใช้เวิร์กโหลดที่คุณใช้งาน การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS จะเรียกเก็บค่าบริการ 7,000 USD ต่อเดือนหรือเพิ่มจากค่าใช้จ่าย AWS รายเดือนที่เกิดขึ้นจากเวิร์กโหลดที่คุณใช้บริการอยู่แล้ว 2.0% ขึ้นอยู่กับว่าจำนวนใดมากกว่ากัน การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS จำเป็นต้องมีการติดแท็กทรัพยากรของเวิร์กโหลดอย่างเหมาะสม
ฉันจะใช้งานเวิร์กโหลดแต่ละรายการในบริการได้อย่างไร
การเริ่มต้นใช้งานเวิร์กโหลดเริ่มต้นหลังจากบัญชีองค์ประกอบที่ประกอบเป็นเวิร์กโหลดสมัครใช้งาน AWS Incident Detection and Response จุดหลักของกระบวนการเริ่มต้นติดตั้งเวิร์กโหลดคือให้ AWS รวบรวมบริบทเกี่ยวกับเวิร์กโหลดมากเท่าที่คุณต้องการแชร์ ซึ่งอาจรวมถึง ARN และฟังก์ชันของบริการที่ใช้ในเวิร์กโหลดของคุณ และการเตือนที่สำคัญที่พูดถึงผลลัพธ์ของเวิร์กโหลด นอกจากนี้เรายังพัฒนาขั้นตอนงานอัตโนมัติและแผนการตอบสนองสำหรับการจัดการเหตุการณ์ในระหว่างกระบวนการติดตั้ง
คุณตอบโต้กับฉันอย่างไรในระหว่างเหตุการณ์
การแจ้งเตือนที่สำคัญที่เปิดในเวิร์กโหลดของคุณจะถูกส่งผ่าน Event Bridge ไปยังเครื่องมือ AWS Incident Management และ Incident Management Engineer (IME) ที่พร้อมทำงานจะได้รับการแจ้งเตือน IME จะไตร่ตรองสัญญาณเตือน มีโต้ตอบกับคุณบนบริดจ์การประชุม และปฏิบัติตามแผนการรับมือเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อแนะนำการกู้คืนให้กับคุณ การดำเนินการที่เกิดขึ้นระหว่างการโทรอาจมี เช่น การให้ข้อมูลเชิงลึกล่าสุดเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของบริการของ AWS การกระตุ้นให้เกิดการยกระดับภายใน AWS หรือการให้คำแนะนำแก่คุณเกี่ยวกับวิธีขับเคลื่อนการแก้ปัญหา IME จะจัดการเหตุการณ์และทำให้แน่ใจว่าคุณยังตอบโต้กับทรัพยากร AWS ที่ถูกต้องจนกว่าเหตุการณ์จะได้รับการแก้ไขหรือบรรเทาลง เมื่อมีการปิดเหตุการณ์ IME อาจจัดทำรายงานการแก้ปัญหาเหตุการณ์ที่สรุปเหตุการณ์และแจ้งการปรับปรุงสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชัน ตัวชี้วัด และขั้นตอนการตอบสนอง สำหรับลูกค้า AMS วิศวกรฝ่ายปฏิบัติการยังมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเหตุการณ์เพื่อช่วยแก้ไขเหตุการณ์
การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS จะช่วยฉันในระหว่างกิจกรรมบริการของ AWS ได้อย่างไร
ระหว่างกิจกรรมบริการ AWS จะแจ้งให้คุณทราบถึงกิจกรรมบริการที่กำลังดำเนินอยู่ ไม่ว่าเวิร์กโหลดของคุณจะได้รับผลกระทบหรือไม่ หากเวิร์กโหลดของคุณได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการบริการ AWS จะสร้างกรณีสนับสนุนเพื่อโต้ตอบกับคุณ รับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลกระทบและความรู้สึก และให้คำแนะนำที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อเรียกใช้กระบวนการกู้คืนจากความเสียหายระหว่างกิจกรรม คุณยังจะได้รับการแจ้งเตือนผ่าน AWS Health ที่มีรายละเอียดของ Support Case ที่สร้างขึ้นสำหรับคุณ ลูกค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์บริการที่ AWS เป็นเจ้าของ (เช่น ปฏิบัติการในภูมิภาคอื่น ไม่ได้ใช้บริการของ AWS ที่มีความบกพร่อง ฯลฯ) จะยังคงได้รับการสนับสนุนโดยมาตรฐานการโต้ตอบของเรา
ฉันสามารถใช้การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS กับเครื่องมือตรวจสอบที่มีอยู่ได้หรือไม่
ใช่ คุณสามารถดูเหตุการณ์จากเครื่องมือการตรวจจับต่างๆ เพื่อการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS ผ่าน Amazon EventBridge ได้ โปรดดูที่ คู่มือผู้ใช้การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเริ่มใช้งานเวิร์กโหลด
ฉันจะยังสามารถแจ้งเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นกับเวิร์กโหลดของฉันด้วยตนเองโดยใช้การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS ได้อยู่หรือไม่
ได้ คุณยังสามารถรายงานเรื่องที่สำคัญได้โดยตรงไปยัง AWS Support หรือการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS มอบเวลาตอบสนอง 5 นาทีต่อกรณีสูญเสียระบบที่สำคัญต่อธุรกิจ โปรดดูคู่มือผู้ใช้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรายงานเรื่องไปยังการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS
ฉันยังต้องมีทีมตรวจสอบของตัวเองอยู่หรือไม่ หากมีการตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS แล้ว
AWS Incident Detection and Response ไม่ได้แทนที่ทีมตรวจสอบของคุณ การตรวจจับและการตอบสนองเหตุการณ์ของ AWS ทำงานร่วมกับทีมตรวจสอบของคุณและมุ่งเน้นที่การจัดการเหตุการณ์สำคัญ
AWS re:Post แบบส่วนตัว
AWS re:Post แบบส่วนตัวคืออะไร
AWS re:Post แบบส่วนตัว เป็นพื้นที่ที่มีการจัดการ ปลอดภัย และเป็นส่วนตัวเต็มรูปแบบสําหรับคุณเพื่อสร้างชุมชนในระบบคลาวด์เฉพาะองค์กรและให้การเข้าถึงทรัพยากรความรู้ที่เป็นกรรมสิทธิ์ได้ AWS re:Post แบบส่วนตัวรวมเนื้อหาทางเทคนิคที่เชื่อถือได้ของ AWS เป็นศูนย์กลาง และนําเสนอฟอรัมสนทนาส่วนตัวเพื่อปรับปรุงวิธีที่ทีมของคุณทํางานร่วมกันทั้งภายในและกับ AWS เพื่อขจัดอุปสรรคทางเทคนิค เร่งรัดนวัตกรรม และปรับขนาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระบบคลาวด์
ฉันจะเริ่มต้นใช้งาน re:Post แบบส่วนตัวได้อย่างไร
คุณสามารถเริ่มต้นใช้งาน re:Post แบบส่วนตัวได้โดยไปที่ คอนโซลการจัดการของ AWS และตั้งค่า re:Post แบบส่วนตัวสําหรับองค์กรของคุณ คุณต้องมีแผนการสนับสนุน AWS Enterprise หรือ Enterprise On-Ramp อย่างใดอย่างหนึ่ง
AWS Countdown
AWS Countdown คืออะไร
AWS Countdown คือข้อเสนอ AWS Support ที่ออกแบบมาสำหรับกรณีการใช้งานคลาวด์ที่หลากหลาย รวมถึงการโยกย้ายข้อมูล การปรับปรุงให้ทันสมัย การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ และอีเวนต์ถ่ายทอดสด AWS Countdown ช่วยคุณตลอดช่วงการดำเนินโปรเจกต์เพื่อประเมินความพร้อมในการดําเนินงาน ระบุและลดความเสี่ยง และวางแผนความจุ โดยใช้คู่มือที่เชื่อถือได้ซึ่งพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญของ AWS ระบบมอบทรัพยากรให้กับคุณสำหรับความพร้อมในการดำเนินงาน การประเมิน AWS Well-Architected การตรวจสอบด้านความปลอดภัย และการวางแผนการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานสําหรับโปรเจกต์ของคุณ AWS Countdown จะมาแทนที่บริการ Infrastructure Event Management (IEM) ของ AWS Support และรวมอยู่ใน Enterprise Support ลูกค้า Enterprise On-Ramp จะได้รับบริการ Countdown (1) รายการในแต่ละปีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ถาม: AWS Countdown Premium คืออะไร
AWS Countdown Premium เป็นบริการเสริมแบบชําระเงิน ซึ่งให้การสนับสนุนที่สําคัญในทุกขั้นตอนของโปรเจกต์บนระบบคลาวด์ของคุณตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการดูย้อนหลังหลังการเปิดใช้งาน มีวิศวกรที่ได้รับมอบหมายซึ่งคัดเลือกจากทีมผู้เชี่ยวชาญของ AWS โดยให้คําแนะนําและการแก้ไขปัญหาเชิงรุก วิศวกรที่ได้รับมอบหมายมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มโครงการเพื่อให้แน่ใจว่ามีความต่อเนื่องในการดำเนินงาน มีบริการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและใช้ประโยชน์จากเครื่องมือสนับสนุนเพื่อการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น พวกเขามีส่วนร่วมในการโทรแจ้งเหตุการณ์สําคัญ เช่น กิจกรรมด้านการขายหรือการย้ายไปยังระบบใหม่เพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว AWS Countdown Premium ช่วยให้คุณเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยการเร่งการย้ายข้อมูลและการปรับปรุงให้ทันสมัย และช่วยให้คุณสามารถจัดกิจกรรมถ่ายทอดสดที่สร้างผลลัพธ์สูงและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้
AWS Countdown Premium มีให้บริการในภูมิภาคและภาษาใดบ้าง
AWS Countdown Premium มีให้บริการเป็นภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี สําหรับเวิร์กโหลดที่โฮสต์ใน AWS Region ที่มีทั้งหมดและ AWS GovCloud (สหรัฐฯ) Regions ยกเว้น AWS China Regions ในฐานะบริการ AWS Support ระดับพรีเมียม AWS Countdown Premium ได้รับการสนับสนุนจากทีมวิศวกรทั่วโลก
ฉันจะสมัครใช้งาน AWS Countdown ได้อย่างไร
คุณสามารถสมัครใช้งาน AWS Countdown ได้โดยติดต่อทีมบัญชีของคุณ นอกจากนี้ ลูกค้าฝ่ายสนับสนุนองค์กรยังสามารถติดต่อ TAM ของตนเพื่อลงทะเบียนการมีส่วนร่วมในการนับถอยหลังนี้
ฉันจะสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium ได้อย่างไร
คุณสามารถสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium จากหน้าเว็บ AWS Countdown ได้โดยคลิกที่เริ่มต้นใช้งาน ระบบจะนำคุณไปยังหน้าแผนของ AWS Support ในคอนโซล AWS เพื่อดำเนินการลงชื่อสมัครใช้งานให้เสร็จสมบูรณ์ นอกจากนี้คุณยังสามารถลงชื่อสมัครใช้งาน Countdown Premium ได้โดยการลงชื่อเข้าใช้คอนโซล AWS จากนั้นเลือก สนับสนุน > ดู/อัปเดตแผนการสนับสนุน นอกจากนี้คุณยังสามารถติดต่อทีมบัญชีของคุณเพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้ด้วย คุณจะได้รับการสื่อสารเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมกับ Countdown Premium ในบัญชี AWS ทั้งหมดที่ใช้ร่วมกันในระหว่างการลงชื่อสมัครใช้งานผ่านทางทิคเก็ต AWS Support ภายใน 3-4 วันทำการ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการวางแผนและการประสานงานอย่างเหมาะสม เราขอให้คุณแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสองสัปดาห์ก่อนถึงวันที่คุณทำกิจกรรม
ฉันจะยกเลิกการสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium ได้อย่างไร
คุณสามารถยกเลิกการสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium ได้โดยการสร้างทิคเก็ต AWS Support โดยใช้ลิงก์ด่วนนี้ หรือโดยการเข้าสู่ศูนย์ AWS Support แล้วเลือก บัญชีและการเรียกเก็บเงิน > การเรียกเก็บเงิน > อัปเดตรายละเอียดการเรียกเก็บเงิน ใช้ “ยกเลิกการสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium” เป็นหัวข้อ และโปรดระบุในเนื้อหาของกรณีว่า “โปรดยกเลิกการสมัครใช้งานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium นี้เริ่มตั้งแต่ mm/dd/yyyy” โปรดทราบว่า Countdown Premium มีให้บริการเป็นส่วนเสริมรายเดือนเท่านั้น เพิ่มทิคเก็ตสนับสนุนจากบัญชี AWS เดียวกับที่คุณสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium นอกจากนี้คุณยังสามารถติดต่อวิศวกรระดับพรีเมียมของ Countdown Premium หรือทีมบัญชีที่กำหนดเพื่อขอความช่วยเหลือ AWS กำหนดให้ทำการแจ้งล่วงหน้า 30 วันเพื่อยกเลิกการสมัครบริการของบัญชี
ฉันสามารถซื้อ AWS Countdown Premium ตามระยะเวลาที่ต้องการได้หรือไม่
ใช่ คุณสามารถสมัครใช้งาน AWS Countdown *Premium* ตามระยะเวลาที่ต้องการได้โดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือน โดยมีการสมัครใช้งานอย่างน้อยหนึ่ง (1) เดือน
AWS Countdown Premium ทํางานร่วมกับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ตัวแทนจำหน่าย AWS และผลิตภัณฑ์การสนับสนุนที่ดูแลโดยพาร์ทเนอร์ AWS ได้หรือไม่
ได้ ลูกค้าการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ตัวแทนจำหน่ายของ AWS สามารถใช้ AWS Countdown Premium ได้เหมือนกับลูกค้าโดยตรง บริการนี้จะเสริมประสิทธิภาพการย้ายข้อมูล การปรับปรุงให้ทันสมัย หรือการแก้ไขเหตุการณ์ของคุณด้วยความเชี่ยวชาญและการสนับสนุนตามความต้องการ โปรดติดต่อทีมบัญชีของคุณหรือส่งอีเมลถึงเราที่ aws-countdown-subscription@amazon.com เพื่อเริ่มการสมัครใช้งาน Countdown
AWS Countdown (แบบมาตรฐานและแบบพรีเมียม) ออกแบบมาสำหรับและรองรับลูกค้าโดยตรงของ AWS เท่านั้น จะไม่ขยายบริการไปยังลูกค้าปลายทางของพาร์ทเนอร์ที่ลงทะเบียนใน AWS Partner-Led Support Program อย่างไรก็ตาม หากพาร์ทเนอร์ต้องการใช้ประโยชน์จาก AWS Countdown (แบบมาตรฐานและแบบพรีเมียม) สำหรับบัญชีภายในหรือเวิร์กโหลดของตน พวกเขาจะมีสิทธิ์ใช้บริการนี้ในฐานะลูกค้าตรงของ AWS
ฉันต้องสมัครใช้งาน Premium กี่ครั้ง หากต้องการการสนับสนุนในหลายโปรเจกต์
คุณสามารถลงชื่อสมัครใช้งานรายเดือนหนึ่งครั้งต่อกรณีการใช้งาน เช่น การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ การสตรีมแบบสด การย้ายข้อมูล หรือการปรับปรุงให้ทันสมัย คุณจําเป็นต้องสมัครใช้งานหลายครั้ง หากคุณกำลังทำงานในหลายโปรเจกต์พร้อมกัน ซึ่งจะรับรองความมั่นใจว่าเรามอบหมายวิศวกรแยกให้กับแต่ละทีมแยกต่างหาก แทนที่จะกระจายวิศวกรหนึ่งคนดูแลหลายทีม ตัวอย่างเช่น หากคุณวางแผนที่จะย้าย 3 ระบบพร้อมกัน คุณควรซื้อการสมัครใช้งาน 3 รายการสําหรับทีมย้ายข้อมูลแต่ละทีม
ฉันจะรับใบแจ้งหนี้สําหรับ AWS Countdown Premium ได้อย่างไร
คุณจะเห็นใบเรียกเก็บเงินนอกรอบ Out-of-Cycle (OCB) สําหรับ AWS Countdown Premium ไม่รวมอยู่ในใบแจ้งหนี้ครบรอบ ใต้คําอธิบายค่าใช้จ่ายจะระบุว่า "ใบเรียกเก็บเงินนอกรอบ" พร้อมจํานวนเงินและคําอธิบายซึ่งจะแสดงค่าธรรมเนียมรายเดือนในการใช้บริการ Countdown ใบแจ้งหนี้ของ AWS Countdown Premium จะระบุช่วงเวลาของการเรียกเก็บค่าบริการที่มีการออกใบเรียกเก็บเงิน
ฉันจะได้รับใบแจ้งหนี้รายเดือนสําหรับ AWS Countdown Premium เมื่อใด
คุณจะได้รับใบเรียกเก็บเงินในช่วงสัปดาห์แรกในเดือนถัดไปของการสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium ของคุณ ใบเรียกเก็บเงินจะคิดตามสัดส่วนตามวันที่คุณเริ่มใช้บริการ ตัวอย่างเช่น หากคุณเริ่มการสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium สอง (2) เดือนตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ คุณจะได้รับใบเรียกเก็บเงินสามใบต่อไปนี้ ได้แก่ 1) 5,000 USD ในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม 2) 10,000 USD ในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน และ 3) 5,000 USD ในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม วันออกใบแจ้งหนี้ที่แน่นอนจะขึ้นอยู่กับรอบการเรียกเก็บเงินขององค์กร
ฉันจะปรับเปลี่ยน (เพิ่ม/ลบ) ระยะเวลาการสมัครใช้งานของฉันสําหรับ AWS Countdown Premium ได้อย่างไร
คุณสามารถขยายหรือลดระยะเวลาการสมัครใช้งานสำหรับการสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium ที่มีอยู่ได้โดยการสร้างทิคเก็ต AWS Support โดยใช้ลิงก์ด่วนนี้ หรือโดยการเข้าสู่ระบบศูนย์ AWS Support แล้วเลือก บัญชีและการเรียกเก็บเงิน > การเรียกเก็บเงิน > อัปเดตรายละเอียดการเรียกเก็บเงิน ใช้ “การปรับเปลี่ยน AWS Countdown Premium” เป็นหัวเรื่องและโปรดระบุในเนื้อหาของกรณีว่า “โปรดปรับเปลี่ยนการสมัครใช้งานนี้สำหรับบัญชีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ AWS Countdown Premium นี้ โดย “เพิ่ม (ลด) การสมัครใช้งานนี้เป็น x เดือน” โปรดเพิ่มทิคเก็ตการสนับสนุนจากบัญชี AWS เดียวกับที่คุณสมัครใช้งาน AWS Countdown Premium นอกจากนี้คุณยังสามารถติดต่อวิศวกร Countdown Premium หรือทีมบัญชีที่ได้รับมอบหมายเพื่อขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้ด้วย AWS กำหนดให้ทำการแจ้งล่วงหน้า 30 วันเพื่อยกเลิกการสมัครบริการของบัญชี
การสนับสนุนที่ดูแลโดยพาร์ทเนอร์ AWS
เหตุใดฉันจึงควรเลือกทํางานร่วมกับพาร์ทเนอร์ AWS โดยใช้การสนับสนุนที่ดูแลโดยพาร์ทเนอร์ (PLS)
พาร์ทเนอร์ AWS ให้คําแนะนําเชิงรุกและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงนําเสนอผลิตภัณฑ์และบริการเพิ่มเติมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอการสนับสนุน PLS ช่วยให้ลูกค้าได้รับการสนับสนุนเกี่ยวกับบริการของ AWS จากพาร์ทเนอร์ของตนเอง ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการช่วยเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนในทุกอุตสาหกรรมโดยการโอนย้ายเวิร์กโหลด พัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Cloud-Native ให้บริการการจัดการ พร้อมกับนําเสนอบริการเป็นภาษาท้องถิ่น และยังครอบคลุมถึงการสนับสนุนนอกสถานที่
ฉันจะได้รับการสนับสนุนอะไรบ้างจากพาร์ทเนอร์ AWS
พาร์ทเนอร์ AWS ใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนที่ดูแลโดยพาร์ทเนอร์เพื่อสร้างข้อเสนอการสนับสนุนของตนเอง เนื่องจากไม่มีบริการส่งการสนับสนุนไปยังลูกค้าโดยตรง พาร์ทเนอร์ AWS แต่ละรายจะมีรูปแบบข้อเสนอการสนับสนุนที่ดูแลโดยพาร์ทเนอร์ในแบบของตนเอง สิ่งสําคัญคือต้องปรึกษาพาร์ทเนอร์ AWS ของคุณเพื่อตรวจสอบตัวเลือกการสนับสนุน วิธีการติดต่อ และเวลาตอบกลับ
ฉันต้องให้สิทธิ์การเข้าถึงระดับใดแก่พาร์ทเนอร์ AWS
การสนับสนุนที่ดูแลโดยพาร์ทเนอร์จำเป็นต้องให้ลูกค้าอนุญาตให้พาร์ทเนอร์ AWS ของตนเข้าถึงบัญชี AWS ของตนเองเพื่อเรียกใช้เครื่องมือวินิจฉัยและให้การสนับสนุน พร้อมกับเปิดกรณีสนับสนุนกับ AWS ในนามของพวกเขาเมื่อจําเป็น ลูกค้าต้องขอรับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ AWS ของตนเอง และจะไม่มีสิทธิ์เข้าถึง AWS Support โดยตรง รวมถึงการเข้าถึง AWS Technical Account Manager (TAM) หรือให้การสนับสนุนโดยตรงกับ AWS ลูกค้าจะไม่สามารถติดต่อ AWS Support ได้โดยตรง และพาร์ทเนอร์ AWS ของลูกค้าเองจะเป็นผู้ตอบรับการให้บริการตามคำขอทั้งหมด