การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์คืออะไร

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ คือแนวปฏิบัติในการปกป้องคอมพิวเตอร์ เครือข่าย ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน ระบบที่สำคัญ และข้อมูล จากภัยคุกคามทางดิจิทัลที่อาจเกิดขึ้นได้ องค์กรมีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เพื่อรักษาความไว้วางใจของลูกค้าและเป็นไปตามกฎระเบียบ พวกเขาใช้มาตรการและเครื่องมือรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนไม่ให้ถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตลอดจนป้องกันการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจที่เป็นผลจากกิจกรรมในเครือข่ายที่ไม่พึงประสงค์ องค์กรต่างๆ ปรับใช้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยการปรับปรุงการป้องกันทางดิจิทัลระหว่างบุคคล กระบวนการ และเทคโนโลยีต่างๆ 

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความสำคัญอย่างไร

ธุรกิจในภาคส่วนต่างๆ เช่น พลังงาน การขนส่ง การค้าปลีก และการผลิต ล้วนใช้ระบบดิจิทัลและการเชื่อมต่อความเร็วสูงเพื่อจะให้บริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และให้การดำเนินธุรกิจที่คุ้มค่า เช่นเดียวกับการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินทางกายภาพ ธุรกิจต่างๆ ก็ต้องรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินดิจิทัลและปกป้องระบบของตนไม่ให้มีการเข้าถึงโดยไม่ได้ตั้งใจ เหตุการณ์โดยเจตนาที่มีการละเมิดและเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เชื่อมต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเรียกว่าการโจมตีทางไซเบอร์ การโจมตีทางไซเบอร์ที่ประสบความสำเร็จจะส่งผลให้เกิดการสัมผัสความเสี่ยง การโจรกรรม การลบข้อมูล หรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เป็นความลับ มาตรการการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์และให้ประโยชน์ดังต่อไปนี้

 

ป้องกันหรือลดต้นทุนของการละเมิด 

องค์กรที่นำกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์มาใช้ จะลดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงทางธุรกิจ ฐานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ และความไว้วางใจของลูกค้า ตัวอย่างเช่น บริษัทต่างๆ ใช้แผนการกู้คืนจากความเสียหาย เพื่อจำกัดผลของการบุกรุกที่เป็นไปได้ และลดการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจ 

 

รักษาการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

ธุรกิจในอุตสาหกรรมและภูมิภาคเฉพาะใดๆ จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการคุ้มครองข้อมูลที่ละเอียดอ่อนจากความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ดำเนินการในยุโรปจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค (GDPR) ซึ่งคาดหวังให้องค์กรใช้มาตรการการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เหมาะสม เพื่อรับประกันความเป็นส่วนตัวของข้อมูล 

 

บรรเทาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการพัฒนาไป 

การโจมตีทางไซเบอร์นั้นมีการพัฒนาไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เหล่าอาชญากรจะใช้เครื่องมือใหม่ๆ และคิดค้นกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต องค์กรต่างๆ ใช้และอัปเกรดมาตรการการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีและเครื่องมือการโจมตีทางดิจิทัลใหม่ๆ และที่มีการพัฒนาไปเหล่านี้ 

การโจมตีประเภทใดที่การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์พยายามจะป้องกัน

ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มุ่งมั่นที่จะควบคุมและบรรเทาภัยคุกคามที่มีอยู่และภัยคุกคามใหม่ที่แทรกซึมระบบคอมพิวเตอร์ในหลายทาง ต่อไปนี้คือตัวอย่างบางส่วนของภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พบบ่อย 

 

มัลแวร์

มัลแวร์ (Malware) มาจากคำว่า malicious software (ซอฟต์แวร์ที่ประสงค์ร้าย) ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้บุคคลที่สามสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือเพื่อขัดขวางการทำงานตามปกติของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ตัวอย่างทั่วไปของมัลแวร์รวมถึง โทรจัน สปายแวร์ และไวรัส

แรนซัมแวร์

แรนซัมแวร์ (Ransomware) หมายถึง โมเดลธุรกิจและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างกว้าง ซึ่งคนร้ายใช้เพื่อเรียกค่าไถ่จากหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มต้น หรือสร้างระบบบน AWS แล้ว เรามีทรัพยากรที่จะช่วยคุณปกป้องระบบและข้อมูลที่สำคัญของคุณจากแรนซัมแวร์

การโจมตีแบบคนกลาง

การโจมตีแบบคนกลาง (Man in the Middle) คือการที่บุคคลภายนอกพยายามทำการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตผ่านเครือข่ายในระหว่างการแลกเปลี่ยนข้อมูล การโจมตีดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลทางการเงิน 

 

ฟิชชิ่ง

ฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมเพื่อหลอกให้ผู้ใช้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ ตัวอย่างเช่น ผู้โจมตีทางไซเบอร์ส่งอีเมลที่ทำให้ผู้ใช้คลิกและป้อนข้อมูลบัตรเครดิตบนหน้าเว็บชำระเงินปลอม การโจมตีแบบฟิชชิ่งยังทำให้มีการดาวน์โหลดเอกสารแนบที่เป็นอันตราย ซึ่งจะติดตั้งมัลแวร์ในอุปกรณ์ของบริษัท

 

DDoS

การโจมตีแบบปฏิเสธการให้บริการแบบกระจาย (DDoS) เป็นการนัดหมายกันสร้างภาระให้เซิร์ฟเวอร์โดยการส่งคำขอปลอมจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปไม่สามารถเชื่อมต่อหรือเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์เป้าหมายได้ 

 

การคุกคามจากภายใน

การคุกคามจากภายใน คือความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกิดจากบุคลากรที่มีเจตนาร้ายภายในองค์กร บุคลากรมีสิทธิ์เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ระดับสูงและอาจทำลายเสถียรภาพของระบบรักษาความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานจากภายใน 

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ทำงานอย่างไร? 

องค์กรใช้กลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยการมีส่วนร่วมดำเนินงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเครือข่าย พื้นที่เก็บข้อมูล แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออื่นๆ จากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะสร้างเฟรมเวิร์กด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุม และใช้มาตรการป้องกันในองค์กร 

 

โปรแกรมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะมีการให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรักษาความปลอดภัย และการใช้เทคโนโลยีการป้องกันทางไซเบอร์อัตโนมัติสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีอยู่ องค์ประกอบเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างการปกป้องแบบหลายชั้นต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ณ จุดเข้าถึงข้อมูลทุกจุด ซึ่งจะช่วยระบุความเสี่ยง ปกป้องตัวตน โครงสร้างพื้นฐาน และข้อมูล ตรวจจับความผิดปกติและเหตุการณ์ต่างๆ ตอบสนองและวิเคราะห์สาเหตุราก และกู้คืนระบบหลังจากเกิดเหตุการณ์ 

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีประเภทใดบ้าง

องค์กรใช้กลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยการมีส่วนร่วมดำเนินงานกับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนเครือข่าย พื้นที่เก็บข้อมูล แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออื่นๆ จากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะสร้างเฟรมเวิร์กด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุม และใช้มาตรการป้องกันในองค์กร 

 

โปรแกรมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะมีการให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรักษาความปลอดภัย และการใช้เทคโนโลยีการป้องกันทางไซเบอร์อัตโนมัติสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่มีอยู่ องค์ประกอบเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างการปกป้องแบบหลายชั้นต่อภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ณ จุดเข้าถึงข้อมูลทุกจุด ซึ่งจะช่วยระบุความเสี่ยง ปกป้องตัวตน โครงสร้างพื้นฐาน และข้อมูล ตรวจจับความผิดปกติและเหตุการณ์ต่างๆ ตอบสนองและวิเคราะห์สาเหตุราก และกู้คืนระบบหลังจากเกิดเหตุการณ์ 

 

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีประเภทใดบ้าง  

แนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งจะจัดการข้อกังวลต่อไปนี้ภายในองค์กร 

 

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ

โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญหมายถึงระบบดิจิทัลที่มีความสำคัญต่อสังคม เช่น พลังงาน การสื่อสาร การคมนาคมและการขนส่ง องค์กรเหล่านี้ต้องการแนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเป็นระบบ เนื่องจากการขัดจังหวะหรือการสูญเสียข้อมูล อาจทำให้สังคมไม่มั่นคงได้ 

 

ความปลอดภัยของเครือข่าย

การรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย คือการปกป้องในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำหรับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย ทีมไอทีจะใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยของเครือข่าย เช่น ไฟร์วอลล์ และการควบคุมการเข้าถึงเครือข่าย เพื่อควบคุมดูแลการเข้าถึงของผู้ใช้และจัดการการอนุญาตสำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลที่เฉพาะเจาะจงใด ๆ  

 

การรักษาความปลอดภัยระบบคลาวด์

การรักษาความปลอดภัยของคลาหวด์ หมายถึงมาตรการที่องค์กรใช้เพื่อปกป้องข้อมูลและแอปพลิเคชันที่ทำงานในระบบคลาวด์ได้ สิ่งนี้สำคัญสำหรับการเสริมสร้างความไว้วางใจของลูกค้า รับประกันการดำเนินงานที่ทนต่อข้อผิดพลาด และปฏิบัติสอดคล้องกับข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ในสภาพแวดล้อมที่ปรับขนาดได้ กลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ที่แข็งแกร่งนั้นต้องอาศัยความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างผู้จำหน่ายระบบคลาวด์และองค์กร 
 

การรักษาความปลอดภัย IoT

คำว่า Internet of Things (IoT) หมายถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานจากระยะไกลผ่านอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น การเตือนอัจฉริยะที่จะส่งสัญญาณอัปเดตไปยังสมาร์ทโฟนของคุณเป็นระยะๆ ถือว่าเป็นอุปกรณ์ IoT อุปกรณ์ IoT เหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง จากการเชื่อมต่ออย่างต่อเนื่องและจุดบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่ซ่อนอยู่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายความปลอดภัยบนโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย เพื่อประเมินและบรรเทาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากอุปกรณ์ IoT ต่างๆ 

 

ความปลอดภัยของข้อมูล

การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจะปกป้องข้อมูลที่อยู่ระหว่างการโอนย้ายและข้อมูลที่อยู่ในพื้นที่จัดเก็บ ด้วยระบบจัดเก็บข้อมูลที่แข็งแกร่งและการถ่ายโอนข้อมูลที่ปลอดภัย นักพัฒนาใช้มาตรการป้องกันต่างๆ เช่น การเข้ารหัสลับและการสำรองข้อมูลแบบแยกส่วนเพื่อให้ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานเพื่อรับมือกับการละเมิดข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น ในบางกรณี นักพัฒนาจะใช้ AWS Nitro System เพื่อการรักษาความลับในการจัดเก็บข้อมูลและการจำกัดการเข้าถึงของผู้ปฏิบัติงาน 

 

ความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน

การรักษาความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน เป็นความพยายามร่วมกันในการเสริมความแข็งแกร่งของการปกป้องแอปพลิเคชันจากการถูกควบคุมโดยไม่ได้รับอนุญาต ในระยะของการออกแบบ การพัฒนา และการทดสอบ โปรแกรมเมอร์ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จะเขียนรหัสที่มีการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันจุดบกพร่องที่อาจเพิ่มความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยได้

 

การรักษาความปลอดภัยที่ตำแหน่งข้อมูล

การรักษาความปลอดภัยที่ตำแหน่งข้อมูล จะช่วยจัดการกับความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้เข้าถึงเครือข่ายขององค์กรจากระยะไกล การปกป้องการรักษาความปลอดภัยของตำแหน่งข้อมูลจะสแกนไฟล์จากอุปกรณ์แต่ละเครื่อง และบรรเทาภัยคุกคามเมื่อตรวจพบ 

 

กระบวนการกู้คืนจากความเสียหายและการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ

เป็นเรื่องของแผนฉุกเฉินที่ช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที ในขณะที่ยังดำเนินการต่อไปได้โดยมีการหยุดชะงักเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งจะปรับใช้นโยบายการกู้คืนข้อมูลเพื่อตอบสนองในเชิงบวกต่อการสูญเสียข้อมูล 

 

การให้การศึกษาผู้ใช้ปลายทาง

บุคลากรภายในองค์กรมีบทบาทสำคัญในการรับประกันความสำเร็จของกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ การให้การศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการรับประกันว่าพนักงานได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ดี เช่น การลบอีเมลที่น่าสงสัย และการไม่เสียบอุปกรณ์ USB ที่ไม่รู้จัก 

องค์ประกอบของกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีอะไรบ้าง

กลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งจำเป็นต้องมีแนวทางการประสานงานที่ให้บุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยีขององค์กรเข้ามามีส่วนร่วม

 

บุคลากร 

พนักงานส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงภัยคุกคามและแนวปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัยล่าสุดในการที่จะปกป้องอุปกรณ์ เครือข่าย และเซิร์ฟเวอร์ของพวกเขา การฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านหลักการการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แก่พนักงานจะช่วยลดความเสี่ยงในการสอดส่องดูแล ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้

 

กระบวนการ

ทีมรักษาความปลอดภัยด้านไอทีได้พัฒนาเฟรมเวิร์กการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งเพื่อการติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและรายงานช่องโหว่ที่ทราบในโครงสร้างพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ขององค์กร เฟรมเวิร์กนี้เป็นแผนเชิงยุทธวิธีที่จะช่วยรับประกันว่าองค์กรจะตอบสนองและฟื้นตัวจากอุบัติการณ์ด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที 

 

เทคโนโลยี

องค์กรต่างๆ ใช้เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อปกป้องอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ ตลอดจนเซิร์ฟเวอร์ เครือข่าย และข้อมูล จากภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ธุรกิจจะใช้ไฟร์วอลล์ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส โปรแกรมตรวจจับมัลแวร์ และตัวกรอง DNS เพื่อตรวจหาและป้องกันการเข้าถึงระบบภายในโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยอัตโนมัติ บางองค์กรใช้เทคโนโลยีที่ทำงานบนพื้นฐานของ การรักษาความปลอดภัยแบบ Zero trust เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีก 

เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สมัยใหม่คืออะไร

สิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์สมัยใหม่ซึ่งจะช่วยองค์กรในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของตน 

 

Zero trust

Zero trust เป็นหลักการด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่ถือว่าไม่มีแอปพลิเคชันหรือผู้ใช้ใดๆ ที่สามารถเชื่อถือโดยค่าเริ่มต้น แม้ว่าจะโฮสต์อยู่ภายในองค์กรก็ตาม แบบจำลอง Zero trust จะใช้การควบคุมการเข้าถึงที่ให้สิทธิ์อนุญาตเท่าที่จำเป็นแทน ซึ่งจะต้องใช้การรับรองความถูกต้องที่เข้มงวดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการติดตามตรวจสอบแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง AWS ใช้หลักการ Zero trust เพื่อการรับรองความถูกต้องและยืนยันคำขอ API แต่ละรายการ 

 

การวิเคราะห์เชิงพฤติกรรม

การวิเคราะห์เชิงพฤติกรรมจะติดตามตรวจสอบการรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์และเครือข่าย เพื่อตรวจจับกิจกรรมน่าสงสัยและรูปแบบที่ผิดปกติ ตัวอย่างเช่น ทีมรักษาความปลอดภัยด้านไอทีจะได้รับการเตือนสำหรับการรับส่งข้อมูลหรือการดาวน์โหลดไฟล์ที่น่าสงสัยไปยังอุปกรณ์ที่เฉพาะเจาะจงที่เพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน

 

ระบบตรวจจับการบุกรุก

องค์กรต่างๆ ใช้ระบบตรวจจับการบุกรุกเพื่อระบุและตอบสนองการโจมตีทางไซเบอร์อย่างรวดเร็ว โซลูชันการรักษาความปลอดภัยสมัยใหม่จะใช้แมชชีนเลิร์นนิงและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปิดเผยภัยคุกคามที่แฝงอยู่ในโครงสร้างพื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร กลไกป้องกันการบุกรุกยังตรวจจับร่องรอยข้อมูลในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยค้นพบที่มาของเหตุการณ์ได้  

การเข้ารหัสลับบนคลาวด์

การเข้ารหัสลับบนคลาวด์จะทำให้ข้อมูลอยู่ในสภาพยุ่งเหยิงก่อนที่จะนำไปจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลคลาวด์ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้ข้อมูลในทางที่ผิดในการละเมิดข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น องค์กรใช้ AWS Key Management Service เพื่อควบคุมการเข้ารหัสลับข้อมูล ในเวิร์กโหลดของ AWS

AWS ช่วยในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างไร

ในฐานะลูกค้าของ AWS คุณจะได้รับประโยชน์จากศูนย์ข้อมูลของ AWS และเครือข่ายที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องข้อมูล การระบุตัวตน แอปพลิเคชัน และอุปกรณ์ของคุณ AWS ช่วยให้คุณปรับปรุงความสามารถให้เป็นไปตามการรักษาความปลอดภัยหลักและการปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ เช่น สถานที่จัดเก็บข้อมูล การป้องกัน และการรักษาความลับด้วยบริการและคุณสมบัติที่ครอบคลุมของเรา AWS ยังช่วยให้คุณปรับงานการรักษาความปลอดภัยด้วยตัวเองเป็นแบบอัตโนมัติ คุณจึงจดจ่อกับการปรับขนาดและสร้างนวัตกรรมธุรกิจของตัวเองได้ 

AWS ให้บริการการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งจะช่วยคุณดังต่อไปนี้:

  • คุ้มครองข้อมูล บัญชี และเวิร์กโหลดของคุณจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • จัดการข้อมูลประจำตัว ทรัพยากร และการให้สิทธิ์ในขนาดระบบที่ต้องการ
  • บังคับใช้นโยบายความปลอดภัยแบบละเอียดถี่ถ้วน ณ จุดควบคุมเครือข่ายทั่วทั้งองค์กรของคุณ
  • ติดตามตรวจสอบกิจกรรมเครือข่ายและพฤติกรรมของบัญชีอย่างต่อเนื่องภายในสภาพแวดล้อมคลาวด์ของคุณ
  • ให้มุมมองที่ครอบคลุมของสถานะการปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยใช้ระบบตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดอัตโนมัติ

เริ่มต้นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์บน AWS ด้วยการสร้างบัญชี AWS วันนี้

ขั้นตอนถัดไปของความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์บน AWS

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการฐานข้อมูล
ดูแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์บน AWS 
ลงชื่อสมัครใช้บัญชีฟรี
ลงชื่อสมัครใช้งานบัญชีฟรี

รับสิทธิ์การเข้าถึง AWS Free Tier ได้ทันที

ลงชื่อสมัครใช้งาน 
เริ่มต้นสร้างใน Console
เริ่มต้นสร้างใน Console

เริ่มต้นสร้างในคอนโซลการจัดการของ AWS

ลงชื่อเข้าใช้