นักพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบคืออะไร

การพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบเป็นกระบวนการในการพัฒนาทั้งฟรอนต์เอนด์และแบ็คเอนด์ของแอปพลิเคชัน ทุกแอปพลิเคชันจะมีองค์ประกอบที่เป็นฟรอนต์เอนด์ (ส่วนที่ผู้ใช้ใช้งาน) และส่วนประกอบที่เป็นแบ็คเอนด์ (ฐานข้อมูลและตรรกะ) ฟรอนต์เอนด์ประกอบไปด้วยอินเทอร์เฟซผู้ใช้และโค้ดที่เกี่ยวข้องกับการโต้ตอบของผู้ใช้กับแอปพลิเคชัน แบ็คเอนด์ประกอบไปด้วยโค้ดทั้งหมดที่จำเป็นต่อการทำงานของแอปพลิเคชัน รวมถึงการผสานรวมกับระบบข้อมูล การสื่อสารกับแอปพลิเคชันอื่นๆ และการประมวลผลข้อมูล

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องใช้ทักษะ เครื่องมือ และความรู้ด้านซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกันเล็กน้อยในการพัฒนาฟรอนต์เอนด์และแบ็คเอนด์ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบก็จะรวมหลักการทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน ซึ่งหมายความว่าทีมงานจะสามารถสร้างแอปพลิเคชันตั้งแต่ต้นจนจบในลักษณะแบบบูรณาการและสอดคล้องกัน แอปพลิเคชันที่มีสแต็กเต็มรูปแบบเป็นแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่ครอบคลุมทั้งส่วนฟรอนต์เอนด์และแบ็คเอนด์ในฐานโค้ดเดียว 

ประโยชน์ของการพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบมีอะไรบ้าง

องค์กรที่ใช้กลยุทธ์การพัฒนาแบบเต็มรูปแบบจะได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้

การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

การตั้งค่าระบบแบบดั้งเดิมต้องมีนักพัฒนาแยกต่างหากสำหรับงานฟรอนต์เอนด์ แบ็คเอนด์ การจัดการฐานข้อมูล และบางครั้งแม้กระทั่งสำหรับการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ นักพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบนั้นมีความเชี่ยวชาญในการรับมือกับงานในส่วนต่างๆ ของโปรเจกต์ได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่การออกแบบอินเทอร์เฟซผู้ใช้ไปจนถึงการเขียนสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ และการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งช่วยลดบทบาทเฉพาะทางที่องค์กรต้องจัดหาลงไปได้อย่างมาก และทำให้การจัดการโปรเจกต์นั้นง่ายขึ้นและคล่องตัวมากขึ้น นักพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบสามารถสื่อสารกับทีมพัฒนาเว็บเพื่อจัดระเบียบและจัดการการพัฒนาซอฟต์แวร์ไคลเอ็นต์ได้ทั้งในส่วนฟรอนต์เอนด์และแบ็คเอนด์ การมีนักพัฒนาน้อยลงมักหมายความว่าสมาชิกในทีมจะสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น ช่วยลดโครงสร้างการจัดการลง และช่วยให้ทุกคนในทีมมีวิสัยทัศน์เดียวกัน 

ยืดหยุ่นและรวดเร็ว

นักพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบมีทักษะซึ่งช่วยให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติอย่างน้อยที่สุดที่ทำให้ใช้งานได้จริง (MVP) ได้รวดเร็วกว่ามาก เพราะตัวนักพัฒนามีความสามารถในการรับมือกับทุกระดับของการพัฒนาแอปพลิเคชัน ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในกรอบการทำงานการพัฒนาแบบคล่องตัวหรือแบบลีนซึ่งการสร้างซอฟต์แวร์รุ่นต่างๆ อย่างรวดเร็วเป็นหัวใจสำคัญ การที่นักพัฒนาสามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงในระดับฟรอนต์เอนด์และแบ็คเอนด์ได้พร้อมกันจะช่วยลดเวลาในการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด ซึ่งทำให้องค์กรสามารถปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของตลาดและใช้ประโยชน์จากโอกาสทางธุรกิจได้ก่อนคู่แข่ง

การแก้ปัญหาที่ดียิ่งขึ้น

นักพัฒนาจะสามารถระบุปัญหาในโปรเจกต์ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อคุณมีนักพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบมาร่วมทีม ด้วยความเข้าใจที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของระบบและภาษาการเขียนโค้ดจำนวนมาก ทำให้เหล่านักพัฒนาประเภทนี้สามารถระบุจุดคอขวด ความขัดแย้ง หรือการขาดประสิทธิภาพที่นักพัฒนาเฉพาะทางอาจพลาดได้ นอกจากนี้ยังสามารถสลับบทบาทไปมาระหว่างการพัฒนาฟรอนต์เอนด์และแบ็คเอนด์ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งช่วยให้ทางองค์กรสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในช่วงเหตุฉุกเฉิน

เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบมีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีที่นักพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบใช้จะเปลี่ยนไปโดยขึ้นอยู่กับด้านที่มุ่งเน้น ด้านล่างนี้คือความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีฟรอนต์เอนด์และแบ็คเอนด์

เทคโนโลยีฟรอนต์เอนด์

เทคโนโลยีฟรอนต์เอนด์ (หรือซอฟต์แวร์ไคลเอ็นต์) มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาด้านที่ต้องโต้ตอบกับลูกค้า คุณสามารถเขียนโค้ดส่วนใดๆ ก็ตามของอินเทอร์เฟซผู้ใช้งานแบบกราฟิก (GUI) หรือคุณสมบัติที่ผู้ใช้จะโต้ตอบโดยใช้เทคโนโลยีฟรอนต์เอนด์

ภาษาฟรอนต์เอนด์ที่พบบ่อยที่สุดคือ:

  • ภาษา Hypertext Markup Language (HTML)
  • Cascading Style Sheets (CSS)
  • JavaScript

HTML ช่วยให้คุณสามารถจัดโครงสร้างหน้าเว็บและคอนเทนต์บนหน้าเว็บได้ คุณจะใช้ CSS เพื่อจัดรูปแบบคอนเทนต์ สร้างเลย์เอาต์หรือโครงสร้างที่ครอบคลุมมากขึ้น สุดท้าย JavaScript จะช่วยให้คุณเพิ่มคุณสมบัติแบบโต้ตอบลงในหน้าเว็บ เพื่อสร้างเนื้อหาแบบไดนามิกสำหรับผู้ใช้

เทคโนโลยีแบ็คเอนด์

เทคโนโลยีแบ็คเอนด์ (หรือซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์) จะประสานงานการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฟรอนต์เอนด์และเซิร์ฟเวอร์ที่เรียกใช้หน้าเว็บ โดยจะช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์หลักได้ ภาษาแบ็คเอนด์ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ Hypertext Preprocessor (PHP), Ruby, Java และ Python อย่างไรก็ตาม ยังมีภาษาและเทคโนโลยีการเขียนโปรแกรมอีกมากมายที่สามารถใช้ได้ในกรณีที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน 

คุณสามารถจัดกลุ่มเทคโนโลยีแบ็คเอนด์ออกเป็นสามชั้นย่อยได้ ดังนี้:

ชั้น API

ชั้น API จะได้รับการโต้ตอบจากฟรอนต์เอนด์ แล้วสื่อสารการโต้ตอบเหล่านี้ไปยังชั้นที่จัดเก็บ ชั้นนี้ทำหน้าที่เป็นสะพานระหว่างฟรอนต์เอนด์และแบ็คเอนด์

ชั้นที่จัดเก็บ

ชั้นที่จัดเก็บจะจัดการและจัดเก็บข้อมูลแอปพลิเคชันทั้งหมดไว้ โดยจะสื่อสารกับฐานข้อมูลเพื่อเขียนและอ่านข้อมูลในขณะที่ให้การเข้าถึงข้อมูล ชั้นการแจ้งเตือนจะส่งการแจ้งเตือนจากฟรอนต์เอนด์ไปยังแบ็คเอนด์และในทางกลับกัน ซึ่งจะช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถสื่อสารและทริกเกอร์การตอบสนองได้

ชั้นตรรกะทางธุรกิจ

ชั้นตรรกะทางธุรกิจเป็นหัวใจหลักของแบ็คเอนด์ นักพัฒนาแบ็คเอนด์จะกำหนดค่าตรรกะการประมวลผลในชั้นนี้ โดยเปลี่ยนการตอบสนองที่คำขอ API บางอย่างให้มา

ทักษะของนักพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบ

คุณต้องเชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถเป็นนักพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบได้ นักพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบต้องมีความสามารถในการใช้ทั้งภาษาฟรอนต์เอนด์และแบ็คเอนด์ได้ในระดับสูง พวกเขาเชี่ยวชาญภาษา HTML, CSS, JavaScript, NodeJS, ExpressJS, Django และ PHP ในทำนองเดียวกัน นักพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบต้องเข้าใจระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ต่างๆ ด้วย เช่น MySQL, PostgreSQL, MongoDB และอื่นๆ

การพัฒนาเว็บที่มีสแต็กเต็มรูปแบบไม่ได้สำคัญแค่เรื่องโค้ดเท่านั้น แต่ยังต้องใช้ซอฟต์สกิลหลายประการ เช่น การทำงานร่วมกัน การสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ การวางแผน และอื่นๆ อีกมากมาย

เฟรมเวิร์กการพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบคืออะไร

เฟรมเวิร์ก คือชุดของส่วนประกอบซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่ใช้ในการสร้างแอปพลิเคชันใหม่ๆ ส่วนประกอบดังกล่าวรวมถึงทรัพยากรต่างๆ เช่น ไลบรารีโค้ด คอมไพเลอร์ ดีบักเกอร์ และ API ด้วย การใช้เฟรมเวิร์กจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของโค้ด ลดเวลาในการพัฒนา และมอบความปลอดภัยตามการรักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ ด้านล่างนี้เป็นเฟรมเวิร์กทั่วไปบางส่วนที่คุณพบได้ในการพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบ รายการนี้ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด เพียงแต่จะให้ภาพรวมของเฟรมเวิร์กยอดนิยมเท่านั้น

Ruby on Rails

Ruby on Rails หรือ Rails เป็นเฟรมเวิร์กแอปพลิเคชันเว็บที่เขียนด้วยภาษา Ruby มันทำให้กระบวนทัศน์ในโลกการพัฒนาเว็บมากมายเป็นที่นิยมขึ้นมา รวมถึง Convention over Configuration (CoC) และ Don't Repeat Yourself (DRY) ด้วย Rails เป็นเฟรมเวิร์กแสต็กเต็มรูปแบบในแง่ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการพัฒนาทั้งฟรอนต์เอนด์และแบ็คเอนด์ มาพร้อมกับทุกอย่างที่เราต้องใช้ในการสร้างเว็บแอปพลิเคชัน ตั้งแต่การกำหนดเส้นทางและตัวควบคุม ไปจนถึงมุมมองและการย้ายฐานข้อมูล เฟรมเวิร์กนี้จะให้ของดี (ไลบรารี) จำนวนมากเพื่อขยายฟังก์ชันการทำงาน

Django

Django เป็นเฟรมเวิร์เว็บที่ใช้ Python ระดับสูงซึ่งรองรับการพัฒนาที่รวดเร็วและการออกแบบที่สมบูรณ์และใช้งานได้จริง Django ปฏิบัติตามปรัชญาการรวมแบตเตอรี่ไว้ในตัวและมอบเกือบทุกอย่างที่นักพัฒนาอาจต้องใช้ในการ "คิดและทำนอกกรอบ" เนื่องเป็นเฟรมเวิร์กที่เขียนด้วยภาษา Python จึงทำให้นำไปผสานรวมกับไลบรารี Python อื่นๆ ได้ง่าย นอกจากนี้ยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับโครงการที่อาจเกี่ยวข้องกับแมชชีนเลิร์นนิง การวิเคราะห์ข้อมูล และงานที่ซับซ้อนอื่นๆ Django จัดการกับการกำหนดค่าส่วนใหญ่ด้วยตัวเอง ทำให้นักพัฒนาสามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแอปพลิเคชันเพียงอย่างเดียวได้ เฟรมเวิร์กนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้างเว็บแอปพลิเคชันที่แข็งแกร่งและปรับขนาดได้

Spring Boot

Spring Boot เป็นส่วนขยายของเฟรมเวิร์ก Spring ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการตั้งค่าและพัฒนาเบื้องต้น Spring Boot ที่ใช้ภาษา Java ในการเขียน มุ่งเน้นไปที่การสร้างแอปพลิเคชันที่พร้อมสำหรับการนำไปใช้งานจริงอย่างรวดเร็วโดยการกำจัดโค้ดต้นแบบและการกำหนดค่าส่วนใหญ่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของการพัฒนาโดยใช้ Java มีความยืดหยุ่นสูงและเข้ากันได้กับข้อกำหนดของแอปพลิเคชันเกือบทุกประเภท ทำให้เหมาะสำหรับการสร้างแอปพลิเคชันระดับองค์กร

Laravel

Laravel เป็นเฟรมเวิร์กแอปพลิเคชันภาษา PHP ที่สง่างามและมีการบันทึกไว้เป็นอย่างดี โดยจะมอบไวยากรณ์ที่สมบูรณ์และชาญฉลาด ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การทำให้งานพัฒนาเว็บง่ายและรวดเร็วขึ้น Laravel มีชุดฟังก์ชันที่หลากหลายคล้ายคลึงกับ Ruby on Rails รวมถึง ORM, การกำหนดเส้นทาง, การแคช และการยืนยันตัวตน เป็นต้น คอลเลกชันไลบรารีที่แข็งแกร่งและเมธอดในตัวจะช่วยเร่งการพัฒนาและการบำรุงรักษาเว็บแอปได้

สแต็กที่เป็นที่นิยมสำหรับการพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบมีอะไรบ้าง

สแต็กเป็นการรวมเทคโนโลยีซอฟต์แวร์เฉพาะตัวต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งนักพัฒนาสแต็กแบบเต็มรูปแบบสามารถนำไปใช้งานพร้อมกันเพื่อการพัฒนาแอปพลิเคชันที่รวดเร็วได้ โดยทั่วไปสแต็กทุกชนิดจะต้องมีระบบปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล ภาษาการเขียนโปรแกรม และเว็บเซิร์ฟเวอร์

ด้านล่างนี้เป็นสแต็กทั่วไปที่คุณอาจพบได้ในการพัฒนาสแต็กแบบเต็มรูปแบบ

สแต็ก LAMP

สแต็ก LAMP จะประกอบด้วย Linux, Apache, MySQL และ PHP แอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นโดยใช้สถาปัตยกรรม LAMP มีการทำงานดังนี้

  1. เมื่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache ได้รับคำขอ ระบบจะตอบสนองหากเป็นคำขอคงที่ หรือส่งคำขอไปยังส่วนประกอบ PHP หากเป็นไดนามิก
  2. เลเยอร์ PHP จะประมวลผลคำขอหรือดึงข้อมูลที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล MySQL ที่เชื่อมต่อ 
  3. ระบบจะส่งผลลัพธ์ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็น HTML และจะจัดเก็บข้อมูลใหม่ในฐานข้อมูล MySQL หากจำเป็น 
  4. Apache HTTP จะส่งผลลัพธ์แบบไดนามิกไปยังเบราว์เซอร์ของผู้ใช้

สแต็ก MEAN

สแต็ก MEAN เป็นระบบที่สามารถใช้แทน LAMP ได้ โดยจะประกอบด้วย MongoDB, Express.js, Angular และ Node.js ระบบนี้มีพื้นฐานจากเทคโนโลยี Java

เมื่อผู้ใช้โต้ตอบกับแอปพลิเคชัน MEAN:

  1. Angular จะส่งคำขอไปยังองค์ประกอบ Express.js 
  2. เซิร์ฟเวอร์แอปพลิเคชันจะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล MongoDB 
  3. จากนั้นระบบจะส่งการตอบสนอง JSON กลับไปที่ Angular ซึ่งแสดงการตอบสนองให้ผู้ใช้ในเบราว์เซอร์ 

คุณยังสามารถใช้อีกรูปแบบของสแต็ก MEAN ที่เรียกว่าได้ MERN ซึ่งจะแทนที่ Angular.js ด้วย React.js และยังมีอีกรูปแบบเป็น MEVN ซึ่งใช้ Vue.js

สแต็ก LEMP

LEMP ใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์สสี่อย่าง ได้แก่ Linux, Nginx, MySQL และ PHP เว็บเซิร์ฟเวอร์ Nginx รับคำขอ HTTP และส่งต่อไปยังส่วนประกอบ PHP แบ็คเอนด์ PHP จะสร้างการตอบสนอง และตรวจสอบฐานข้อมูล MySQL เพื่อค้นหาหรือจัดการข้อมูล จากนั้นจะส่งการตอบกลับไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ Nginx ซึ่งแสดงให้กับผู้ใช้

AWS จะช่วยตอบสนองความต้องการการพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบของคุณได้อย่างไร

AWS Amplify เป็นโซลูชันที่สมบูรณ์ที่ช่วยให้นักพัฒนาเว็บฟรอนต์เอนด์และอุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถสร้าง จัดส่ง และโฮสต์แอปพลิเคชันที่มีสแต็กเต็มรูปแบบบน AWS ได้อย่างง่ายดาย พร้อมมอบความยืดหยุ่นในการใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ของ AWS เมื่อกรณีการใช้งานของคุณมีเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านระบบคลาวด์ก็ใช้ได้ เมื่อใช้ Amplify นักพัฒนาของคุณจะสามารถ:

  • สร้างแบ็คเอนด์ AWS สำหรับแอปของคุณพร้อมข้อมูล พื้นที่เก็บข้อมูล การยืนยันตัวตน และอื่นๆ
  • ปรับใช้และโฮสต์เว็บไซต์ที่เชื่อถือได้และปลอดภัย รวมถึงแอปที่แสดงผลในฝั่งเซิร์ฟเวอร์
  • ใช้ประโยชน์จากบริการ AWS ได้มากกว่า 175 รายการเพื่อพัฒนากรณีการใช้งานเพิ่มเติม อำนวยความสะดวกให้กับการเติบโตของผู้ใช้ และปรับปรุงแนวทางปฏิบัติของ DevOps
  • ออกแบบ UI ฟรอนต์เอนด์ด้วย Figma และเชื่อมต่อ UI ของคุณเข้ากับแบ็คเอนด์ภายในไม่กี่วินาที

เริ่มต้นการพัฒนาสแต็กเต็มรูปแบบของคุณบน AWS ได้โดยสร้างบัญชีวันนี้!

ขั้นตอนถัดไปบน AWS

ลงชื่อสมัครใช้บัญชีฟรี

รับสิทธิ์การเข้าถึง AWS Free Tier ได้ทันที

ลงชื่อสมัครใช้งาน 
เริ่มต้นการสร้างในคอนโซล

เริ่มต้นสร้างในคอนโซลการจัดการของ AWS

ลงชื่อเข้าใช้