โค้ด Boilerplate คืออะไร

โค้ด Boilerplate เป็นข้อความภาษาคอมพิวเตอร์ที่คุณสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยหรือไม่เปลี่ยนแปลงเลย ในบริบทที่แตกต่างกันหลายแบบ คำนี้มีที่มาจากการจัดการเอกสาร ซึ่งคุณนำเทมเพลตเอกสารหรือ Boilerplate กลับมาใช้ใหม่โดยที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดเพื่อสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ทนายความใช้ Boilerplate สัญญาที่พวกเขาสามารถปรับแก้ได้อย่างรวดเร็วสำหรับลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ ในทำนองเดียวกัน นักพัฒนาซอฟต์แวร์นำโค้ด Boilerplate กลับมาใช้ใหม่โดยเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในโมดูลโปรแกรมต่างๆ ด้วยภาษาการเขียนโปรแกรมสมัยใหม่บางภาษา คุณสามารถย่อโค้ด Boilerplate ได้โดยครอบคลุมไว้ในฟังก์ชัน คลาส และโครงสร้างการเขียนโปรแกรมอื่นๆ

โค้ด Boilerplate มีประโยชน์อย่างไร

โค้ด Boilerplate มีตั้งแต่คำจำกัดความง่ายๆ ไปจนถึงฟังก์ชันซอฟต์แวร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เมื่อพัฒนาแอปพลิเคชัน โปรแกรมเมอร์อาจจะเขียนโค้ดที่ซ้ำกันโดยไม่จำเป็น นักพัฒนาจะใช้โค้ด Boilerplate เพื่อเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็รับประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ด้วย

เราจะแสดงถึงข้อดีหลายประการของโค้ด Boilerplate ดังต่อไปนี้ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยได้มากเมื่อคุณใช้อย่างเหมาะสม

เปิดใช้งานการใช้โค้ดซ้ำ

โค้ด Boilerplate คือเครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรมแบบใช้ซ้ำได้ ซึ่งนักพัฒนาจะสามารถนำโค้ดที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้ไปใช้กับโมดูลถัดไปที่พวกเขาสร้างขึ้นได้ เมื่อเขียนโปรแกรม นักพัฒนาจะสามารถระบุโค้ดที่ดูเหมือนซ้ำกันและเปลี่ยนให้เป็นโค้ดสำเร็จรูปได้ แทนที่จะเขียนซอร์สโค้ดทั้งหมดตั้งแต่ต้น พวกเขาสามารถคัดลอกและวางโค้ด Boilerplate ได้เมื่อจำเป็น 

มีโซลูชันที่นำมาใช้งานได้มากมาย

รหัส Boilerplate ให้ข้อมูลอ้างอิงสำหรับนักพัฒนาเมื่อพวกเขาเขียนฟังก์ชันซอฟต์แวร์ที่ไม่คุ้นเคย โดยปกตินักพัฒนาจะต้องเขียนโค้ดทั้งหมดตั้งแต่ต้นและทดสอบว่าใช้งานได้หรือไม่ แต่ในปัจจุบันไม่ต้องเป็นแบบนั้นเสมอไป

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้ Boilerplate สำหรับหน้าเว็บเมื่อคุณเริ่มโปรเจกต์การพัฒนาเว็บwfh คุณไม่จำเป็นต้องสร้างโครงสร้าง HTML พื้นฐานใหม่ตามที่หน้าเว็บต้องการ

สามารถแบ่งปันความรู้ได้

นักพัฒนาปรับปรุงโค้ดอย่างต่อเนื่องในขณะที่ทำการทดสอบซอฟต์แวร์และการตรวจสอบคุณภาพ พวกเขาสามารถใช้ Boilerplate เพื่อรวมการปรับปรุงเหล่านี้ได้

ตัวอย่างเช่น แต่ละครั้งที่โปรแกรมเมอร์ค้นพบข้อบกพร่องในโค้ด Boilerplate พวกเขาจะสามารถปรับปรุงและบันทึกการเปลี่ยนแปลงในโค้ด Boilerplate ได้ ด้วยวิธีนี้ โปรแกรมเมอร์ทุกคนที่ใช้โค้ดที่นำมาใช้ซ้ำได้จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มประสิทธิภาพ 

ปรับปรุงคุณภาพโค้ด

โค้ด Boilerplate ช่วยลดความเสี่ยงในการเขียนโค้ดผิดพลาดและสามารถปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์ เมื่อคุณใช้โค้ด Boilerplate คุณจะเปิดใช้งานฟังก์ชันซอฟต์แวร์ด้วยโค้ดที่ได้รับการทดสอบอย่างละเอียดแล้ว โดยคุณจำเป็นต้องเขียนโค้ดเพียงไม่กี่บรรทัดเพื่อเพิ่มฟังก์ชันการทำงานที่กำหนดเองหรือรองลงในซอฟต์แวร์

นอกจากนี้ การใช้ Boilerplate การเขียนโปรแกรมจะช่วยให้ทีมซอฟต์แวร์สามารถรักษามาตรฐานการเขียนโค้ดที่เหมาะสม รวมถึงรูปแบบภาษาการเขียนโปรแกรมที่สอดคล้องกันในซอร์สโค้ดได้  

ลดเวลาการเขียนโค้ด

การเขียนโปรแกรม Boilerplate จะช่วยลดความยุ่งยากในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยจะขจัดความจำเป็นในการทำซ้ำโค้ดโดยไม่จำเป็นออกไป การใช้โค้ดที่นำมาใช้ซ้ำได้จะทำให้แม้แต่นักพัฒนามือใหม่ก็สามารถเริ่มโปรเจกต์ที่คล้ายกันได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้มากมาย พวกเขาสามารถแทรกและใช้งาน Boilerplate โดยเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเลยเพื่อเพิ่มฟังก์ชันซอฟต์แวร์ที่โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้เวลาในการสร้างนานกว่า 

ตัวอย่างโค้ด Boilerplate มีอะไรบ้าง

Boilerplate หมายถึงส่วนของโค้ดที่คุณสามารถใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการเขียนโค้ดในภาษาการเขียนโปรแกรมรวมถึงแอปพลิเคชันต่างๆ มากมาย เราจะจะแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างดังต่อไปนี้

การประกาศคลาส

Boilerplate เป็นสิ่งปกติในการเขียนโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ (OOP) และภาษาไฮบริดที่เป็นตัวแทนของอ็อบเจกต์ที่มีคลาส

ลองพิจารณาข้อมูลโค้ดดังต่อไปนี้ ทั้ง getName และ setName เป็นโค้ด Boilerplate ที่นักพัฒนาสามารถเรียกใช้ในการประกาศคลาสของ Customer ได้หลายรายการโดยไม่ต้องเขียนโค้ดใหม่:

public class Customer{

private String name; 

   

  public String getName() {

     return name;

  }

  public void setName(String name) {

     this.name = name;

  }

   }

การห่อหุ้มฟังก์ชัน

นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ Boilerplate เพื่อสรุปฟังก์ชันซอฟต์แวร์ที่มักเกิดซ้ำในแอปพลิเคชันได้อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น ข้อมูลโค้ดต่อไปนี้จะแสดงถึงโค้ดที่ใช้ซ้ำได้ซึ่งนักพัฒนาสามารถเรียกใช้เพื่อเปิดและอ่านไฟล์ได้ นักพัฒนาสามารถคัดลอกและวางโค้ดทั้งหมดและรวมโค้ดของตนเองเพื่อประมวลผลข้อมูลที่แยกออกมาได้ดังนี้

try (BufferedReader reader = new BufferedReader(new FileReader(fileName))) {

    String text;

    while (Objects.nonNull(text = reader.readLine())) {

      // insert code to process read info

    

    }

} catch (IOException e) {

  String message = String.format(“read file(%s) exception”, fileName);

log.error(message, e);

  throw new ExampleException(message, e);

}

เทมเพลตหน้าเว็บ

นักพัฒนาเว็บใช้ Boilerplate เป็นเทมเพลตในการสร้างเว็บเพจ โดยทั่วไปแล้ว Boilerplate จะมีการประกาศเมตา การกำหนดค่าเริ่มต้น และแท็กที่สามารถแก้ไขได้

โค้ด Boilerplate ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของสิ่งที่นักพัฒนาอาจนำไปใช้เพื่อสร้างเว็บเพจว่างเปล่า

<!DOCTYPE html>

<html lang="en">

 <head>

   <meta charset="UTF-8">

     <meta name="viewport" content="width=device-width, initial-scale=1.0">

     <meta http-equiv="X-UA-Compatible" content="ie=edge">

     <title>Webpage Title</title>

     <link rel="stylesheet" href="style.css">

 </head>

 <body>

<script src="index.js"></script>

 </body>

</html>

การจัดการฐานข้อมูล

แอปพลิเคชันส่วนใหญ่จะจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลภายในฐานข้อมูล นักพัฒนาใช้ Boilerplate ที่คล้ายกับตัวอย่างต่อไปนี้เพื่อลดความซับซ้อนของโค้ดสำหรับการเชื่อมต่อฐานข้อมูลและการสืบค้นข้อมูล พวกเขาสามารถเติมเต็มโครงสร้างรหัสมาตรฐานด้วยฟังก์ชันการจัดการข้อมูลที่ปรับแต่งได้ซึ่งจะสามารถทำซ้ำได้ตลอดทั้งแอปพลิเคชัน ตัวอย่างมีดังนี้

public class Database { 

private Connection conn; 

public void connect() { 

// insert codes for database connection

public void disconnect() { 

// insert codes for database disconnection

public ResultSet runQuery(String query) 

// insert codes to run a query

return null; 

}

}

ควรใช้โค้ด Boilerplate เมื่อใดและใช้อย่างไร

เนื่องจากโค้ด Boilerplate มีความสามารถรอบด้าน นักพัฒนาจึงใช้ต้นแบบกับโปรเจกต์ประเภทและขนาดต่างๆ ในลำดับต่อไป เราจะพูดถึงสถานการณ์บางอย่างที่คุณอาจได้รับประโยชน์จากโค้ด Boilerplate

Scaffolding

Scaffolding คือเมื่อคุณใช้โค้ด Boilerplate สำหรับสถานการณ์พื้นฐานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสรุปหรือการบูรณาการส่วนประกอบซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน

ในโปรเจกต์ขนาดเล็ก Scaffolding ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ดังนั้นนักพัฒนาจึงสามารถมุ่งเน้นที่การผสมผสานคุณลักษณะใหม่ๆ และตรรกะทางธุรกิจได้ ซึ่งจะช่วยให้นักพัฒนาสามารถใช้โค้ดเกือบทั้งหมดเพื่อสร้างซอฟต์แวร์หรือเว็บแอปพลิเคชันโดยมีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อย

การแชร์โค้ด

นักพัฒนาบางคนสร้างและแชร์โค้ด Boilerplate กับชุมชนการพัฒนา พวกเขาทำให้ Boilerplate มีความพร้อมสำหรับการดาวน์โหลดและกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงโค้ดที่สำคัญได้

ในขณะเดียวกัน บางองค์กรก็จะสร้าง Boilerplate ของตนเองเพื่อรองรับการพัฒนาขนาดใหญ่ โค้ด Boilerplate เหล่านี้มีความซับซ้อนกว่าและมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  • ประกอบด้วยโค้ดที่มีการบันทึกไว้อย่างดี ดังนั้นนักพัฒนาจึงสามารถนำโค้ดเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างง่ายดาย
  • ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติและโครงสร้างการเขียนโค้ดมาตรฐานเพื่อให้เกิดความสม่ำเสมออยู่ตลอด
  • จัดเตรียมเครื่องมือในการตั้งค่า สร้างต้นแบบ และทดสอบการใช้งาน Boilerplate ในซอร์สโค้ด
  • รวมถึงการสนับสนุนโมดูล API สำหรับการบูรณาการของบุคคลที่สาม
  • ปรับขนาดในสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกัน

ความสอดคล้องกันของโค้ด

ไม่มีกฎเกณฑ์บังคับว่าเมื่อใดจะต้องสร้าง Boilerplate และใช้งานในโค้ดของคุณ อย่างไรก็ตาม หากคุณเขียนโค้ดฟังก์ชันเดียวกันในแอปพลิเคชันหลายครั้ง จะเป็นการดีกว่าหากคุณเปลี่ยนให้เป็น Boilerplate

เมื่อคุณใช้ Boilerplate คุณจะสามารถจำลองฟังก์ชันซอฟต์แวร์ได้อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาดในการเขียนโค้ดได้อีกด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • โปรแกรมเมอร์ใช้ Boilerplate เพื่อแทรกการประกาศคำนำ (Preamble Declaration) ที่คล้ายกันไว้ด้านบนของไฟล์ต้นฉบับ
  • โปรแกรมเมอร์มือใหม่จะใช้ Boilerplate ที่ได้รับการพิสูจน์จากการใช้จริงแล้วในโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องและโปรเจกต์ที่คล้ายกัน ซึ่งพวกเขาจะแก้ไขในภายหลัง
  • นักพัฒนาเรียกฟังก์ชันซอฟต์แวร์ที่ห่อหุ้มไว้ในคลาส Java ด้วย Boilerplate แทนที่จะเขียนโค้ดซ้ำเพื่อจุดประสงค์ที่คล้ายกัน

เมื่อใดที่คุณไม่ควรใช้โค้ด Boilerplate

แม้ว่าโค้ด Boilerplate จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ แต่ในบางสถานการณ์ การใช้แนวทางอื่นอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

Boilerplate ไม่ควรแทนที่ฟังก์ชัน

ไม่ควรใช้ Boilerplate แทนที่ฟังก์ชันซอฟต์แวร์ หากโปรแกรมเมอร์จำเป็นต้องเขียนโค้ดจำนวนมากแม้จะใช้ Boilerplate ไปแล้ว พวกเขาก็ควรเขียนฟังก์ชันต้นฉบับจะดีกว่า ในทำนองเดียวกัน การสร้างฟังก์ชันซอฟต์แวร์ก็จะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า หากคุณกำลังปรับเปลี่ยนโครงสร้างของ Boilerplate อย่างกว้างขวาง 

Boilerplate ไม่ควรแทนที่เฟรมเวิร์ก

เฟรมเวิร์กคือคอลเลกชันขององค์ประกอบของซอฟต์แวร์ซึ่งนำมาใช้ใหม่ได้ที่ทำให้การพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้เฟรมเวิร์กแทน Boilerplate หากคุณต้องการโครงสร้าง Boilerplate ที่ประกอบด้วยกลุ่มเทคโนโลยีทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับความต้องการของโปรเจกต์ของคุณ เฟรมเวิร์กช่วยให้คุณสามารถสร้างมาตรฐานทั่วทั้งโปรเจกต์ได้

ในทางตรงกันข้าม โค้ด Boilerplate จะมีประโยชน์มากกว่าในด้านการลดความซับซ้อนของส่วนของโค้ด ตัวอย่างเช่น นักออกแบบเว็บไซต์สามารถใช้โค้ด Boilerplate เพื่อจัดเตรียมฟังก์ชัน PHP อย่างง่ายได้ และสามารถใช้เฟรมเวิร์กเพื่อเพิ่มเนื้อหาลงในเว็บไซต์ที่พร้อมเผยแพร่ได้

อ่านเกี่ยวกับเฟรมเวิร์ก »

Boilerplate ไม่ควรเพิ่มความซับซ้อนให้โค้ด

โปรดคำนึงถึงการทำสำเนาโค้ดเมื่อคุณใช้ Boilerplate สำหรับฟังก์ชันซอฟต์แวร์ การทำซ้ำมากเกินไปจะทำให้เกิดฟุตพริ้นท์โค้ดที่บวม

ตัวอย่างเช่นพิจารณาสถานการณ์ที่คุณใช้สำเนาโค้ดเดียวกันที่ทำการเรียกใช้ API ไปยังบริการภายนอกหลายครั้ง การแยกรายการที่ซ้ำกันออกในการเรียกใช้ขั้นตอนใหม่แทนจะดีกว่าเพื่อปรับปรุงการบำรุงรักษาโค้ดและลดขนาดแอปพลิเคชัน 

ในทำนองเดียวกัน โปรเจกต์บางรายการอาจจำเป็นต้องมีความคล่องตัวมากขึ้นเมื่อนำการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมาใช้ โค้ด Boilerplate อาจไม่รองรับข้อกำหนดที่เกินกว่าวัตถุประสงค์ที่สร้างขึ้น ในกรณีเช่นนี้ ควรพัฒนาส่วนประกอบซอฟต์แวร์ตั้งแต่เริ่มต้นหรือใช้เฟรมเวิร์กที่มีอยู่จะดีกว่า 

AWS จะสนับสนุนข้อกำหนดของโค้ด Boilerplate ของคุณได้อย่างไร

ระบบคลาวด์จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลการพัฒนาแอปพลิเคชันได้ ผ่านผู้ให้บริการ เช่น Amazon Web Services (AWS) คุณจะได้รับการเข้าถึงทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานได้ตามความต้องการ อย่างไรก็ตาม นักพัฒนายังคงต้องใช้เวลาในการเขียนส่วน Boilerplate ของโค้ดสำหรับกระบวนการดั้งเดิมในการสร้างแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์อยู่ และจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาหลักที่นักพัฒนาต้องการแก้ไข

แม้แต่นักพัฒนาที่มีประสบการณ์มากที่สุดก็ยังมองว่าการไล่ตามให้ทันภาษาโปรแกรม เฟรมเวิร์ก และไลบรารีซอฟต์แวร์ที่หลากหลายนั้นยังคงเป็นเรื่องยากอยู่ และพวกเขาต้องปฏิบัติตามไวยากรณ์การเขียนโปรแกรมที่ถูกต้องและแนวทางปฏิบัติในการเขียนโค้ดที่ดีที่สุด ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนาจึงสามารถใช้เวลาอย่างมากในการค้นหาและปรับแต่งข้อมูลโค้ดจากเว็บ 

Amazon Q Developer ช่วยนักพัฒนาและผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในงานทั้งหมดของพวกเขาตลอดวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตั้งแต่การเขียนโค้ด การทดสอบ และการอัปเกรด ไปจนถึงการแก้ไขปัญหา การสแกนและการแก้ไขความปลอดภัย การเพิ่มประสิทธิภาพทรัพยากร AWS และการสร้างท่อวิศวกรรมข้อมูล

เริ่มต้นใช้งานการเขียนโค้ดที่รองรับ AI บน AWS โดยสร้างบัญชีวันนี้

ขั้นตอนต่อไปบน AWS

ดูแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม
ดูบริการเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา 
ลงชื่อสมัครใช้บัญชีฟรี

รับสิทธิ์การเข้าถึง AWS Free Tier ได้ทันที

ลงชื่อสมัครใช้งาน 
เริ่มต้นการสร้างในคอนโซล

เริ่มต้นสร้างในคอนโซลการจัดการของ AWS

ลงชื่อเข้าใช้