การเขียนโค้ดน้อยลงคืออะไร

โค้ดต่ำ (Low Code) คือแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ช่วยทีมในการพัฒนาโซลูชันดิจิทัลและสร้างแอปพลิเคชันระดับองค์กรโดยมีความจำเป็นต้องเขียนโค้ดน้อยที่สุด แพลตฟอร์มการพัฒนาโค้ดต่ำจะให้ผู้ใช้มีชุดเครื่องมือ องค์ประกอบโค้ดแบบกำหนดเอง และสคริปต์สำเร็จรูป จากนั้นผู้ใช้สามารถพัฒนากระบวนการและแอปพลิเคชันใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องมีการเขียนโค้ดและการทดสอบด้วยสคริปต์อย่างละเอียด แพลตฟอร์มเหล่านี้มีสภาพแวดล้อมการพัฒนาแบบแสดงด้วยภาพ พร้อมความสามารถในการลากและวางที่เรียบง่าย ดังนั้น ทุกคนในองค์กรของคุณสามารถออกแบบและสร้างแอปพลิเคชันทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางในการเขียนโค้ด

ข้อดีของแพลตฟอร์มการพัฒนาที่เขียนโค้ดน้อยลงมีอะไรบ้าง

แพลตฟอร์มการเขียนโค้ดน้อยลงนำเสนอประโยชน์มากมายให้กับองค์กร ทีมธุรกิจ และนักพัฒนา

นวัตกรรมที่เร็วยิ่งขึ้น

การเขียนโค้ดน้อยลงช่วยให้ธุรกิจของคุณมีนวัตกรรมที่ล้ำขึ้น โดยให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ เป็นผู้นำในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ผู้ใช้ทางธุรกิจที่ไม่มีประสบการณ์การเขียนโค้ดหรือมีน้อย ซึ่งเรียกกันบ่อยๆ ว่านักพัฒนาพลเมือง สามารถสร้างแอปพลิเคชันด้วยตนเองได้ นักพัฒนาพลเมืองจะเร่งรอบระยะเวลาการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้การเขียนโค้ดที่น้อยลงในการสร้างบล็อกเพื่อพัฒนาต้นแบบและทดสอบแอปพลิเคชันใหม่อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถลดรอบระยะเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหลายเดือนเป็นหลายสัปดาห์หรือเหลือเพียงแค่ไม่กี่วัน

ความคล่องตัวมากขึ้น

ธุรกิจต่างๆ จะต้องตอบสนองตลาดและพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ๆ ให้ได้อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค การเขียนโค้ดน้อยลงทำให้ธุรกิจของคุณคล่องตัวขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคุณสามารถมอบหมายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ใช้ทางธุรกิจและเร่งการส่งมอบแอปพลิเคชันได้

ศักยภาพเพื่อประสบการณ์ที่หลากหลาย

โซลูชันประสบการณ์ที่หลากหลายทำให้ลูกค้าสามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจผ่านจุดสัมผัสทางดิจิทัลต่างๆ ได้ในระหว่างการใช้งานของผู้ใช้ การเขียนโค้ดน้อยลงจะใช้ส่วนประกอบที่สร้างไว้ล่วงหน้าและนำกลับมาใช้ซ้ำได้ในการสร้างแอปพลิเคชันเพื่อมอบประสบการณ์หลากหลายช่องทางที่ราบรื่นบนอุปกรณ์ต่างๆ

โอกาสในการประหยัดค่าใช้จ่าย

เมื่อคุณได้แนะนำแพลตฟอร์มการเขียนโค้ดน้อยลงให้กับผู้ใช้แล้ว จะช่วยให้นักพัฒนามืออาชีพสามารถโฟกัสกับงานเพิ่มมูลค่าที่ต้องใช้การเขียนโค้ดที่ซับซ้อนได้มากขึ้น  นอกจากนี้ แพลตฟอร์มการเขียนโค้ดน้อยลงสามารถผสานรวมเข้ากับแอปและแหล่งที่มาของข้อมูลที่คุณมีอยู่ ซึ่งช่วยเร่งเวลาในการทำการตลาดและลดค่าใช้จ่ายได้ คุณยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจได้ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้การเขียนโค้ดน้อยลงแทนการซื้อผลิตภัณฑ์มาตรฐานทั่วไป

การบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น

ระบบการเขียนโค้ดน้อยลงมาพร้อมกับคุณสมบัติการรักษาความปลอดภัยในตัวที่จะช่วยปกป้องแอปพลิเคชันและข้อมูลของคุณจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต คุณสามารถรวบรวมมาตรการรักษาความปลอดภัยได้ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชัน

การทำงานร่วมกันที่ง่ายขึ้น

ความง่ายจากการเขียนโค้ดน้อยลงกับความรวดเร็วในการพัฒนานี้ทำให้ผู้ใช้จากทีมธุรกิจทั้งหมดสามารถสร้างแอปพลิเคชันขึ้นได้ แพลตฟอร์มแอปพลิเคชันที่เขียนโค้ดน้อยลงอยู่บนระบบคลาวด์ ทีมต่างๆ จึงสามารถสามารถทำงานได้หลายโครงการ และสามารถแชร์ไอเดียได้ทุกที่ นอกจากนี้ เครื่องมือการเขียนโค้ดน้อยลงยังช่วยให้การร่วมงานระหว่างทีมธุรกิจกับฝ่ายไอทีง่ายขึ้น

การบำรุงรักษาที่ง่ายกว่าเดิม

กระบวนการสร้างแอปพลิเคชันที่ใช้เทคนิคการเขียนโค้ดน้อยลงจะมีความตรงไปตรงมามากว่าการเขียนโค้ดแบบดั้งเดิมที่ต้องเขียนโค้ดหลายพันบรรทัดด้วยตนเอง ซึ่งหมายความว่าทีมธุรกิจที่สร้างผลิตภัณฑ์นั้นสามารถอัปเดตและบำรุงรักษาเองได้ ทำให้กระบวนการพัฒนามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การเขียนโค้ดน้อยลงสามารถสร้างแอปพลิเคชันอะไรได้บ้าง

แพลตฟอร์มการพัฒนาที่เขียนโค้ดน้อยลงได้รับการพิสูจน์จากแอปพลิเคชันการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและธุรกิจประเภทต่างๆ แล้วว่ามีประสิทธิภาพจริง

แอปพลิเคชันเพื่อประสบการณ์ของลูกค้า

ผู้บริโภคมีความคาดหวังว่าจะเข้าถึงแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่ายและสะดวกบนอุปกรณ์ต่างๆ ได้ การเขียนโค้ดน้อยลงทำให้ทีมธุรกิจของคุณสามารถกำหนดคอนเซ็ปต์และพัฒนาแอปพลิเคชันที่ลูกค้าจะใช้ได้

กลุ่มแอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจ

มีการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ขียนโค้ดน้อยลงเพื่อพลิกฟื้นและสร้างกลุ่มแอปพลิเคชันใหม่ๆ สำหรับธุรกิจ เช่น ซอฟต์แวร์ด้านเงินเดือน การจัดซื้อจัดหา และการเตรียมความพร้อมพนักงาน เช่นเดียวกับแอปพลิเคชันเพื่อประสบการณ์ของลูกค้า เทคนิคการเขียนโค้ดน้อยลงถูกนำมาใช้เพราะช่วยให้หัวหน้าฝ่ายต่างๆ และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ได้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ซึ่งต่างจากแนวทางการพัฒนาแบบดั้งเดิมที่ทีมพัฒนาต้องเป็นผู้ดูแลการพัฒนาแอปพลิเคชันทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผสานการทำงานของระบบจัดหา »

แอปพลิเคชันสำหรับกระบวนการทำงานอัตโนมัติ

แพลตฟอร์มการเขียนโค้ดน้อยลงได้มอบเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (AI) พร้อมระบบอัตโนมัติให้กับผู้ใช้ เครื่องมือเหล่านี้สร้างความสามารถในการทำงานอัตโนมัติของกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยดำเนินงานทางธุรกิจที่ต้องทำซ้ำๆ เช่น การป้อนข้อมูล การดำเนินงานตามกฎที่ตั้งไว้ และการทำงานด้านเงินเดือนต่างๆ

อ่านเกี่ยวกับบริการ AWS AI »

ประวัติเบื้องหลังโค้ดต่ำค่ืออะไร?

ความเป็นมาของเทคนิคการโค้ดน้อยลงนั้นต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1990 ที่เกิดการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็ว (RAD) RAD คือกลุ่มโปรแกรมง่ายๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถประกอบรวมแอปพลิเคชันเดสก์ท็อปในรูปแบบเสมือนได้ ส่วนแพลตฟอร์มบนอุปกรณ์ณเคลื่อนที่และสถาปัตยกรรมที่ขับเคลื่อนตามโมเดลนั้นก็ตามมาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2000 แพลตฟอร์มการพัฒนาที่เขียนโค้ดน้อยลงแบบแรกเหมือนที่เราเห็นกันทุกวันนี้ เริ่มได้รับความนิยมในช่วงต้นปี 2010

คำว่าการเขียนโค้ดน้อยลง (Low Code) ถูกใช้ครั้งแรกในปี 2016 ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าการเขียนโค้ดน้อยลงหรือไม่ต้องใช้โค้ด (Low Code or No Code) การเขียนโค้ดน้อยลงหรือไม่ต้องใช้โค้ด (Low Code or No Code) คือวลีทั่วไปที่ใช้กับเครื่องมือและแพลตฟอร์มการพัฒนาที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยผู้ใช้ทางธุรกิจสามารถออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันได้ นอกจากนี้ นักพัฒนามืออาชีพก็ยังใช้เครื่องมือการเขียนโค้ดน้อยลงหรือไม่ต้องใช้โค้ดกับงานที่ต้องทำซ้ำๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบเดิมๆ

คุณลักษณะโค้ดต่ำทั่วไปคืออะไร

มีคุณสมบัติของโค้ดต่ำที่ใช้กันทั่วไปและหลากหลายซึ่งออกแบบมาให้ผู้คนวงกว้างสามารถพัฒนาโซลูชันดิจิทัลได้ เหล่าคุณสมบัติโค้ดต่ำสามารถจัดกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มการพัฒนาโค้ดต่ำ ตัวอย่างบางส่วนของคุณสมบัติโค้ดต่ำทั่วไปมีดังนี้

อินเตอร์เฟซแบบลากและวาง

การลากและวางช่วยให้ผู้ใช้ทางธุรกิจสามารถสร้างแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ฟังก์ชันการลากและวางช่วยลดจำนวนโค้ดที่ต้องพิมพ์ลงอย่างมาก

การสร้างแบบจำลองภาพ

การใช้การสร้างแบบจำลองภาพ UI เพื่อสร้างแอปพลิเคชันนั้นง่ายกว่าการป้อนโค้ดหลายร้อยบรรทัด การสร้างแบบจำลองภาพนำเสนอบล็อกการสร้างแก่ผู้ใช้ที่สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันและโซลูชันได้อย่างรวดเร็ว

ฟังก์ชันนอกกล่อง

ข้อได้เปรียบที่สำคัญของแพลตฟอร์มโค้ดต่ำทั่วไปคือความสามารถในการเริ่มพัฒนาโซลูชันทันทีที่แกะกล่อง การตั้งค่าและการฝึกอบรมนั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับวิธีเขียนโค้ดแบบดั้งเดิม และผู้ใช้ทางธุรกิจสามารถเริ่มสร้างแอปพลิเคชันได้ทันที

ความคล่องตัวของแอปพลิเคชัน

สิ่งสำคัญคือต้องพัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถเข้าถึงและใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่แตกต่างกันไปได้ เครื่องมือโค้ดต่ำได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับใช้แอปพลิเคชันได้ทุกที่ ทั้งเดสก์ท็อป แท็บเล็ต และอุปกรณ์พกพา โดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนแปลงการออกแบบใดๆ

AWS สนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เขียนโค้ดน้อยลงได้อย่างไรบ้าง

Amazon QuickSight รองรับการพัฒนาแอปพลิเคชันโค้ดต่ำสำหรับปัญญาทางธุรกิจ ทุกคนในองค์กรของคุณสามารถเข้าใจข้อมูลของคุณได้โดยง่าย พวกเขาสามารถถามคำถามด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติ สำรวจผ่านแดชบอร์ดเชิงโต้ตอบ หรือค้นหารูปแบบและค่าผิดปกติที่ขับเคลื่อนโดยแมชชีนเลิร์นนิงโดยอัตโนมัติ ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่คุณสามารถทำได้ด้วย QuickSight

  • เปิดใช้งานระบบธุรกิจอัจฉริยะสำหรับทุกคน
  • ดำเนินการวิเคราะห์ขั้นสูงด้วยข้อมูลเชิงลึกของแมชชีนเลิร์นนิง
  • ฝังการวิเคราะห์เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับแอปพลิเคชันของคุณ
  • สร้างแดชบอร์ดที่ปรับแต่งได้
  • ชำระค่าบริการแค่สิ่งที่คุณใช้ด้วยการชำระแบบรายครั้ง

เริ่มต้นใช้งานโค้ดต่ำบน AWS โดยสร้างบัญชี AWS ฟรีวันนี้

ตัวอย่างของบริษัทใดบ้างที่ใช้โค้ดต่ำ

ธุรกิจต่างๆ หันมาใช้โค้ดต่ำมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มทรัพยากรสำหรับนักพัฒนา และสร้างข่าวกรองธุรกิจที่อิงจากการวิเคราะห์ องค์กรและแบรนด์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่งกำลังใช้โซลูชันของ Amazon Web Services (AWS) เพื่อขับเคลื่อนความพยายามที่จะไม่ใช้โค้ดของพวกเขา ตัวอย่างบางส่วนเช่น

WWT

ผู้ให้บริการโซลูชันเทคโนโลยีระดับโลก World Wide Technology (WWT) สามารถสร้างแอปพลิเคชันการจัดการใบเสนอราคาบริการระดับมืออาชีพได้ภายในไม่กี่สัปดาห์โดยใช้ Amazon Honeycode ด้วยการใช้แพลตฟอร์มการพัฒนาโค้ดต่ำที่พัฒนาโดย AWS ทำให้ WWT สามารถทำให้กระบวนการเสนอราคาของลูกค้าเป็นไปโดยอัตโนมัติและคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของการตอบรับข้อเรียกร้องจากลูกค้า และเห็นการปรับปรุงอย่างรวดเร็วและแม่นยำ

NFL

National Football League (NFL) กำลังใช้แมชชีนเลิร์นนิงและการวิเคราะห์ของ AWS เพื่อแปลงข้อเสนอผลิตภัณฑ์ให้เป็นดิจิทัล ส่วนหนึ่งของความพยายามนั้นคือ NFL ใช้ Amazon QuickSight เพื่อพัฒนาระบบธุรกิจอัจฉริยะที่สามารถใช้ภายในองค์กรได้ และเพื่อดึงดูดแฟนคลับหลายล้านคนให้มามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NFL ได้ใช้ QuickSight เพื่อสร้างแดชบอร์ดแบบโต้ตอบอย่างรวดเร็วที่รวมเข้ากับแอปพลิเคชัน Next Gen Stats

ขั้นตอนถัดไปกับ AWS

ลงชื่อสมัครใช้บัญชีฟรี

รับสิทธิ์การเข้าถึง AWS Free Tier ได้ทันที 

ลงชื่อสมัครใช้งาน 
เริ่มต้นการสร้างใน Console

เริ่มต้นสร้างด้วย AWS ใน AWS Management Console

ลงชื่อเข้าใช้