สถาปัตยกรรมโมโนลิทิกและไมโครเซอร์วิสแตกต่างกันอย่างไร

สถาปัตยกรรมโมโนลิทิกเป็นรูปแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมที่ใช้หนึ่งฐานโค้ดในการดำเนินการทางธุรกิจหลายรายการ องค์ประกอบของซอฟต์แวร์ทุกอย่างในระบบแบบโมโนลิทิกจะพึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยมีกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบ การแก้ไขสถาปัตยกรรมโมโนลิทิกนั้นเป็นเรื่องที่เข้มงวดและใช้เวลานาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ฐานโค้ดขนาดใหญ่ ในทางตรงกันข้าม ไมโครเซอร์วิสเป็นวิธีการทางสถาปัตยกรรมที่ประกอบซอฟต์แวร์ขึ้นเป็นองค์ประกอบหรือบริการขนาดเล็กที่เป็นอิสระจากกัน แต่ละบริการจะทำงานเพียงรูปแบบเดียว และจะรับส่งข้อมูลกับบริการอื่นๆ ผ่านอินเทอร์เฟซที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีการทำงานอย่างอิสระ คุณจึงสามารถปรับปรุง แก้ไข ปรับใช้ หรือปรับขนาดแต่ละบริการได้ตามความจำเป็น

อ่านบทความเกี่ยวกับไมโครเซอร์วิส »

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างโมโนลิทิกกับไมโครเซอร์วิส

แอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกโดยทั่วไปจะประกอบด้วย UI ฝั่งไคลเอ็นต์ ฐานข้อมูล และแอปพลิเคชันฝั่งเซิร์ฟเวอร์ นักพัฒนาสร้างโมดูลเหล่านี้ทั้งหมดบนฐานโค้ดเดียว

ในทางกลับกัน ในสถาปัตยกรรมแบบกระจาย แต่ละไมโครเซอร์วิสจะทำงานเพื่อให้บรรลุคุณลักษณะเดียวหรือตรรกะทางธุรกิจ แทนที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในฐานโค้ดเดียวกัน ไมโครเซอร์วิสจะสื่อสารกันด้วย API

ในลำดับต่อไป เราจะพูดถึงความแตกต่างเพิ่มเติมระหว่างทั้งสองระบบ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ API »

กระบวนการพัฒนา

แอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกนั้นง่ายกว่าในการเริ่มต้นใช้งานเนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีการวางแผนล่วงหน้ามากนัก คุณสามารถเริ่มต้นใช้งาน และเพิ่มโมดูลโค้ดต่อไปได้เรื่อยๆ ตามความจำเป็น แต่แอปพลิเคชันอาจมีความซับซ้อนและยากต่อการอัปเดตหรือเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป

สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสจำเป็นต้องมีการวางแผนและการออกแบบเพิ่มเติมก่อนที่จะเริ่มต้นใช้งาน นักพัฒนาต้องระบุฟังก์ชันต่างๆ ที่สามารถทำงานได้อย่างอิสระและวางแผนใช้ API ที่สอดคล้องกัน อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกันในขั้นต้นจะทำให้การบำรุงรักษาโค้ดมีประสิทธิภาพมากขึ้น คุณสามารถทำการเปลี่ยนแปลงและค้นหาจุดบกพร่องได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การใช้โค้ดซ้ำยังเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปอีกด้วย

การปรับใช้

การปรับใช้แอปพลิเคชันขนาดใหญ่นั้นมีความตรงไปตรงมากว่าการปรับใช้ไมโครเซอร์วิส นักพัฒนาติดตั้งฐานโค้ดแอปพลิเคชันทั้งหมดและการพึ่งพาในสภาพแวดล้อมเดียว 

ในทางกลับกัน การนำแอปพลิเคชันที่ใช้ไมโครเซอร์วิสไปใช้จริงนั้นมีความซับซ้อนกว่า เนื่องจากไมโครเซอร์วิสแต่ละรายการเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ปรับใช้โดยอิสระจากกัน นักพัฒนามักจะบรรจุไมโครเซอร์วิสไว้ในคอนเทนเนอร์ก่อนที่จะนำไปปรับใช้จริง คอนเทนเนอร์บรรจุโค้ดและการอ้างอิงที่เกี่ยวข้องของไมโครเซอร์วิสเพื่อความเป็นอิสระจากแพลตฟอร์ม

อ่านบทความเกี่ยวกับ Containerization »

การแก้จุดบกพร่อง

การแก้จุดบกพร่องคือกระบวนการซอฟต์แวร์เพื่อระบุข้อผิดพลาดในการเขียนโค้ดที่ทำให้แอปพลิเคชันทำงานอย่างผิดปกติ เมื่อแก้จุดบกพร่องสถาปัตยกรรมโมโนลิทิก ผู้พัฒนาสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของข้อมูลหรือตรวจสอบพฤติกรรมของโค้ดภายในสภาพแวดล้อมการเขียนโปรแกรมเดียวกันได้ ในขณะที่การระบุปัญหาการเขียนโค้ดในสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสจำเป็นต้องดูที่บริการแต่ละรายการที่เชื่อมโยงกันอย่างหลวมๆ 

การแก้จุดบกพร่องของแอปพลิเคชันไมโครเซอร์วิสอาจทำได้ยากกว่า เนื่องจากนักพัฒนาหลายรายอาจต้องรับผิดชอบดูแลไมโครเซอร์วิสจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น การแก้ไขจุดบกพร่องอาจต้องใช้การทดสอบ การพูดคุย และข้อเสนอแนะร่วมกันระหว่างสมาชิกในทีม ซึ่งจะต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากขึ้น 

การปรับเปลี่ยน

การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในส่วนหนึ่งของแอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกจะส่งผลต่อฟังก์ชันต่างๆ ของซอฟต์แวร์ เนื่องจากมีการเขียนโค้ดที่เชื่อมต่อกันไว้อย่างแน่นหนา นอกจากนี้ เมื่อนักพัฒนามีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้กับแอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิก พวกเขาจะต้องทดสอบซ้ำและนำไปปรับใช้จริงกับระบบทั้งหมดบนเซิร์ฟเวอร์อีกครั้ง

ในทางตรงกันข้าม แนวทางแบบไมโครเซอร์วิสนั้นมีความยืดหยุ่น และง่ายต่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงกับแอปพลิเคชัน แทนที่จะปรับเปลี่ยนบริการทั้งหมด นักพัฒนาจะเลือกเปลี่ยนเพียงฟังก์ชันใดฟังก์ชันหนึ่งเท่านั้น อีกทั้งพวกเขายังสามารถนำบริการแบบเฉพาะเจาะจงไปใช้จริงได้อย่างอิสระอีกด้วย แนวทางดังกล่าวมีประโยชน์สำหรับเวิร์กโฟลว์การนำไปใช้จริงอย่างต่อเนื่องที่ซึ่งนักพัฒนาจะทำการเปลี่ยนแปลงในจุดเล็กๆ อยู่บ่อยครั้ง โดยไม่กระทบต่อความเสถียรของระบบ 

การปรับขนาด

การใช้งานโมโนลิทิกนั้นต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการในขณะปรับขนาด สถาปัตยกรรมโมโนลิทิกมีฟังก์ชันการทำงานทั้งหมดภายในฐานโค้ดเดียว ดังนั้นแอปพลิเคชันทั้งหมดจึงต้องปรับขนาดตามข้อกำหนดด้านความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น หากประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันลดลงเนื่องจากฟังก์ชันการสื่อสารประสบปัญหาการรับส่งข้อมูล คุณจะต้องเพิ่มทรัพยากรการประมวลผลเพื่อรองรับแอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกทั้งหมด ส่งผลให้เกิดการสิ้นเปลืองทางด้านทรัพยากรเนื่องจากไม่ใช่ทุกส่วนของแอปพลิเคชันที่มีความจุสูงสุด

ในขณะที่สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสนั้นจะรองรับระบบแบบกระจาย องค์ประกอบซอฟต์แวร์แต่ละรายการจะมีทรัพยากรการคำนวณของตนเองในระบบแบบกระจาย ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้สามารถปรับขนาดได้อย่างอิสระตามขีดจำกัดในปัจจุบันและความต้องการที่คาดการณ์ไว้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมให้กับบริการตามตำแหน่งทางภูมิศาสตร์แทนที่จะเป็นทั้งระบบ

ผลกระทบด้านการดำเนินงานระหว่างสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสเทียบกับโมโนลิทิก

ไมโครเซอร์วิสช่วยให้คุณสามารถสร้างนวัตกรรมได้เร็วขึ้น ลดความเสี่ยง เร่งเวลาออกสู่ตลาด และลดต้นทุนรวมของกรรมสิทธิ์ทั้งหมดลงได้ ข้อสรุปของประโยชน์ด้านการดำเนินงานของสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสมีดังต่อไปนี้

สร้างนวัตกรรมได้รวดเร็วกว่า

สถาปัตยกรรมโมโนลิทิกจะจำกัดความสามารถขององค์กรในการมอบความสามารถและเทคโนโลยีทางธุรกิจใหม่ๆ ในแอปพลิเคชันที่มีอยู่ นักพัฒนาไม่สามารถสร้างฐานโค้ดบางส่วนขึ้นมาใหม่โดยใช้เฟรมเวิร์กทางเทคโนโลยีใหม่ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความล่าช้าสำหรับองค์กรของคุณในการรับเอาเทรนด์เทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้

ในขณะที่ไมโครเซอร์วิสเป็นองค์ประกอบซอฟต์แวร์อิสระที่นักพัฒนาสามารถสร้างได้ด้วยเฟรมเวิร์กและเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน การเชื่อมโยงแบบ Loose Coupling ระหว่างไมโครเซอร์วิสจะช่วยให้ธุรกิจสามารถคิดค้นองค์ประกอบบางอย่างได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 

ลดความเสี่ยง

ทั้งแอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกและไมโครเซอร์วิสสามารถพบเจอกับความขัดแย้งของโค้ด จุดบกพร่อง และการอัปเดตที่ไม่สำเร็จได้ อย่างไรก็ตาม แอปพลิเคชันแบบโมโนบิทิกนั้นมีความเสี่ยงมากว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อนักพัฒนาออกการอัปเดตใหม่ๆ เนื่องจากแอปพลิเคชันทั้งหมดนั้นจะมีจุดที่ล้มเหลวรวมกันเพียงจุดเดียว ข้อผิดพลาดเล็กน้อยในฐานโค้ดอาจทำให้แอปพลิเคชันทั้งหมดทำงานล้มเหลวได้ เหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้บริการเกิดขัดข้องอย่างรุนแรงและส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ที่ใช้งานอยู่ทั้งหมด

ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนาจึงต้องการสร้างแอปพลิเคชันไมโครเซอร์วิสเพื่อลดความเสี่ยงในการนำไปใช้จริง หากไมโครเซอร์วิสหนึ่งรายการล้มเหลว ไมโครเซอร์วิสอื่นๆ จะยังคงทำงานอยู่ ซึ่งจะจำกัดผลกระทบที่มีต่อแอปพลิเคชันได้ อีกทั้งนักพัฒนายังใช้เครื่องมือเพื่อยึดและแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อไมโครเซอร์วิสเพื่อปรับปรุงความสามารถในการกู้คืนของแอปพลิเคชันอีกด้วย 

เร่งเวลาในการเข้าสู่ตลาด

ความพยายามในการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับแอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกนั้นเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณเมื่อโค้ดมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และในที่สุด นักพัฒนาก็ต้องใช้เวลามากขึ้นในการจัดการและการอ้างอิงข้ามไฟล์โค้ดและไลบรารี โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างฟีเจอร์ใหม่ๆ เมื่อคุณพัฒนาด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เข้มงวด จะทำให้เกิดความล่าช้าในกรอบระยะเวลาที่คาดหวัง 

ในทางกลับกัน องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านไมโครเซอร์วิสจะสามารถสร้างและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลได้เร็วยิ่งขึ้น ในสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์แบบกระจาย นักพัฒนาแต่ละรายจะมุ่งเน้นไปที่โค้ดขนาดเล็กแทนที่จะใช้โค้ดขนาดใหญ่ เมื่อนักพัฒนาสร้างไมโครเซอร์วิสแบบเฉพาะเจาะจง พวกเขาไม่จำเป็นต้องเข้าใจว่าไมโครเซอร์วิสอื่นๆ ทำงานอย่างไร พวกเขาต้องการเพียงใช้ API ที่เหมาะสม ซึ่งเรียนรู้ได้เร็วกว่าและใช้งานได้ง่ายกว่า 

ลดต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ

ทั้งแอปพลิเคชันแบบไมโครเซอร์วิสและแบบโมโนลิทิกนั้นมีค่าบริการระหว่างการพัฒนา การนำไปใช้จริง และการบำรุงรักษาด้วยกันทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวแล้วนั้น แนวทางแบบไมโครเซอร์วิสถือว่าคุ้มค่ากว่า

คุณสามารถปรับขนาดแอปพลิเคชันไมโครเซอร์วิสแบบซ้าย-ขวาได้โดยเพิ่มทรัพยากรการประมวลผลตามความต้องการ เพียงแค่คุณต้องเพิ่มทรัพยากรสำหรับแต่ละบริการเท่านั้น ไม่ใช่เพิ่มทั้งแอปพลิเคชัน หากต้องการปรับขนาดระบบโมโนลิทิก บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องอัปเกรดหน่วยความจำและพลังการประมวลผลสำหรับแอปพลิเคชันโดยรวม ซึ่งจะมีราคาที่แพงกว่า 

นอกจากต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาแอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกยังเพิ่มขึ้นตามข้อกำหนดที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย ตัวอย่างเช่น บางครั้งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องเรียกใช้ซอฟต์แวร์โมโนลิทิกรุ่นเก่าบนฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ วิธีนี้จำเป็นต้องมีความรู้แบบกำหนดเองและนักพัฒนาจะต้องสร้างแอปพลิเคชันใหม่เพื่อให้ยังคงใช้งานได้ต่อไป ในขณะที่ไมโครเซอร์วิสจะทำงานอย่างอิสระจากฮาร์ดแวร์และแพลตฟอร์ม ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากการอัปเกรด

เมื่อใดควรเลือกใช้สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสเทียบกับโมโนลิทิก

สถาปัตยกรรมทั้งแบบโมโนลิทิกและแบบไมโครเซอร์วิสนั้นช่วยให้นักพัฒนาสร้างแอปพลิเคชันด้วยแนวทางที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าไมโครเซอร์วิสจะไม่ได้ลดความซับซ้อนของแอปพลิเคชันลง แต่โครงสร้างแบบไมโครเซอร์วิสจะเปิดเผยความซับซ้อนที่อยู่เบื้องหลังและช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้าง จัดการ และปรับขนาดแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมื่อคุณต้องตัดสินใจจะใช้งานระหว่างการพัฒนาสถาปัตยกรรมโมโนลิทกหรือไมโครเซอร์ คุณสามารถพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ได้

ขนาดแอปพลิเคชัน

วิธีการแบบโมโนลิทิกนั้นเหมาะสมกว่าเมื่อต้องออกแบบแอปพลิเคชันหรือต้นแบบที่ไม่ซับซ้อน เนื่องจากแอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกใช้ฐานโค้ดและเฟรมเวิร์กเดียว นักพัฒนาจึงสามารถสร้างซอฟต์แวร์ได้โดยไม่ต้องผสานรวมบริการหลายรายการ แอปพลิเคชันแบบไมโครเซอร์วิสอาจต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมากในการออกแบบ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าและจะมีประโยชน์ต่อโปรเจกต์ขนาดเล็กๆ 

ในขณะที่สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสนั้นเหมาะสมกับการสร้างระบบที่มีความซับซ้อนมากกว่า ซึ่งจะมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่แข็งแกร่งสำหรับทีมของคุณและรองรับความสามารถในการเพิ่มคุณสมบัติเพิ่มเติมได้อย่างมีความยืดหยุ่น ตัวอย่างเช่น Netflix ที่ใช้ AWS Lambda เพื่อปรับขนาดโครงสร้างพื้นฐานการสตรีมและประหยัดเวลาในการพัฒนาลง

อ่านวิธีที่ Netflix ใช้งาน Lambda »

ความเชี่ยวชาญของทีม

ถึงแม้จะมีความยืดหยุ่น แต่การพัฒนาด้วยไมโครเซอร์วิสนั้นจำเป็นต้องมีองค์ความรู้และแนวคิดในการออกแบบที่แตกต่างกัน การพัฒนาไมโครเซอร์วิสจำเป็นต้องมีความเข้าใจในสถาปัตยกรรมระบบคลาวด์, API, การบรรจุคอนเทนเนอร์ และความเชี่ยวชาญอื่นๆ โดยเฉพาะสำหรับแอปพลิเคชันระบบคลาวด์สมัยใหม่ ซึ่งแตกต่างจากแอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิก นอกจากนี้ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับไมโครเซอร์วิสอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับนักพัฒนาที่ยังใหม่กับสถาปัตยกรรมแบบกระจายอยู่ 

โครงสร้างพื้นฐาน

แอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกทำงานบนเซิร์ฟเวอร์เดียว แต่แอปพลิเคชันแบบไมโครเซอร์วิสจะได้รับประโยชน์มากกว่าหากทำงานกับสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ แม้ว่าจะสามารถเรียกใช้ไมโครเซอร์วิสจากเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียวได้ แต่โดยทั่วไปแล้วนักพัฒนาจะโฮสต์ไมโครเซอร์วิสกับผู้ให้บริการระบบคลาวด์เพื่อช่วยรับประกันความสามารถในการปรับขนาด ความทนทานต่อความเสียหาย และความพร้อมใช้งานสูง

คุณจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมก่อนจึงจะสามารถเริ่มใช้งานไมโครเซอร์วิสได้ คุณจำเป็นต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการตั้งค่าเครื่องมือและเวิร์กโฟลว์สำหรับไมโครเซอร์วิส ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการสร้างโปรแกรมของแอปพลิเคชันที่มีความซับซ้อนและสามารถปรับขนาดได้

วิธีเปลี่ยนจากสถาปัตยกรรมโมโนลิทิกให้เป็นไมโครเซอร์วิส

คุณสามารถย้ายแอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกไปยังสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสได้ แต่ต้องมีการวางแผนและการนำไปใช้อย่างรอบคอบ สิ่งสำคัญคือต้องดำเนินการตามขั้นตอนพร้อมกับข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกันจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยทั่วไปแล้ว คุณสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้

จัดทำแผน

พัฒนากลยุทธ์การย้ายและการนำไปใช้จริงที่คำนึงถึงความเสี่ยงในการดำเนินงาน ประสบการณ์ของลูกค้า ความสามารถทางเทคโนโลยี ลำดับเวลา และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ 

ค้นหาพาร์ทเนอร์ระบบคลาวด์

พาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่เชื่อถือได้และจัดเก็บโมโนลิทิกในคอนเทนเนอร์ ขั้นตอนนี้ถือเป็นกระบวนการที่จำเป็นที่จะลบการพึ่งพาของแอปพลิเคชันกับข้อกำหนดทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แบบเฉพาะเจาะจงลง จากนั้น นักพัฒนาของคุณจะสามารถเริ่มแบ่งพาร์ติชันฐานโค้ดขนาดใหญ่ออกเป็นไมโครเซอร์วิสต่างๆ ได้ 

นำข้อปฏิบัติของ DevOps มาใช้งาน

นำวัฒนธรรม DevOps มาใช้ในองค์กรของคุณและใช้เครื่องมือการผสานรวมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการนำไปใช้จริงอย่างต่อเนื่อง (CI/CD) เพื่อสนับสนุนความพยายามในการย้ายข้อมูล DevOps คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้วงจรการพัฒนาสั้นลงโดยการใช้เครื่องมืออัตโนมัติ 

อ่านบทความเกี่ยวกับ DevOps »

สร้างไมโครเซอร์วิส

สร้างและนำไมโครเซอร์วิสไปใช้จริงบนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อตรวจสอบสภาพของไมโครเซอร์วิส ทราฟฟิก และความปลอดภัย และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างทันท่วงที หากสนใจ คุณสามารถอ่านบทช่วยสอนเพื่อแบ่งแอปพลิเคชันแบบโมโนลิทิกออกเป็นแบบไมโครเซอร์วิสได้

สรุปความแตกต่างระหว่างโมโนลิทิกกับไมโครเซอร์วิส

หมวดหมู่

สถาปัตยกรรมโมโนลิทิก

สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส

การออกแบบ

ฐานโค้ดเดี่ยวที่มีฟังก์ชันที่พึ่งพากันหลายฟังก์ชัน

องค์ประกอบซอฟต์แวร์อิสระพร้อมฟังก์ชันการทำงานอัตโนมัติที่สื่อสารกันไปมาโดยใช้ API

การพัฒนา

ต้องการการวางแผนที่น้อยกว่าเมื่อเริ่มต้น แต่มีความซับซ้อนมากขึ้นในการทำความเข้าใจและบำรุงรักษา

ต้องมีการวางแผนและโครงสร้างพื้นฐานมากกว่าเมื่อเริ่มต้น แต่จะจัดการและบำรุงรักษาได้ง่ายขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

การปรับใช้

แอปพลิเคชันทั้งหมดปรับใช้เป็นเอนทิตีเดียว

รูปแบบไมโครเซอร์วิสทั้งหมดเป็นเอนทิตีของซอฟต์แวร์อิสระที่ต้องมีการนำไปใช้จริงในคอนเทนเนอร์แต่ละรายการ

การแก้จุดบกพร่อง

ติดตามเส้นทางโค้ดในสภาพแวดล้อมเดียวกัน

ต้องใช้เครื่องมือดีบั๊กขั้นสูงเพื่อติดตามการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างไมโครเซอร์วิสหลายรายการ

การปรับเปลี่ยน

เพียงการเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กจะทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากส่งผลกระทบต่อฐานโค้ดทั้งหมด

คุณสามารถแก้ไขไมโครเซอร์วิสแต่ละรายการได้โดยไม่กระทบกับทั้งแอปพลิเคชัน

ขนาด

คุณจะต้องปรับขนาดแอปพลิเคชันทั้งหมด แม้ว่าจะมีเพียงพื้นที่การทำงานบางส่วนเท่านั้นที่ต้องการการปรับขนาด

คุณสามารถปรับขนาดไมโครเซอร์วิสแต่ละรายการได้ตามต้องการ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการปรับขนาดโดยรวมลงได้ 

การลงทุน

การลงทุนล่วงหน้าต่ำในด้านต้นทุนความพยายามอย่างต่อเนื่องและการบำรุงรักษาที่เพิ่มมากขึ้น

การลงทุนในด้านเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อตั้งค่าโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและสร้างความเชี่ยวชาญของทีม แต่ยังเป็นการประหยัดต้นทุนในระยะยาว การบำรุงรักษา และความสามารถในการปรับตัว

AWS จะสนับสนุนข้อกำหนดความต้องการของสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสของคุณอย่างไร

คุณสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ทันสมัยบน Amazon Web Services (AWS) ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโมดูลาร์ โมเดลการดำเนินงานแบบไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ และกระบวนการพัฒนาที่คล่องตัว เรานำเสนอแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์สำหรับการสร้างไมโครเซอร์วิสที่มีความพร้อมใช้งานสูงในทุกขอบเขตและทุกขนาด

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้บริการ AWS เหล่านี้เพื่อตั้งค่าและบำรุงรักษาสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสได้:

  • Amazon Elastic Container Service (Amazon ECS) เพื่อสร้าง แยก และเรียกใช้ไมโครเซอร์วิสที่ปลอดภัยในคอนเทนเนอร์ที่มีการจัดการเพื่อลดความซับซ้อนของการดำเนินงานและลดค่าใช้จ่ายในการจัดการลง
  • AWS Lambda เพื่อเรียกใช้ไมโครเซอร์วิสของคุณโดยไม่ต้องจัดเตรียมและจัดการกับเซิร์ฟเวอร์
  • AWS App Mesh เพื่อตรวจสอบและควบคุมไมโครเซอร์วิส
  • AWS X-Ray เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการโต้ตอบกับไมโครเซอร์วิสที่ซับซ้อน

เริ่มต้นใช้งานไมโครเซอร์วิสบน AWS ด้วยการสร้างบัญชี AWS วันนี้