การสร้างแผนภาพสถาปัตยกรรมคืออะไร

การสร้างแผนภาพสถาปัตยกรรมเป็นกระบวนการสร้างการแสดงผลด้วยภาพสำหรับคอมโพเนนต์ของระบบซอฟต์แวร์ ในระบบซอฟต์แวร์ คำว่าสถาปัตยกรรมหมายถึงฟังก์ชันการทำงานต่างๆ การนำมาปรับใช้งาน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน  เนื่องจากซอฟต์แวร์มีลักษณะเป็นนามธรรมโดยธรรมชาติของมัน แผนภาพสถาปัตยกรรมจึงแสดงภาพของการเคลื่อนย้ายข้อมูลต่างๆภายในระบบ และยังเน้นวิธีการที่ซอฟต์แวร์มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวมันอีกด้วย

การสร้างแผนภาพสถาปัตยกรรมมีประโยชน์อย่างไร

แผนภาพสถาปัตยกรรมมีข้อดีหลายประการ เช่น การร่วมมือกันทำงาน การลดความเสี่ยง ประสิทธิภาพ และความสามารถในการเพิ่มทรัพยากร

การทำงานร่วมกัน

แผนภาพสถาปัตยกรรมช่วยยกระดับความร่วมมือในการทำงานระหว่างนักพัฒนาและนักออกแบบ และสร้างมุมมองที่เป็นเอกภาพของคุณสมบัติการทำงานและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ของระบบ การมีความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับระบบ แอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์นั้นมีข้อดีหลายประการ เนื่องจากเป็นการสนับสนุนการสื่อสารในระหว่างกระบวนการออกแบบ ช่วยทีมในการพัฒนาคอมโพเนนต์ซอฟต์แวร์ระบบที่มีประสิทธิภาพ และทำให้แน่ใจได้ว่าโครงการจะสอดคล้องกับเป้าหมาย 

การลดความเสี่ยง

แผนภาพสถาปัตยกรรมช่วยระบุความเสี่ยงในการพัฒนาระบบที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น สมมติฐานที่ไม่ถูกต้อง ตรรกะที่ผิดพลาด หรือการทดสอบที่ไม่เพียงพอ การระบุและจัดการกับความเสี่ยงแต่เนิ่นๆ ในวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ จะทำให้ทีมพัฒนาสามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้แต่เนิ่นๆ และลดความเสี่ยงที่จะพบปัญหาสำคัญๆ ในภายหลัง

อ่านบทความเกี่ยวกับวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ »

ประสิทธิภาพ

แผนภาพสถาปัตยกรรมให้มุมมองที่ชัดเจนของคอมโพเนนต์และโครงสร้างของระบบ จึงทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถระบุปัญหาได้อย่างถูกต้องและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว แผนภาพนี้ยังทำให้การบำรุงรักษาและการปรับขนาดระบบทำได้ง่ายขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจึงทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ความสามารถในการเพิ่มทรัพยากร

แผนภาพสถาปัตยกรรมช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถระบุวิธีที่มีประสิทธิภาพในการปรับขนาดระบบ  ตัวอย่างเช่น แผนภาพอาจแสดงให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมของระบบเป็นแบบรวมศูนย์หรือแบบกระจายศูนย์ เนื่องจากคอมโพเนนต์แบบกระจายศูนย์สามารถปรับขนาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า คอมโพเนนต์แบบเชิงเดี่ยวจึงสามารถปรับปรุงหรือเปลี่ยนทดแทนได้อย่างทันเวลา ในทำนองเดียวกัน การแสดงเป็นภาพกราฟิกจะช่วยให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บและการย้ายข้อมูล ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถระบุคอขวดที่อาจเกิดขึ้นและวิธีการหลีกเลี่ยงคอขวดเหล่านั้น 

แพทเทิร์นสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ใดที่คุณสามารถแสดงด้วยการสร้างแผนภาพสถาปัตยกรรม

แพทเทิร์นสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์คือหลักการออกแบบและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ใช้ในการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งจะให้เฟรมเวิร์กเพื่อกำหนดโครงสร้างซอฟต์แวร์และจัดการกับความท้าทายที่เฉพาะเจาะจงในสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน

ต่อไปนี้คือแพทเทิร์นสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่พบได้ทั่วไปมากที่สุดบางประการ

สถาปัตยกรรมไคลเอนต์ - เซิร์ฟเวอร์

สถาปัตยกรรมไคลเอนต์ - เซิร์ฟเวอร์ เป็นโครงสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ที่แยกงานและเวิร์กโหลดระหว่างเซิร์ฟเวอร์กับไคลเอนต์ เซิร์ฟเวอร์จะจัดหามอบทรัพยากรหรือบริการ และไคลเอนต์จะร้องขอทรัพยากรและบริการเหล่านั้น

ไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์เป็นโปรแกรมที่แยกกันซึ่งสื่อสารกันผ่านทางเครือข่าย เว็บเบราว์เซอร์และเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นตัวอย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้ทั่วไปในการประมวลผลแบบกระจาย 

อ่านบทความเกี่ยวกับการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ »

สถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นการบริการ

สถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นการบริการจะเปิดโอกาสให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมโพเนนต์แอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ผ่านบริการต่างๆ บริการมีลักษณะเป็นนามธรรม ประกอบกันอย่างหลวม ๆ และไม่ขึ้นกับภาษา และมีการเข้าถึงโดยแอปพลิเคชันโดยทางผ่านอินเทอร์เฟซ นักพัฒนาสามารถนำบริการที่มีอยู่มาใช้ซ้ำได้โดยไม่ต้องสร้างใหม่ตั้งแต่ต้น สถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นการบริการมีการใช้งานย่างแพร่หลายในระบบแบบกระจายศูนย์ เนื่องจากสามารถนำบริการต่างๆ มาติดตั้งใช้งานในเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องได้

อ่านบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นการบริการ »

สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส

สถาปัตยกรรมที่มุ่งเน้นการบริการได้มีการวิวัฒนาการต่อไปจากเดิม นักพัฒนาจึงใช้สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสเพื่อการสร้าง ติดตั้งใช้งาน และจัดการบริการแต่ละรายการ แอปพลิเคชันสามารถแบ่งออกเป็นบริการที่ติดตั้งใช้งานแบบแยกอิสระ ซึ่งสื่อสารกันผ่านทาง API

บริการแบบแยกอิสระที่มีขนาดเล็กลงช่วยให้นักพัฒนาสามารถพัฒนา ทดสอบ และติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชันได้ง่ายขึ้น และให้ความทนทานต่อข้อผิดพลาดที่ดีขึ้น และการปรับขนาดที่รวดเร็วขึ้น ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิสคือเว็บแอปพลิเคชันที่ประกอบด้วยบริการอิสระหลายบริการ โดยที่แต่ละบริการมีหน้าที่รับผิดชอบงานเฉพาะตัว 

อ่านบทความเกี่ยวกับไมโครเซอร์วิส »

อ่านบทความเกี่ยวกับ API »

อ่านบทความเกี่ยวกับเว็บแอปพลิเคชัน »

สถาปัตยกรรมแบบคลาวด์เป็นศูนย์กลาง

สถาปัตยกรรมแบบคลาวด์เป็นศูนย์กลาง ใช้ในการออกแบบและการสร้างแอปพลิเคชันสำหรับสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ สถาปัตยกรรมแบบคลาวด์เป็นศูนย์กลางนั้นสร้างขึ้นและส่งมอบด้วยเทคโนโลยีเฉพาะบนคลาวด์ เช่น คอนเทนเนอร์ ไมโครเซอร์วิส DevOps และการประมวลผลแบบไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ โดยจะให้ความสำคัญกับการนำไปใช้จริงและการจัดการโดยอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถขยายขนาดและลดขนาดแอปพลิเคชันได้ตามความต้องการ

อ่านบทความเกี่ยวกับ Containerization »

อ่านบทความเกี่ยวกับ DevOps »

อ่านบทความเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมแบบไม่ต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ »

สถาปัตยกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเหตุการณ์

สถาปัตยกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเหตุการณ์ คือสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์บนพื้นฐานของการสร้างเหตุการณ์ การตรวจจับเหตุการณ์ และการใช้เหตุการณ์ การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ งานพื้นหลัง และแหล่งที่มาอื่นๆ จะเป็นตัวเริ่มต้นเหตุการณ์ ซึ่งจะเริ่มต้นฟังก์ชันอื่นๆ ต่อไป สถาปัตยกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเหตุการณ์ช่วยให้แอปพลิเคชันสามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในระบบซอฟต์แวร์และสภาพแวดล้อมได้รวดเร็วขึ้น

สถาปัตยกรรมแบบเลเยอร์

สถาปัตยกรรมแบบเลเยอร์เป็นแพทเทิร์นสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ซึ่งแยกแอปพลิเคชันออกเป็นเลเยอร์ตามตรรกะ สถาปัตยกรรมประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อลดความซับซ้อนของแอปพลิเคชันและระบบที่ซับซ้อน เนื่องจากคุณสามารถแบ่งงานระหว่างเลเยอร์ได้

เลเยอร์จะมีการจัดเรียงจากบนลงล่าง:

  • เลเยอร์การนำเสนอ เช่น ส่วนติดต่อผู้ใช้ จะอยู่ด้านบนสุด
  • เลเยอร์ธุรกิจ จะอยู่ตรงกลาง
  • เลเยอร์ข้อมูล จะอยู่ล่างสุด

และเลเยอร์ยังสามารถจัดโครงสร้างตามลำดับชั้นได้ ซึ่งจะช่วยในการบำรุงรักษาและให้ความสามารถในการเพิ่มทรัพยากร

ข้อมูลประเภทใดบ้างที่รวมอยู่ในแผนภาพสถาปัตยกรรม

ข้อมูลที่พบทั่วไปบางส่วนที่พบได้ในแผนภาพสถาปัตยกรรมมีดังต่อไปนี้

  • สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมและวงกลม แสดงถึงคอมโพเนนต์ต่างๆ เช่น ฐานข้อมูล เครือข่าย แอปพลิเคชัน และบริการ
  • เส้นและลูกศร แสดงการเชื่อมต่อและปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมโพเนนต์ของระบบ
  • ป้ายกำกับ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอมโพเนนต์และการเชื่อมต่อ

นอกจากนี้ แผนภาพยังอาจใช้ไอคอนหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อแสดงแทนคอมโพเนนต์ต่างๆ อีกด้วย คำอธิบายสัญลักษณ์เล็กๆ ที่ด้านล่าง ที่คล้ายกับคำอธิบายสัญลักษณ์บนแผนที่ ใช้เพื่ออธิบายการใช้งานสัญลักษณ์ต่างๆ การจัดเรียงคอมโพเนนต์และการเชื่อมต่อต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า เค้าโครง

อ่านบทความเกี่ยวกับ Data Lake »

อ่านบทความเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ »

แผนภาพสถาปัตยกรรมมีประเภทใดบ้าง

แผนภาพสถาปัตยกรรมหลายประเภทจะแสดงภาพของระบบและสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ต่างๆ ต่อไปนี้คือตัวอย่างแผนภาพสถาปัตยกรรมที่พบบ่อยที่สุดบางส่วน

แผนภาพสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์

แผนภาพสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์จะแสดงภาพของคอมโพเนนต์ของซอฟต์แวร์ ตลอดจนความสัมพันธ์ และการปฏิสัมพันธ์ของระบบ แผนภาพนี้จะบันทึก วิเคราะห์ และสื่อสารการออกแบบซอฟต์แวร์ และใช้ในการตัดสินใจในการนำมาปรับใช้งาน แผนภาพเหล่านี้มีตั้งแต่แผนภาพระดับสูงแบบตรงไปตรงมา ไปจนถึงการแสดงรายละเอียดของการปฏิสัมพันธ์ของคอมโพเนนต์ของซอฟต์แวร์ 

แผนภาพสถาปัตยกรรมของระบบ

แผนภาพสถาปัตยกรรมของระบบแสดงภาพของคอมโพเนนต์ต่างๆ ของระบบ และแสดงวิธีที่คอมโพเนนต์เหล่านั้นสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน แผนภาพเหล่านี้จะระบุโครงสร้างและสถาปัตยกรรมของระบบ ซึ่งจะช่วยให้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการทำงานของระบบ และแสดงให้เห็นว่าจะปรับปรุงวิธีการเหล่านั้นได้อย่างไร

แผนภาพสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชัน

แผนภาพสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันจะแสดงโครงสร้างของแอปพลิเคชัน ซึ่งรวมถึงคอมโพเนนต์และวิธีการที่คอมโพเนนต์เหล่านั้นมีปฏิสัมพันธ์กัน ตลอดจนการไหลของข้อมูลระหว่างกัน แผนภาพสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันจะให้มุมมองของแอปพลิเคชันโดยสมบูรณ์ และใช้เพื่อบอกข้อมูลการออกแบบ การใช้งาน และการบำรุงรักษาแอปพลิเคชัน

แผนภาพสถาปัตยกรรมการผสานรวม

แผนภาพสถาปัตยกรรมการผสานรวม จะแสดงคอมโพเนนต์ ข้อมูล และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในโซลูชันการผสานรวม ซึ่งจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคอมโพเนนต์ ระบบ และบริการต่างๆ และใช้เพื่อช่วยในการออกแบบ พัฒนา และจัดการโซลูชันการผสานรวมที่ซับซ้อน แผนภาพเหล่านี้ใช้เพื่อบันทึกและอธิบายระบบที่มีอยู่ ตลอดจนการวางแผนและพัฒนาโซลูชันการผสานรวมใหม่ๆ

แผนภาพสถาปัตยกรรมการนำไปใช้จริง

แผนภาพสถาปัตยกรรมการนำไปใช้จริง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคอมโพเนนต์แอปพลิเคชันต่างๆ และสภาพแวดล้อมในการติดตั้งใช้งาน แผนภาพสถาปัตยกรรมการนำไปใช้จริงจะแสดงเค้าโครงของแอปพลิเคชันและคอมโพเนนต์ต่างๆ รวมถึงเช่น เซิร์ฟเวอร์ ที่เก็บข้อมูล และเครือข่าย แผนภาพเหล่านี้ใช้เพื่อวางแผนขีดความสามารถ ความสามารถในการเพิ่มทรัพยากร และความทนทานต่อข้อผิดพลาด

แผนภาพสถาปัตยกรรม DevOps

แผนภาพสถาปัตยกรรม DevOps จะแสดงภาพของคอมโพเนนต์ของระบบ DevOps และวิธีการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยคอมโพเนนต์ต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อมการพัฒนา ไปป์ไลน์ของ Continuous Integration (CI) และ Continuous Delivery (CD), Infrastructure as Code และบริการคลาวด์ แผนภาพนี้จะแสดงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมโพเนนต์และตำแหน่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อม DevOps ในภาพกว้างขึ้น

อ่านบทความเกี่ยวกับ Infrastructure as a Service (IaaS) »

แผนภาพสถาปัตยกรรมเว็บไซต์

แผนภาพสถาปัตยกรรมเว็บไซต์จะให้ภาพแสดงแทนโครงสร้างเว็บไซต์ แผนภาพนี้จะแสดงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมโพเนนต์ของเว็บไซต์ เช่น หน้าเว็บ ฐานข้อมูล และระบบการจัดการเนื้อหา นักออกแบบเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงแผนภาพสถาปัตยกรรมเว็บไซต์นี้จะสามารถระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นและพัฒนากลยุทธ์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์อย่างได้ผล

 

AWS จะสนับสนุนข้อกำหนดความต้องการในการสร้างแผนภาพสถาปัตยกรรมของคุณอย่างไร

ที่ Amazon Web Services (AWS) เราเสนอบริการ Workload Discovery on AWS เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงภาพเวิร์กโหลดของ AWS Cloud คุณสามารถใช้เครื่องมือนี่้ในการสร้าง ปรับแต่ง และแชร์แผนภาพสถาปัตยกรรมของเวิร์กโหลดของคุณอย่างละเอียด โดยอ้างอิงจากข้อมูลสดจาก AWS Workload Discovery on AWS จะช่วยขจัดต้นทุนแฝงในกระบวนการบันทึกข้อมูลลงได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการให้บริการทั้งข้อมูลและเครื่องมือการแสดงผลด้วยภาพที่รวมไว้ในที่เดียว

คุณจะสามารถใช้ประโยชน์จาก Workload Discovery on AWS ได้ดังต่อไปนี้:

  • สร้าง ปรับแต่ง และแชร์แผนภาพสถาปัตยกรรมโดยละเอียด
  • บันทึกและส่งออกแผนภาพสถาปัตยกรรม
  • สร้าง AWS cost and usage reports
  • ค้นหาและระบุตำแหน่งข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อของทรัพยากร ชื่อแท็ก หรือที่อยู่ IP
  • สำรวจทรัพยากรของบัญชีและ AWS Region โดยใช้ไดเรกทอรีทรัพยากร

เริ่มต้นการสร้างแผนภาพสถาปัตยกรรมบน AWS โดยการสร้างบัญชี AWS ฟรี วันนี้

ขั้นตอนถัดไปบน AWS

ดูแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม
ดูบริการเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา 
ลงชื่อสมัครใช้บัญชีฟรี

รับสิทธิ์การเข้าถึง AWS Free Tier ได้ทันที

ลงชื่อสมัครใช้งาน 
เริ่มต้นการสร้างในคอนโซล

เริ่มต้นสร้างในคอนโซลการจัดการของ AWS

ลงชื่อเข้าใช้